ชีวิตที่พอเพียง ๓๙๖๒. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๙๓) สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาด้วยกลไกการกระจายอำนาจ



บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

บันทึกที่ ๗๗

บันทึกที่ ๗๘

บันทึกที่ ๗๙

บันทึกที่ ๘๐

บันทึกที่ ๘๑

บันทึกที่ ๘๒

บันทึกที่ ๘๓

บันทึกที่ ­๘๔

บันทึกที่ ๘๕

บันทึกที่ ๘๖

บันทึกที่ ­๘๗

บันทึกที่ ๘๘

บันทีกที่ ๘๙

บันทึกที่ ๙๐

บันทึกที่ ๙๑

บันทึกที่ ๙๒

บ่ายวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๔ ผมเข้าร่วมประชุมเพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาด้วยกลไกการกระจายอำนาจของ กสศ.    ในช่วงโควิด ๑๙ ระบาดหนักเช่นนี้ ย่อมต้องประชุมทางไกล   

กสศ. ดำเนินการ โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาระยะที่ ๑ ไปแล้วในปี ๒๕๖๓   และได้นำเสนอผลงานในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๔   ว่ามีเป้าหมาย พัฒนากลไกจังหวัดในการช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่ยากจนและเด็กนอกระบบการศึกษา   ซึ่งก็คือเป็นการทดลองค้นหากลไกกระจายอำนาจทางการศึกษานั่นเอง    โดยในขั้นนี้เน้นที่กลไกช่วยเหลือเด็กปฐมวัยในครอบครัวยากจน และเด็กนอกระบบการศึกษา  

โดยในปี ๒๕๖๒ - ๒๕๖๓ ได้ร่วมมือกับ ๒๐ จังหวัดนำร่องดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูล  และระบบดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ   

ในปี ๒๕๖๔ จะยกระดับโครงการเป็น การพัฒนาสู่ตัวแบบการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ให้เป็นจริง ผ่านการศึกษาวิจัย    เริ่มจากการร่วมกันจัดทำวิสัยทัศน์จังหวัด หรือเป้าหมายของจังหวัดแบบมีส่วนร่วม และใช้ข้อมูลจากผลงานในปี ๒๕๖๒ - ๒๕๖๓ ในการร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์    ตามด้วยการสื่อสารให้รับรู้ทั่วกันเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนทั้งจังหวัด   

งานนี้จุดเน้นอยู่ที่การพัฒนาตัวแบบ คู่กับงานวิจัย ที่เป็นการศึกษาวิจัยเชิงระบบเพื่อพัฒนาต้นแบบ 3 ส่วน ดังนี้

   ส่วนที่ 1: โจทย์การวิจัยพัฒนาเครื่องมือเชิงนโยบายระดับพื้นที่ (Area-based Policy Instruments)  ประกอบด้วย  (1) ระบบข้อมูลสารสนเทศเชิงพื้นที่  (2) กลไกเชิงสถาบันภาคประชาชนเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาของจังหวัด (Area-based Civic Institution)

   ส่วนที่ 2: โจทย์การวิจัยพัฒนาระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษาเชิงพื้นที่    มี 3 ประเด็น คือ   (1) การประกันโอกาสเสมอภาคในการเข้าถึงระบบการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของของ เด็กเยาวชนในจังหวัด (Equitable Learning Access)   (2) การประกันโอกาสเสมอภาคในการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพของเด็ก เยาวชนในจังหวัด (Equitable Learning Outcome)   (3) การยกระดับศักยภาพและประสิทธิภาพของระบบกลไกและกระบวนการทํางานในระดับ จังหวัด (System Change)   

ส่วนที่ 3: โจทย์ศึกษาวิจัยเชิงระบบเพื่อพัฒนาต้นแบบ “จังหวัดปฏิรูป” ที่มีประสิทธิภาพและ สามารถขยายผลเชิงนโยบายได้อย่างยั่งยืน  คือ (1) วิจัยพัฒนาต้นแบบกลไกสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาเชิงพื้นที่ตามแนวทางที่กําหนดไว้ใน มาตรา 18 ของร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ    (2) วิจัยพัฒนาต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ (UNESCO’s Learning City)

งบประมาณในปี ๒๕๖๔ รวม ๑๙๕ ล้านบาท

ผมให้ความเห็นว่า ไม่ควรทำใน ๒๐ จังหวัดเดิมทั้งหมด    ควรเลือกเฉพาะจังหวัดเดิมที่มีผลงานดี สะท้อนการจัดโครงสร้างและการจัดการที่ดี    ไม่ควรเสียเงินและพลังการทำงานที่จังหวัดที่พิสูจน์แล้วว่าทำงานไม่ได้ผล  

นอกจากนั้น ต้องคิดให้ดีๆ ว่าเป้าหมายของโครงการนี้คืออะไร    เป็นการสร้างโมเดลจัดการศึกษาระดับจังหวัด  หรือโมเดลดูแลเด็กเล็กและเด็กนอกระบบที่จังหวัดดูแลเอง    สองเป้าหมายนี้ต่างกัน    และอาจขัดกันในเชิงยุทธศาสตร์การทำงาน   

วิจารณ์ พานิช

๔ พ.ค. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 690783เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2021 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2021 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท