ชีวิตที่พอเพียง 3718. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๕๑) ตั้งโจทย์วิจัย


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐




ในการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทาง สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓    มีวาระขอคำแนะนำเรื่อง กรอบแนวทางสนับสนุนการวิจัยและประเมินเพื่อการพัฒนาของ สกศ. (Developmental Evaluation : EEF Research Framework)   ซึ่งก็คือเรื่องการตั้งโจทย์วิจัยของ วสศ. นั่นเอง   

ทีมงานของ วสศ. เสนอร่างแนวคิด ๒ เรื่อง    เรื่องแรกเป็นการออกแบบระบบวัด social impact ของ กสศ.   ซึ่งเมื่ออ่านเอกสารและฟังการนำเสนอแล้ว    ผมคิดว่าไม่ใช่ developmental evaluation    ซึ่งก็ไม่เป็นไร    เราเน้นให้ความเห็นที่การออกแบบระบบวัดผลกระทบทางสังคมของ กสศ. ในภาพใหญ่  

ประเด็นสำคัญอยู่ที่โจทย์วิจัยที่แจ่มชัด ตามความต้องการของ กสศ.    ไม่ใช่แจ่มชัดตามที่ทีมวิจัยเสนอ    ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า โจทย์วิจัยคือ ในช่วง ๑ ปีที่ผ่านมา กสศ. ได้ก่อผลกระทบทางสังคมอย่างไรบ้าง    กรรมการได้เสนอแนะว่า ผลกระทบที่ควรวัดคือ ผลกระทบต่อเด็ก  ผลกระทบต่อครอบครัว  ผลกระทบต่อระบบการศึกษา ทำให้เห็นจุดอ่อนเชิงระบบ    ผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำในสังคม    ผลกระทบต่อเป้าหมายตาม พรบ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑    ผลกระทบตามเป้าหมายที่คณะกรรมการบริหารกำหนด  เป็นต้น 

สิ่งที่กรรมการเตือนคือ ไม่ควรให้ทุนวิจัยออกแบบระบบวัด เพราะจะทำให้เกิดความแข็งตัวในการดำเนินการ    นี่คือความเห็นของ นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ ซึ่งผมคิดว่าแหลมคมยิ่ง     เพราะโจทย์วิจัยนี้ จะทำให้ความริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงานของ กสศ. ลดลงทันที    เพราะผู้ปฏิบัติจะหันไปทำงานเพื่อสนองระบบวัด    ไม่ใช่สนองเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา   

ที่จริงเราได้บทเรียนจากการบริหารงานแบบเน้น KPI อยู่แล้วนะครับ    ว่ามันทำให้เกิดการทำงานสนอง KPI ไม่ใช่ทำงานเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆ  คุณค่าสูงส่งของงาน  

เรื่องโจทย์วิจัยดูผลกระทบ จากการทำงานของ กสศ. นี้ มีการตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมและสนับสนุนในการรับการประเมินผลสัมฤทธิ์ การดำเนินงานรอบสามปีของกองทุนฯ    ซึ่งจะมีการประเมินในปี ๒๕๖๕    คณะอนุกรรมการชุดนี้น่าจะช่วยให้ข้อเสนอแนะโจทย์วิจัยหา evidence  ต่อ impact ด้านต่างๆ จากการดำเนินงานของ กสศ.

วิจารณ์ พานิช

๑ มิ.ย. ๖๓


   

หมายเลขบันทึก: 677980เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2020 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2020 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท