วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๐๗. ข้อเรียนรู้ด้านการจัดการชุดโครงการวิจัย จากโครงการ Future Thailand ครบ ๑ ปี


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

ตอนที่ ๙๕

ตอนที่ ๙๖

ตอนที่ ๙๗

ตอนที่ ๙๘

ตอนที่ ๙๙

ตอนที่ ๑๐๐

ตอนที่ ๑๐๑

ตอนที่ ๑๐๒

ตอนที่ ๑๐๓

ตอนที่ ๑๐๔

ตอนที่ ๑๐๕

ตอนที่ ๑๐๖

ผมเขียนความเห็น (เพื่อสร้างสรรค์ด้านการจัดการงานวิจัย) เกี่ยวกับโครงการ Future Thailand ไว้ที่ (๑)  (๒)  (๓)  (๔)    เป็นการเขียนจากประสบการณ์การทำหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการอำนวยการโครงการ

 มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการประเทศไทยในอนาคต ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ ในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๓๐-๑๗.๓๐ น.    ดูจากกำหนดการประชุม เป็นการพิจารณารายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ของปีแรก 

เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่นัดหมายการประชุมไม่ได้บอกว่า การประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายอะไร    แต่ก่อนการประชุมครึ่งชั่วโมงก็ได้รับวาระการประชุม   และทราบว่าต้องการให้คณะกรรมการอำนวยการอนุมัติการดำเนินการในปีที่ ๒  

กว่าจะได้เริ่มประชุมก็เวลา ๑๕.๓๐ น. เพราะรอประธาน    ลงท้ายต้องเริ่มประชุมโดยกรรมการท่านหนึ่งทำหน้าที่ประธานแทน    ผมเข้าร่วมผ่านซูมจึงไม่เดือดร้อนนัก    แต่ก็รู้สึกถึงความไม่ professional ด้านการจัดการ  

เป็นการนำเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์ของแต่ละโครงการรวม ๙ โครงการ    ให้เวลานำเสนอโครงการละ ๕ - ๗ นาที   ตามด้วยการถามตอบหรือให้ความเห็นอีก ๕ นาที    แต่บางโครงการก็เสนอยืดยาว    สรุปรวมโดย ศ. ดร. มิ่งสรรพ์ ว่าในภาพรวมผลงานสมบูรณ์ราวๆ ร้อยละ ๗๐   ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมอีก   

การได้ฟังรายงานก็ประเทืองปัญญายิ่ง    เพราะเป็นผลงานเชิงมองอนาคต   แต่ผมบอกไม่ได้เลยว่าผลงานแต่ละโครงการมีคุณภาพน่าพอใจหรือไม่    เพราะไม่ใช่ด้านที่ผมมีความรู้จริง    นอกจากนั้น ไม่เคยมีการทบทวน TOR ของแต่ละโครงการเลย 

ผมเสนอต่อที่ประชุม ๔ ข้อ หลังจาก ๙ โครงการนำเสนอเสร็จคือ

  • ขอให้มี peer review ต่อผลงาน
  • เสนอให้มีการจัดการ public communication
  • งบประมาณของโครงการควรแตกต่างกันตามปริมาณงาน  ไม่ใช่เหมาโครงการละ ๓ ล้านบาทอย่างเดิม
  • โครงการระยะที่ ๒ ควรมี TOR ชัดเจน  

ที่ประชุมมีมติว่า แม้ว่าจะได้อนุมัติหลักการให้ทุนปีที่ ๒ ไปในการประชุมครั้งที่แล้ว การทำสัญญาต้องมีการจัดการให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพสูง      

วิจารณ์ พานิช        

๒๔ ก.พ. ๖๔ 


หมายเลขบันทึก: 689453เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2021 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2021 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประชุมมาสาย ๓๐ นาที ผมว่าเป็น norm ของป.ไทยไปแล้ว ผมเยเป็นประธานการประชุมระดับมหาลัยหลายประการ คกก. ประกอบด้วย คณบดี และเทียบเท่าจำนวนสัก ๑๐ คน .สิบนาทีผ่านไป กก.ยังมาไม่ครบองค์ประชุม ผมเลยยกเลิกการประชุม จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว.ผมเคยเขียนบทความท้าทายมาแล้วว่า ประเทศไทยอยากยิ่งใหญ่ เป็นมหาอำนาจโลก ทำได้ไม่ยาก ขอเพียงอย่างเดียว คือมาประชุมให้ตรงเวลา.รายงานวิจัยมี peer review นั้น ที่มทส. ทำเป็นกิจวัตรครับ แม้งบประมาณเพียง ๓ แสน น่าแปลกที่งานวิจัยระดับชาติ งบ ๓ ล้าน ไม่มี peer review.—คนถางทาง..๑๒มีค.๖๔

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท