วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๙๘. นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยระดับคณะ


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

ตอนที่ ๙๕

ตอนที่ ๙๖

ตอนที่ ๙๗

วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ วันหยุดยาว ผมไปร่วมการประชุม From Evidence to Systems Design ครั้งที่ ๑ ในหัวข้อ   Non-pharmacological approaches in the prevention of delirium for high risk patients   จัดโดยศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านผู้สูงอายุที่มารับการผ่าตัด  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล    ที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยเชิงให้คำปรึกษาแก่ รศ. พญ. อรุโณทัย ศิริอัศวกุล เลขานุการศูนย์เป็นครั้งคราวเมื่อเธอขอคำปรึกษา  

กล่าวง่ายๆ ว่า การประชุมครึ่งวันเศษๆ นี้ มีเป้าหมายเพื่อร่วมกันคิดระบบให้บริการผู้สูงอายุที่ไปรับการผ่าตัดที่ รพ. ศิริราช ให้ได้รับบริการคุณภาพสูง    ไม่เกิดอาการซึมสับสนเฉียบพลัน (delirium)    ซึ่งเป็นการนำผลการวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อผู้ป่วย    

  ฟังดูเป้าหมายเล็กนิดเดียว คือสร้างระบบบริการผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการทางสมอง แบบซึมหรือสับสน    ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยผ่านการผ่าตัดและฟื้นตัวอย่างราบรื่น    ซึ่งสำหรับตัวผู้ป่วยและญาติ เป็นเรื่องใหญ่มาก  

แต่เมื่อฟังข้อมูลผลการวิจัยเรื่องอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางสมองแบบซึมสับสน ทั้งของต่างประเทศและของประเทศไทย     รวมทั้งวิธีประเมินความเสี่ยง    และการป้องกันการเกิดแล้ว    ผมตีความว่า อาการทางสมองแบบซึมสับสนนั้นเปรียบเสมือนยอดของภูเขาน้ำแข็ง ที่บอกว่ามีความอ่อนแออยู่ในตัวผู้ป่วยรายนั้นๆ อยู่ในภูเขาน้ำแข็งส่วนใต้น้ำ   

เท่ากับอาการทางสมองแบบซึมสับสน เป็นสัญญาณให้วงการสุขภาพเข้าไปทำความเข้าใจ “ภูเขาน้ำแข็งส่วนที่อยู่ใต้น้ำ”    นำไปสู่ความรู้เรื่องปัจจัยต้นเหตุที่นำไปสู่อาการทางสมองแบบซึมสับสน ในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัด    ซึ่งถึงตอนนี้ทีมวิจัยที่ศิริราชมีความรู้มากทีเดียว

ความรู้สำคัญที่นำไปสู่การแก้ปัญหาคือ    มีปัจจัยต้นเหตุมากมายและซับซ้อนประกอบกัน    ที่ไม่ใช่ว่า จะมียาชนิดใดชนิดหนึ่งขจัดความอ่อนแอนั้นได้    การดำเนินมาตรการป้องกันต้องทำโดยหลายมาตรการประกอบกัน    เรียกว่ามาตรการที่ไม่ใช้ยา (non-pharmacological approach)    ที่จะต้องดำเนินการร่วมกันหลายวิชาชีพ       

เริ่มจากการประเมินหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง    แล้วดำเนินการป้องกันในช่วงก่อนผ่าตัด  ระหว่างผ่าตัด  และหลังผ่าตัด    ซึ่มที่ผมจับความได้ เป็นมาตรการสร้างความแข็งแรงของร่างกายและสมอง    รวมทั้งมาตรการระมัดระวังความปลอดภันเมื่อเกิดอาการทางสมองแบบซึมสับสน

มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกไปแล้ว ๙ รายงาน   กำลังรอตีพิมพ์อีก ๖   และมีโครงการวิจัยกำลังดำเนินการอีก ๑๖   แต่เป้าหมายที่สำคัญกว่าคือการนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ในสถานการณ์ที่ซับซ้อน เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย    เป็นที่มาของการประชุมครั้งนี้    เพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยมาช่วยกันออกแบบ    ว่าจะจัดบริการที่ให้ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้อย่างไร    

ผู้จัดการประชุมประกาศรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๓๐ คน    โดยแจ้งให้สมัคร    มีคนสมัครกว่าร้อย    และมาจริง ๙๓ คน   ทั้งๆ ที่เป็นวันหยุด    สะท้อนใจตรงกันของคนเหล่านี้ที่ต้องการแสวงหาบริการที่มีคุณภาพให้แก่ผู้ป่วย      

ในที่ประชุมมีรองคณบดีมาร่วมตลอดงานสองท่าน คือ รองฯ หมายเลข ๑ ศ. พญ. สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์   กับรองคณบดีฝ่ายโรงพยาบาลและผู้อำนวยการโรงพยาบาล รศ. นพ. วิศิษฎ์ วามวาณิชย์    ทั้งสองท่านพูดตรงกันว่า สำหรับที่ศิริราช นโยบายหมายถึงเครื่องมือสำหรับดำเนินการ    ไม่ใช่ตัวตั้งต้นของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง     ซึ่งหมายความว่า ทีมบริหารของศิริราชไม่บริหารแบบ top-down   แต่เน้นบริหารแบบหนุนทีมปฏิบัติ    ที่ดำเนินการเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูง 

วิจารณ์ พานิช        

๑๙ พ.ย. ๖๓ 

        

หมายเลขบันทึก: 687882เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2020 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2020 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท