วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๐๖. การวิจัยระบบอาหาร


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

ตอนที่ ๙๕

ตอนที่ ๙๖

ตอนที่ ๙๗

ตอนที่ ๙๘

ตอนที่ ๙๙

ตอนที่ ๑๐๐

ตอนที่ ๑๐๑

ตอนที่ ๑๐๒

ตอนที่ ๑๐๓

ตอนที่ ๑๐๔

ตอนที่ ๑๐๕

วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาพัฒนาระบบ ววน. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔   มีวาระเรื่อง  การวิจัยระบบอาหาร / การจัดทำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนระบบอาหาร    ที่ทำให้ผมยินดียิ่งนัก    เพราะเป็นความก้าวหน้าของการจัดการระบบ ววน. ที่มีการมองยุทธศาสตร์เชิงระบบ   

ผมเคยเสนอในที่ต่างๆ มาเป็นเวลาหลายปี    ว่าการพัฒนาระบบต่างๆ ในประเทศไทย ทำกันอย่างเปะปะ   ไม่มีข้อมูลครบถ้วน    ขาดการวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างลุ่มลึกและเชื่อมโยง    เพราะขาดการวิจัยระบบ ที่เรียกว่า Systems Research ของระบบนั้นๆ ประเทศไทยมีสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๕    มีผลงานเปลี่ยนใหญ่ (transform) ระบบสาธารณสุขหลายด้าน    ทำให้เรารับมือโควิดได้ดีจนได้รับความยกย่องจากวงการนานาชาติ    และบบสุขภาพของเราก็เข้มแข็งเป็นที่ประจักษ์

ปัจจุบันประเทศไทยมีการวิจัยระบบ อยู่เพียงระบบเดียวคือระบบสาธารณสุข    หากมีการดำเนินการในระบบสำคัญๆ อื่นๆ ก็จะมีคุณูปการต่อบ้านเมืองยิ่ง

การริเริ่ม วิจัยระบบอาหาร จึงมีคุณค่ายิ่ง     และน่าจะเป็นต้นแบบให้มีการวิจัยระบบอื่นๆ อีก เช่น ระบบการศึกษา  ระบบพลังงาน  ระบบการคมนาคมและขนส่ง  เป็นต้น

งานวิจัยระบบอาหารนี้ ดำเนินการโดยสถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม  แห่ง มจธ.  มี ผศ. ดร. สันติ เจริญพรวัฒนาเป็นหัวหน้าโครงการ    ดำเนินการต่อเนื่องมา ๓ ปีแล้ว    ผมลืมถามว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นเป็นลำดับนี้ มีการนำไปใช้อย่างไรบ้าง

เริ่มจากการวิจัยกำหนดลำดับความสำคัญของโจทย์วิจัย และ research funding ecosystem ในปี ๒๕๖๒    มาถึงปี ๒๕๖๔ ก็เกิดความตระหนักว่า ควรมองโจทย์เชิงระบบ ไม่ใช่รายผลิตภัณฑ์    หรือมงผลิตภัณฑ์ให้เชื่อมโยงสู่ระบบ    รวมทั้งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะระบบอาหารเท่านั้น    ต้องเชื่อมสู่ระบบสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมด้วย     ผมนึกในใจว่าต้องโยงสู่ onehealth ด้วย    คือสุขภาพสัตว์กับสุขภาพคนมันโยงถึงกัน   

จึงกำหนดโจทย์วิจัยครั้งนี้ดังนี้




ในการวิเคราะห์ ใช้ Food Systems Framework ของ FAO (1)    และกรอบของรายงานวิจัยอื่น เอามาคิดกรอบที่ใช้ในโครงการดังนี้

ตัวเลขคร่าวๆ ของอุตสาหกรรมอาหารไทยคือ มีผู้ประกอบการกว่า ๑.๑ แสนราย    จ้างงาน ๑.๑ ล้านคน (ร้อยละ ๒๒ ของการจ้างงานในอุตสาหกรรมทั้งหมด)    มูลค่าส่งออก ๑ ล้านล้านบาท (อันดับ ๑๒ ของโลก  สัดส่วนร้อยละ ๒.๓ ของโลก)  นำเข้า ๓.๘ แสนล้านบาท    เงินลงทุนสะสม ๖.๘ แสนล้านบาท     

ผมชอบข้อเสนอกลยุทธพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ ที่เสนอเป็น ๓ กลุ่มผลกระทบคือ (๑) เพื่อเป็น national growth engine   (๒) เพื่อเป็น local & social growth engine  (๓) emerging products    มีการนำเสนอแต่ละกลุ่ม    และเสนอรายละเอียดตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อโคขุน ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ ๒   เท่ากับเป็นการเสนอกรอบวิธีวิเคราะห์ระบบอาหารเพื่อการวิจัยลงรายละเอียดแต่ละประเด็นย่อย    ที่ในที่ประชุมเห็นชอบ

แต่เมื่อผมกลับมาคิดภายหลัง ผมมองว่าที่เสนอยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบอาหาร คือด้าน supply side   หรือด้านการผลิต    ยังไม่ได้แตะด้านการปรุงจำหน่าย และด้านผู้บริโภค   รวมทั้งด้านสุขภาพ

วิจารณ์ พานิช                        

๒๔ ก.พ. ๖๔ 

หมายเลขบันทึก: 689234เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2021 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2021 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท