วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๐๙. โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

ตอนที่ ๙๕

ตอนที่ ๙๖

ตอนที่ ๙๗

ตอนที่ ๙๘

ตอนที่ ๙๙

ตอนที่ ๑๐๐

ตอนที่ ๑๐๑

ตอนที่ ๑๐๒

ตอนที่ ๑๐๓

ตอนที่ ๑๐๔

ตอนที่ ๑๐๕

ตอนที่ ๑๐๖

ตอนที่ ๑๐๗

ตอนที่ ๑๐๘

เที่ยงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๔ มีการประชุมตณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔   มีวาระการประชุมเรื่องเดียวคือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ    ที่ผมไม่ได้เข้าร่วมประชุม    ข้อเขียนข้างล่างจึงได้จากเอกสารประกอบการประชุม    

มีผลการวิจัยนำเสนออย่างชัดเจนคือ “สมุดปกขาวฉบับนี้มีขอบเขตครอบคลุม  (๑) เหตุผล ความจําเป็น และความสําคัญของระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ  (๒) การวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบันของโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของ ประเทศไทย โดยอ้างอิงกับแนวทางการบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพระดับสากล และประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมที่เหมาะสมที่จะเป็นคู่เทียบให้แก่ประเทศไทย  (๓) ข้อเสนอแนวทางบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ รวมถึงข้อสังเกตเกี่ยวกับเงื่อนไขในการดําเนินการให้บรรลุผล และ (๔) กรอบระยะเวลาดําเนินการและผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง”

เป้าหมายของสมุดปกขาวนี้ เพื่อนำไปสู่ร่าง พรบ. โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ พ.ศ. ....

รายงานให้นิยามโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศตาม UNIDO ดังนี้  “โครงสร้างพื้นฐานทาง คุณภาพ เป็นระบบที่ประกอบขึ้นจากองค์กร ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน โดยมีนโยบาย กฎหมายและ กรอบการกํากับดูแล และแนวปฏิบัติร่วมกัน โดยพึ่งพากระบวนการ ๕ ด้าน ได้แก่ มาตรวิทยา, การกําหนดมาตรฐาน, การรับรองระบบงาน, การตรวจสอบและรับรอง, และการกํากับดูแลตลาด   โดยหลักการแล้วการดําเนินการทั้ง ๕ ด้านควรเป็นอิสระจากกันในทางวิชาการ แต่มีการประสานทิศทางและนโยบายให้สอดคล้องกัน เพื่อให้องค์ประกอบทั้งหมดทํางานร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน”

อ่านเอกสาร ๔๐ หน้านี้แล้ว ผมทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย กับข้อเสนอนี้    เห็นด้วยกับ โครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรม ๕ ระบบที่เชื่อมโยงกัน    แต่ไม่เห็นด้วยว่าเรื่องคุณภาพของประเทศมีเพียงเท่านี้ ส่วนที่รายงานไม่ได้แตะอาจเรียกว่า Foundation of National Quality Systems    คือเป็นฐานรองรับ infrastructure อีกทีหนึ่ง    เป็นเรื่องของวัฒนธรรมคุณภาพ (Quality Culture)    ที่อยู่ในคนและปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนจนเป็นวัฒนธรรม    ตัวอย่างสำคัญอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนี   

พื้นฐานดังกล่าวมาจากการศึกษาฝึกอบรม และจากวิถีชีวิตผู้คน            

อีกประเด็นหนึ่งที่ไม่ได้เขียนชัดเจนคือ ระบบนี้มีไว้เพื่ออะไรในเชิงยุทธศาสตร์    หากไม่คิดให้ลึก ระบบนี้จะเป็นระบบรองรับบริษัทอุตสาหกรรมที่มาทำงานใช้ประโยชน์จากประเทศไทย     ไม่เป็นกลไกส่งเสริมนวัตกรรมภายในประเทศ    เพื่อยกระดับประเทศสู่สภาพ ๔.๐    ดูจากร่าง พรบ. เน้นเพื่อ “ให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล”    ซึ่งผมมองว่าน่าจะมีเป้าหมายที่มีคุณค่าต่อประเทศมากกว่านี้   และมีมิติเชิงรุกมากกว่านี้   

ประเด็นที่สาม ที่ผมไม่เห็นจากข้อเสนอนี้ คือการชี้ให้เห็นชัด ว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการนั้นจริงๆ แล้วเกิดจากภาคการผลิตและภาคบริการ    กลไกที่เสนอเป็นตัวช่วยหรือส่งเสริมเท่านั้น    

ประเด็นที่สี่ ผมไม่เห็นมุมมองเชิงพลวัต และซับซ้อน (complexity) เรื่องคุณภาพ

วิจารณ์ พานิช        

๙ มี.ค. ๖๔ 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                    

หมายเลขบันทึก: 690039เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2021 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2021 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท