ชีวิตที่พอเพียง 3742. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๕๕) พัฒนาโรงเรียนร่วมกับ PISA สู่การพัฒนาศักยภาพการประเมินเพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนทั้งประเทศ


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บ่ายวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ ผมเข้าประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ   โครงการประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานสากล เพื่อการพัฒนาสถานศึกษา(PISA for Schools) ที่ กสศ. (วสศ.) ให้ทุนสนับสนุนแก่ทีมจาก OECD   และทีมจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    โดยที่ประเด็นสำคัญสำหรับผม อยู่ที่การออกแบบโครงการให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้มากที่สุด  

โครงการนี้จะดำเนินการใน ๕๐ โรงเรียนที่มีนักเรียนกลุ่มอายุ ๑๕ ปี ไม่ต่ำกว่า ๔๒ คน     ที่เป็นโรงเรียนในสังกัด สพฐ.  และมีความสัมพันธ์กับ กสศ. อยู่แล้ว     โดยที่ในปีแรกจะเป็นการพัฒนาหรือปรับปรุงเครื่องมือ PISA ของ OECD เอามาใช้ในบริบทไทย    เพื่อให้โรงเรียนเข้าใจเป้าหมายการเรียนรู้ยุคศตวรรษที่ ๒๑    และจัดการเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวเป็น     รวมทั้งประเมินการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวเป็น      

ข้อเรียนรู้จากโครงการนี้ต่อวงการศึกษาไทย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ กสศ. คือ   การออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ในมิติที่ลึก (deep learning)  และครอบคลุม (holistic learning)    เน้นที่ ๓ สาระหลัก คือ วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  และการอ่าน    และวิธีวัดผลสัมฤทธิ์นั้น      

 การทดสอบ PISA ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่า วัดสมรรถนะที่เกิดจากการเรียนรู้ในมิติที่ลึกและเชื่อมโยงได้อย่างแม่นยำ    และผลของการทดสอบนักเรียนไทย ได้ผลที่น่าหดหู่    คือค่าเฉลี่ยของคะแนนอยู่ในกลุ่มโหล่ของโลก    ในขณะที่การลงทุนด้านการศึกษาของไทยอยู่ในกลุ่มสูงสุดของโลก    แสดงว่า มองเชิงระบบ เราดำเนินการจัดการศึกษาไทยผิดพลาดมาเป็นเวลานาน (และยังผิดพลาดอยู่ในปัจจุบัน)    แต่ก็มีผลการทดสอบ PISA ของไทยที่น่าตื่นเต้น (และลึกลับ)    คือมีนักเรียนไทยที่เข้าสอบ PISA ร้อยละ ๕ เป็นเด็กจากครอบครัวยากจน  และเรียนอยู่ในโรงเรียนธรรมดาๆ    แต่ผลคะแนนสอบ PISA อยู่ในกลุ่มสูงสุดของโลก    ที่เราน่าจะถอดรหัสลับข้อฉงนสนเท่ห์ให้ได้    โดยในการประชุมวันนี้ ทีม OECD ก็ได้ยกตัวอย่าง resilient schools ในประเทศบราซิล    ที่ผลการทดสอบ PISA for Schools ชี้ว่า    เป็นโรงเรียนที่ดูแลนักเรียนยากจนขาดแคลน    แต่ผลการทดสอบแบบ PISA ของนักเรียนดีกว่าโรงเรียนในกลุ่มเดียวกัน   

ผมมีความเห็นว่า น่าจะใช้พลังของ PISA เพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาไทย โดยสองกลไกนี้  คือ (๑)  PISA for School   และ (๒) ไขรหัสลับนักเรียนยากจนในโรงเรียนธรรมดา ที่ผลลัพธ์การเรียนรู้วัดโดย PISA สูงมาก     

ผมมีความเห็นว่า กสศ. และภาคี ต้องออกแบบ โครงการประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานสากล เพื่อการพัฒนาสถานศึกษา (PISA for Schools) ให้เป็นกระบวนการปูพื้นฐานการนำความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับจากโครงการปีแรกสำหรับนำไปใช้ขยายผลในโรงเรียนทั่วประเทศ    ไม่ใช่ทำกับ PISA for Schools แบบลูกค้าที่ดีของเขา โดยเพิ่มจำนวนโรงเรียนเป็น ๒๐๐ โรงเรียนในปีที่ ๒ ตามแผนที่เสนอ    โดยที่ฝ่ายเราไม่เรียนรู้ที่จะทำได้เอง

โครงการปีแรก เป็นการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ   ต้องคิดเรื่องการสนับสนุนโรงเรียนขยายผล ในปีต่อๆ ไป ไว้ล่วงหน้า    โดยผมมีความเห็นว่า นอกจากร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ สพฐ. แล้ว    ควรร่วมมือกับคณะกรรมการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา  และกับ TEP (Thailand Education Partnership) ด้วย    โดย ๕๐ โรงเรียนที่เข้าร่วม ต้องเป็นโรงเรียนที่ผู้อำนวยการและครูอยากเข้าร่วม   และมาจากหลายสังกัด รวมทั้งมีโรงเรียนเอกชนที่เป็นโรงเรียนทางเลือกด้วย    และน่าจะค้นหาโรงเรียนที่มีเด็กช้างเผือกในการทดสอบ PISA 2018 เข้าร่วมสักสองสามโรงเรียน    ทั้งนี้ เพื่อการเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนที่มีการดำเนินการแตกต่างกัน  

เมื่ออ่านโครงการที่ OECD เสนอแล้ว     ชัดเจนว่าเขามีแบบประเมินสำเร็จรูปมาให้เราแปลเป็นภาษาไทย    เอาไปประเมินนักเรียนในโรงเรียน   ได้ผลแล้วทีมไทยตรวจข้อสอบแล้วส่งให้บริษัทที่ออสเตรเลียเอาไปประมวลผล    แล้วส่งรายงานมาให้เราใช้รายงานต่อแต่ละโรงเรียน   สำหรับให้โรงเรียนใช้เป็น feedback เพื่อการปรับปรุงการเรียนการสอน 

ทีม OECD บอกชัดเจนว่า บริการของเขาเป็นบริการวินิจฉัย (diagnostics)    ซึ่งเขาก็จะเสนอแนะ “วิธีรักษาโรค” ให้ด้วย เป็นบริการตัวสุดท้ายของโครงการ ๑ ปี     แต่เราต้องบำบัดโรคเอง    ซึ่งผมมีความเห็นว่า “โรคคุณภาพการศึกษาต่ำ” นี้ มี root causes ที่ซับซ้อน    การบำบัดให้ได้ผลต้องทำแบบมี “วงจรเรียนรู้และพัฒนาต่อเนื่อง” ซึ่งเราต้องทำเอง  และทำต่อเนื่องเรื่อยไป     ไม่ใช่หวังพึ่ง OECD ทั้งหมดและตลอดไป    เราจึงต้องไม่หวังผลจากการรับบริการจาก OECD    แต่ต้องหวังผลจากการกระทำของเราเอง    โดยใช้โครงการ PISA for Schools เป็นกลไกการเรียนรู้ของเราเอง

ผมมีความเห็นว่า  หากดำเนินการตามที่ OECD เสนอ จะไม่คุ้มกับเงินและแรงงานที่เสียไป    กสศ. ต้องมีแผนการดำเนินการของตนเองด้วย    เพื่อใช้ความร่วมมือกับ OECD ในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพภายในประเทศของเราเอง    ให้ดำเนินการประเมินในลักษณะเดียวกันได้    สำหรับใช้ทั่วประเทศ    และสำหรับหมุนวงจรเรียนรู้ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง    ซึ่งเมื่อเสวนาทางไกลกับทีม OECD ในวันนี้ ก็เห็นชัดว่าเขามีนโยบายเป็นเพื่อนเรียนรู้อยู่แล้ว    โดยเขาใช้คำว่า peer learning  

จุดสำคัญอยู่ที่การจัดการภายในของเราเอง ที่จะหาทีมงานที่เอาจริงเอาจังต่อการเรียนรู้นี้   แล้ว กสศ. ลงทุนสนับสนุน    เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของประเทศไทยเราเองให้ได้    ผมหวังว่า กสศ. จะสามารถดำเนินการสร้างขีดความสามารถนี้ได้  

ในระหว่างประประชุมของฝ่ายไทย    ผมได้เรียนรู้ว่า วงการศึกษาของไทยร่วมมือกับ OECD มาเป็นเวลายี่สิบปี โดยไม่ได้เอาใจใส่สร้างศักยภาพของเราเอง    ได้แต่เป็นลูกมือจัดการสอบ PISA   ผมจึงให้ความเห็นว่า กสศ. จะปล่อยให้เป็นอย่างที่ผ่านมาไม่ได้   ถึงเวลาแล้วที่เราจะสร้างศักยภาพของเราเอง  

สรุปว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการจ่ายเงินภาษีอากรของประชาชน ๑๓ ล้านบาทดำเนินการได้ผลตามที่ OECD เสนอ    และยิ่งไม่เห็นด้วยกับการที่จะลงเงินอีกมากกว่านี้ในปีที่สอง ให้ทำแบบเดียวกันใน ๒๐๐ โรงเรียน    แต่เห็นด้วยที่จะลงทุนนี้ควบคู่ไปกับการจัดทีมเรียนรู้ที่เข้มแข็งของเราเอง จำนวน ๑๐ - ๒๐ คน มีหัวหน้าทีมที่เข้มแข็ง    เรียนรู้ควบคู่ไปกับการดำเนินโครงการทุกขั้นตอน    โดยหาทางขอเรียนรู้หลักการและเหตุผลเบื้องหลังวิธีการจากทีม OECD ให้มากที่สุด     โดยมีเป้าหมายว่า ทีมนี้จะเป็นผู้จัดการดำเนินการของเราเองในปีที่ ๒   และปีต่อๆ ไป ทุกปี  

โดยในปีที่ ๓ เราจะร่วมงานกับ OECD อีก ๕๐ โรงเรียน    เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม และ benchmarking ผลงานของเราเองกับของ OECD   รวมทั้งเพื่อเรียนรู้ความก้าวหน้าของ OECD    ในปีที่ ๔ และ ๕ เราทำเอง    ปีที่ ๖ จึงทำร่วมกับ OECD อีก    เช่นนี้เรื่อยไป   

ผมถือว่า แนวทางที่ผมเสนอ เป็นการรักษาเกียรติภูมิคนไทย ชาติไทย ให้ OECD เห็นว่า เราไม่โง่    ที่จะเป็นลูกค้าที่ไม่รู้จักเรียนรู้ที่จะฝึกการยืนบนขาตัวเอง  

ทั้งหมดนี้เป็น reflection ของผม    โดยผมไม่ยืนยันว่าเป็นความคิดที่ถูกต้องทั้งหมด       

วิจารณ์ พานิช

๑๗ มิ.ย. ๖๓

  

   

หมายเลขบันทึก: 679126เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2020 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2020 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยอดเยี่ยมครับ! ทุกเรื่องต้องยืนบนลำแข้งตัวเอง..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท