การวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของการเพาะปลูกเฮมพ์บนพื้นที่สูงของประเทศไทย (The Analysis of Hemp Production Cost in Thailand Highland Area)


การวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของการเพาะปลูกเฮมพ์บนพื้นที่สูงของประเทศไทย

ธ้นยา พรหมบุรมย์ และวิสุทธร จิตอารีย์

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เส้นใยเฮมพ์เป็นพืชที่มีการใช้ประโยชน์ในด้านเส้นใย แต่เดิมชาวเขาเผ่าม้งมีการผลิตและใช้สอยตามวิถีชีวิตและประเพณีดังเดิมของชนเผ่า ต่อมามีคนรู้จักผ้าที่ผลิตจากเส้นใยเฮมพ์มากขึ้น แต่แพร่หลายในกลุ่มผู้มีเงินเนื่องจากผ้าใยเฮมพ์มีราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับเส้นใยชนิดอื่น ปัจจุบันผ้าจากเส้นใยเฮมพ์มีผู้รู้จักและมีความนิยมเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญในตลาดเส้นใยธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งในอนาคต  ในช่วงที่ผ่านมาสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงได้มีนโยบายในการส่งเสริมด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์อย่างต่อเนื่อง ในด้านต่างๆ ตั้งแต่กระบวนการผลิต แปรรูป และการตลาด (อรชร และธันยา, 2551) และ (อรชร และธันยา, 2552) แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเกี่ยวกับเฮมพ์ที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการศึกษาถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ในการผลิตเฮมพ์อย่างจริงจัง ดังนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงเห็นว่าหากต้องการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ให้กับเกษตรกร ควรจะมีการศึกษาถึงต้นทุนการผลิตเฮมพ์ในแปลงทดลอง เพื่อจะได้ทราบว่าการทดลองดังกล่าวมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่ และข้อมูลต้นทุนการผลิตที่ได้สามารถนำมากำหนดราคาของเฮมพ์ได้อย่างเป็นธรรมกับเกษตรกร และสร้างแรงจูงใจในการผลิตเฮมพ์ต่อไป

อ่านเพิ่มเติม:  20210503064728.pdf

อ้างอิงเพิ่ม:

1.ธันยา พรหมบุรมย์ และวิสุทธร จิตอารี.  2553. การวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของการเพาะปลูกเฮมพ์บนพื้นที่สูง. เชียงใหม่: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  สนับสนุนทุนโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง 

2.อรชร มณีสงฆ์ และธันยา พรหมบุรมย์. 2551. แนวทางพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์จากเส้นใยเฮมพ์เชียงใหม่: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  

3.อรชร มณีสงฆ์ และธันยา พรหมบุรมย์. 2552. การศึกษาและแนวทางพัฒนากลุยทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ใยเฮมพ์สู่ตลาดบนเชียงใหม่: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 


หมายเลขบันทึก: 690384เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2021 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2021 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท