วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๑๒. โปรแกรมวิจัย Spearhead ด้านระบบบริการสุขภาพฉุกเฉิน


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

ตอนที่ ๙๕

ตอนที่ ๙๖

ตอนที่ ๙๗

ตอนที่ ๙๘

ตอนที่ ๙๙

ตอนที่ ๑๐๐

ตอนที่ ๑๐๑

ตอนที่ ๑๐๒

ตอนที่ ๑๐๓

ตอนที่ ๑๐๔

ตอนที่ ๑๐๕

ตอนที่ ๑๐๖

ตอนที่ ๑๐๗

ตอนที่ ๑๐๘

ตอนที่ ๑๐๙

ตอนที่ ๑๑๐

ตอนที่ ๑๑๑

ผมเล่าเรื่อง โปรแกรมวิจัยนี้ไว้ที่ (๑)    บัดนี้โครงการอยู่ในปีที่ ๒   

วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๔ มีการประชุม “คณะกรรมการอำนวยการแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานระบบบริการสุขภาพ ครั้งที่ 2/2564” (ชื่อที่เป็นทางการของ สวช.) โดยที่ชื่อโครงการตามที่ทีมจัดการใช้คือ โครงการวิจัยการพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร (พบฉ) (๒)     

จะเห็นว่า สวช. ตั้งชื่อแผนงานไว้กว้าง “แผนงานระบบบริการสุขภาพ”   เมื่อ ศ. ดร. นพ. สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์รับเป็นประธานแผนงาน (PC – Program Chair)     และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มช. ทำหน้าที่ ODU (Outcome Delivery Unit)   ได้โฟกัสประเด็นทำงานให้แคบเข้า เป็นวิจัยเพื่อพัฒนา “ระบบบริการเพื่อการดูแลภาวะฉุกเฉิน”     และเมื่อทำงานจริงก็มีความยืดหยุ่น    ให้หนึ่งใน ๕ ยุทธศาสตร์ เป็นเรื่องระบบสารสนเทศ  “ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาระบบการจัดการและการใช้ประโยชน์ระบบข้อมูลสารสนเทศ”   

นี่คือข้อน่าชื่นชม สวช. ที่มีการจัดการอย่างยืดหยุ่น    เกื้อหนุนการทำงานของผู้นำในพื้นที่   

ในปีที่ ๑ ดำเนินการอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ    ปีที่ ๒ ขยายสู่ภาคอีสาน และภาคใต้   

ในการประชุม มีการเสนอภาพใหญ่ของประเทศคือ

  • คนไทยเสียชีวิตปีละประมาณห้าแสนคน ประมาณหนึ่งแสนคนเสียชีวิตจากภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ช่วยชีวิตไม่ทัน
  • โรคหลอดเลือดสมอง ตีบ หรือ แตก > สามหมื่นกว่ารายต่อปี     เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน > สองหมื่นกว่าราย ต่อปี (เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และที่ 1 ในเอเชีย)    โรคหัวใจขาดเลือด > สองหมื่นกว่ารายต่อปี
  • คนไทยใช้บริการห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลมากกว่า 35 ล้านครั้งต่อปี   แต่มีประมาณ 30% ที่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินขั้นวิกฤตที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีจากแพทย์
  • ปุจฉา :- ระบบการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจร คืออะไร   วิสัชชนา :- ไม่ได้พูดถึงตัวโรคโรคหรืออุบัติเหตุ โดยเฉพาะ แต่เน้นพัฒนาระบบบริการ/การดูแลภาวะฉุกเฉินเพอช่วยให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตและรอดชีวิตได้อย่างปลอดภัย  ต่อเนื่องไปถึงการบริการรักษาเมื่อส่งต่อ/กลับบ้าน    ส่วนที่เป็ นหัวใจสำคัญมาก คือ ระบบบริการที่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกัน ตั้งแต่ ป้องกัน การรักษาระยะแรก ระยะกลาง ระยะท้าย อย่างครบวงจร … Comprehensive EMS System
  • พลังหนุนต่อระบบ EMS คือระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันหมดในระบบบริการ    เชื่อมโยงข้อมูล pre-hosp care – in-hosp care – post-hosp care และเชื่อมสู่ระบบป้องกันและการรับรู้ของสาธารณชนต่อ EMS    
  • อีกพลังหนุนคือการทำงานวิชาการหรืองานวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งมีน้อยมากในประเทศไทย    โครงการนี้จึงมุ่งส่งเสริมประชาคมวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉิน    

โครงการ พบฉ. ดำเนินการตาม ๕ ยุทธศาสตร์คือ

  1. 1. พัฒนาระบบ ไอซีที และการใช้ประโยชน์   ส่วนนี้ใช้เงินงบประมาณร้อยละ ๕๒   โดยมีโครงการใหญ่อยู่ที่ รพ. สันทราย พัฒนาระบบเชื่อมโยงทั่วภาคเหนือ    และมีการพัฒนาเทคโนโลยีเสริม เช่น CMUgency (๓)
  2. 2. พัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการฉุกเฉิน   ใช้งบประมาณร้อยละ ๒๕
  3. 3. พัฒนาระบบบริการการดูแลต่อเนื่อง   ใช้งบประมาณร้อยละ ๓.๒
  4. 4. พัฒนา public awareness   ใช้งบประมาณร้อยละ ๑๙
  5. 5. พัฒนานวัตกรรมและงานวิจัย    ทุกโครงการย่อยเข้ายุทธศาสตร์นี้ทั้งหมด   

นี่คือโปรแกรมวิจัยเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง ที่ดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงอื่นๆ  และ สพฉ.   ดังนั้นกรรมการอำนวยการแผนงานฯ จึงให้คำแนะนำแนวทางเชื่อมโยงความร่วมมือออกไปยังระบบดำเนินการของประเทศ    รวมทั้งแนวทางสร้าง synergy ระหว่างแผนงานวิจัยกับระบบปฏิบัติงานจริง    ซึ่งที่จริงนักวิจัยจำนวนหนึ่ง (โดยเฉพาะส่วนพัฒนาระบบ ไอซีที) ก็เป็นคนในระบบบริการนั่นเอง

ในการประชุม ผู้รับผิดชอบ node ภาคอีสาน และ node ภาคใต้ เข้าร่วมประชุมด้วย    เพื่อเสนอวิธีทำงานและรับฟังข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอำนวยการ

ผมเสนอให้ใช้ DE เป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่ม stakeholders    เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ในการสร้าง synergy  

 วิจารณ์ พานิช       

๒ พ.ค. ๖๔ 

                                                                                                                                                                                                                      

หมายเลขบันทึก: 690392เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2021 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2021 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท