ชีวิตที่พอเพียง 3387. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๑๓) ผลิตและพัฒนาครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑



บันทึกที่ ๑   บันทึกที่ ๒   บันทึกที่ ๓    บันทึกที่ ๔    บันทึกที่ ๕    บันทึกที่ ๖ บันทึกที่ ๗   บันทึกที่ ๘    บันทึกที่ ๙     บันทึกที่ ๑๐     บันทึกที่ ๑๑    บันทึกที่ ๑๒   



บ่ายวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ผมไปร่วมประชุมระดมความคิด เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ที่ กสศ.   ต่อเนื่องจากโครงการ sQip () ที่กำลังจะจบโครงการ    มีการพูดกันว่า นี่คือโครงการ sQip 2   แต่ผมค้าน

เพราะว่าคุณหมอสุภกรบอกว่า กสศ. มีหน้าที่ตาม พรบ. ในการสนับสนุนการพัฒนาสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครู    และต้องการใช้โครงการนี้ในการพัฒนาสถาบันต้นแบบดังกล่าว

ผมถามว่า “ต้นแบบ” แปลว่าอะไร    หากเป็นต้นแบบโดยผลิตและพัฒนาครูตามที่ทำในโครงการ sQip    จะเป็นการผลิตและพัฒนาครูแห่งศตวรรษที่ ๒๐   ไม่ใช่ครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑   เพราะว่าวิธีจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน sQip ยังเป็นการสอนในรูปแบบเก่าๆ  ที่เป็น 20th Century pedagogy   ไม่ใช่ 21stCentury pedagogy   โดยที่ กสศ. มี 21st Century pedagogy อยู่ในมือแล้ว จากการร่วม “โครงการพัฒนาเครื่องมือและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียน” กับ OECD ()   

และผมตีความว่า วิธีการจัดการเรียนการสอน และการฝึกครูในโครงการดังกล่าว เป็นการพัฒนาครูและพัฒนาห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑ 

โชคดีที่คุณภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์ แห่ง TDRI ซึ่งเรียนจบครุศาสตร์ และไปเป็นครู ๑ ปี    บอกว่าสิ่งที่เรียนมาใช้ประโยชน์ในห้องเรียนได้น้อยมาก    เพราะสิ่งที่เรียนเป็นทฤษฎี ที่เอาไปปฏิบัติจริงได้น้อย    ส่วนที่เป็นทักษะห้องเรียนได้รับการฝึกน้อยมาก   

ผศ. ดร. พิศมัย รัตนโรจน์สกุล อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มศว. เสนอว่า ควรหาทางพัฒนาใน ๑๐ สถาบันที่จะได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อสอนเด็กด้อยโอกาส () ()  เป็นสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครู    

ผมเสนอว่า กสศ. น่าจะจัดการประชุมปฏิบัติการวิธีจัดการเรียนการสอนตามแนวที่ กสศ. เคยจัดแก่ครูใน “โครงการพัฒนาเครื่องมือและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียน” กับ OECD () แก่ทีมคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ที่สมัครเข้ามารับการคัดเลือกเข้าสู่โครงการพัฒนาสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครู    ตามด้วยการที่ทีมดังกล่าวเขียนโครงการดำเนินการเสนอต่อ กสศ. เพื่อรับการคัดเลือกเพิ่มอีก ๒ - ๓ คณะ 


        

วิจารณ์ พานิช

๕ ก.พ. ๖๒

 

หมายเลขบันทึก: 660430เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2019 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2019 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท