ชีวิตที่พอเพียง 3713. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๕๐) หนุนความพร้อมของเด็กและเยาวชนเข้าสู่การทำงาน


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาเครื่องมือเพื่อประเมินความพร้อมของเด็กและเยาวชนในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน   และให้นักวิจัยมาเสนอความก้าวหน้าในการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับทิศทางของ วสศ. เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓    ทำให้ผมได้เรียนรู้ เรื่องเครื่องมือวัด career readiness ของเยาวชน    ที่มีเครื่อมือของต่างประเทศมากมาย  

หลังการประชุม ผมกลับมาคิดใคร่ครวญที่บ้าน    เกิดความคิดว่าเครื่องมือนี้มีเป้าหมายสร้างเครื่องมือ   และท่านที่ปรึกษาคณะกรรมการ ดร. ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ผู้มีประสบการณ์มาก เคยเป็นทั้งเลขาธิการ สอศ.   เลขาธิการ สพฐ.   และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เตือนว่านักเรียน โดยเฉพาะเด็กอาชีวะเบื่อการทดสอบมาก    การทำเครื่องมือแขวนไว้บน cyberspace ให้เด็กเข้าไปทดสอบเอง น่าจะหาผู้ใช้ยาก    และผมคิดว่า การลงทุนสร้างเครื่องมือที่ไม่มีคนใช้ ไม่น่าจะเป็นการลงทุนที่ถูกต้อง

ผมคิดว่าโจทย์จริงๆ คือการช่วยให้เด็กอาชีวะ และเด็ก ม. ๓, ม. ๖ ที่จะไม่เรียนต่อ ได้พัฒนาทักษะการทำงาน    โจทย์ที่ถูกต้องคือการพัฒนาทักษะของเยาวชนที่กำลังเตรียมตัวออกไปทำงาน    ซึ่งผมเชื่อว่าเจ้าตัวต้องพัฒนาเอง ครูและเครื่องมือเป็นเพียงตัวช่วย    จึงมีคำถามว่า การเน้นสร้างเครื่องมือที่เน้นเทคโนโลยี และทำโดยนักวิชาการ เป็นการหลงทางหรือเปล่า

ผมตั้งคำถามว่า ในเมื่อวิธีการที่กำลังใช้อยู่ (ผมเรียกว่า academic approach) คงจะใช้ได้ผลกระทบต่อตัวเด็กได้ยาก    ทำไมเราไม่คิดลองวิธีการที่แหวกแนว เช่น field approach ดูบ้าง    ที่แหวกแนวหนักยิ่งขึ้นคือ ใช้ work seeker approach (หมายถึงให้เยาวชนที่กำลังหางานเป็นผู้ร่วมคิดวิธีพัฒนาทักษะของตนเองและรุ่นน้อง)   และ champion approach (หมายถึงหาเยาวชนที่มีงานทำดีมาร่วมคิดวิธีพัฒนาทักษะของรุ่นน้อง)    โดยบุคคลที่เข้ามาร่วมกำหนดเกณฑ์ที่นำไปสู่เครื่องมือประเมิน เป็นคนในกลุ่มอายุเดียวกันกับเยาวชนที่เราต้องการวัดทักษะ  

Field approach นั้น โอกาสเปิดกว้างในสภาพวิกฤติโควิด ๑๙   ที่เยาวชนที่จบการศึกษา ปวช., ปวศ., ม. ๓,  ม.๖ รุ่นใหม่กำลังเผชิญวิกฤติการมีงานทำเพื่อมีรายได้    มีทางไหมที่ให้คนเหล่านี้เองเป็นผู้พัฒนาตัวชี้วัดและวิธีวัดขึ้นมา    ที่อาจไม่ใช่แค่ทดสอบในคอมพิวเตอร์   แต่ทดสอบในการปฏิบัติจริง    ที่มีครูเป็นผู้ช่วยสังเกตและให้คำแนะนำ

นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนขาดแคลน  ที่มีความอ่อนแอในหลายมิติ  แต่หากจับเส้นถูก ความแข็งแรงที่ซ่อนอยู่ในความเป็นมนุษย์อาจโผล่ออกมากระทำการ    ดังระบุไว้ในภาค ๗ ของหนังสือ สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน บทที่ ๒๗ เตรียมเข้าสู่บทเรียนหรือเข้าสู่อาชีพ    ซึ่งเมื่อมองว่าเยาวชนกลุ่มนี้ต้องการการยอมรับจากผู้อื่น ความมั่นใจตนเอง ความรู้จักจุดแข็งของตนเอง    การประเมินเพื่อหาจุดแข็งของตัวตนของเขา โยงสู่งาน    น่าจะเหมาะสมกว่า ดึงดูดใจเยาวชนกว่า การประเมินที่เน้นงานเป็นหลักหรือเป็นศูนย์กลาง    แนวคิดนี้ตรงกับแนวคิดของคุณหญิงกษมา วรวรรณ เรื่องการวัดแวว    ซึ่งทำกันมานานแล้ว  น่าจะเข้าไปศึกษาและหาวิธียกระดับความแม่นยำและการใช้ประโยชน์  

เยาวชนในกลุ่มนี้บางคนอาจไม่ต้องการหางาน  แต่ต้องการสร้างงาน สร้างธุรกิจเล็กๆ ของตนเอง คือเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur) จะมีเครื่องมือใดที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจแก่เขา    และช่วยแนะว่าเขาต้องพัฒนาทักษะใดเพิ่มเติม  

ผมจินตนาการว่า เครื่องมือวัดที่สุดยอดน่าจะช่วยตอบคำถามของเยาวชนเป็นรายคน    ให้เขาบอกว่า ในอนาคตอันใกล้เขาต้องการทำงานแบบไหน (บอกเป้าหมายชีวิต)   แล้วเครื่องมือเลือกคำถามชุดที่จำเพาะต่อผู้นั้น ให้เขาตอบ    แล้วเครื่องมือให้ข้อมูล  feedback ชุดหนึ่งแก่ผู้นั้น    การประเมินก็จะเป็นแบบ tailor-made เป็นรายคน    จินตนาการของผมเตลิดเปิดเปิงไปไกลเกินไป จนไร้ประโยชน์หรือไม่ก็ไม่ทราบ       

ผมมองว่า โครงการแบบนี้ ต้องมีนักจิตวิทยาวัยรุ่น นักจิตวิทยาการทำงานระดับแรงงานฝีมือไม่สูง เข้าร่วมออกแบบ    ต้องสร้างเครื่องมือให้เยาวชน หรือวัยรุ่นใช้    ไม่ใช่เครื่องมือไปวัดหรือทดสอบเขา      

วิจารณ์ พานิช  

๖ พ.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 677889เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2020 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2020 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท