ชีวิตที่พอเพียง 3523. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๓๑) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (๒)


บันทึกที่ ๑       บันทึกที่ ๒      บันทึกที่ ๓       บันทึกที่ ๔       บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖       บันทึกที่ ๗       บันทึกที่ ๘       บันทึกที่ ๙       บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑       บันทึกที่ ๑๒      บันทึกที่ ๑๓       บันทึกที่ ๑๔     บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖       บันทึกที่ ๑๗       บันทึกที่ ๑๘  บันทึกที่ ๑๙  บันทึกที่ ๒๐        

บันทึกที่ ๒๑       ตอนที่ ๒๒     ตอนที่ ๒๓      ตอนที่ ๒๔      ตอนที่ ๒๕     

ตอนที่ ๒๖     ตอนที่ ๒๗         ตอนที่ ๒๘         ตอนที่ ๒๙       ตอนที่ ๓๐

อ่านบันทึกเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตอนที่ ๑ ที่ (๑)

วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๒ มีการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศแผนงานวิจัยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ ที่ สกสว.    โดยผมเป็นประธาน   

อ่านรายงานการประชุมครั้งที่ ๑ ได้ที่ (

ผมอ่านเอกสารการประชุมในส่วนของ รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ครั้งที่ 2

ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดย : คณะผู้วิจัยสถาบันอาศรมศิลป์ ด้วยความชื่นใจ    ว่ารายงานนี้จะนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมและระบบการศึกษาไทยในภาพรวมได้     ผมจึงนำมาเผยแพร่ต่อที่ (

ตาม พรบ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ (๔) มาตรา ๕ ระบุวัตถุประสงค์ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาไว้ ๔ ข้อ  คือ

  • (๑) คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน   รวมทั้งดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น 
  • (๒) ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา 
  • (๓) กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา   เพือเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษา  ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  และ
  • (๔) สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกัน ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา     

วัตถุประสงค์ทั้ง ๔ ข้อนั้น บอกระหว่างบรรทัดว่า ระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันล้าหลัง ไม่สร้างพลเมืองที่เข้มแข็ง ถูกต้องตามยุคสมัย ให้แก่บ้านเมือง    จึงต้องมีการ innovate อย่างเป็นระบบ    และเราต้องการใช้พื้นที่นวัตกรรมเป็นเครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลง  

ทีมงานของสถาบันอาศรมศิลป์ระบุเป้าหมายการดำเนินการว่า เน้นพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ   ที่เรียกว่า whole school transform    ในโรงเรียนนำร่อง ๒๕ โรงเรียน   โดยมีโมเดลการพัฒนาเน้น ๗ ประเด็นหลักคือ

ทีมงานของสถาบันอาศรมศิลป์รับทุนวิจัยจาก สกสว. (สกว. เดิม) ดำเนินการตั้งแต่เดือน กันยายน ๒๕๖๑    จึงมีผลการดำเนินงานระหว่าง กันยายน ๒๕๖๑  กรกฎาคม ๒๕๖๒  รวม ๑๑ เดือน มาเสนอ  ()      ซึ่งสำหรับผม ข้อค้นพบในเรื่องปัจจัยถ่วงการเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องที่ไม่เหนือความคาดหมาย    สิ่งที่ผมสนใจคือ ข้อเสนอให้ปลดล็อก  กลไกเสนอหรือสื่อสาร และการตอบสนองของฝ่ายถืออำนาจส่วนกลาง   

หาก สพฐ. และกระทรวงศึกษาธิการวางท่าทีรอรับข้อเสนอ    ไม่มีกลไกเข้าไปเรียนรู้ร่วมกันในพื้นที่นวัตกรรม    ผมคิดว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการควรพิจารณาผู้ดำรงตำแหน่งหมายเลข ๑ ที่เกี่ยวข้อง    เพราะตาม พรบ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มาตรา ๔ ระบุว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้    โดยผมหวังเข้าไปทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายของ พรบ. นี้ โดยใช้ “พลังสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”    คือ (๑) การสร้างความรู้จากพื้นที่นวัตกรรม  (๒) การสื่อสารสังคมโดยใช้ความรู้นั้น  (๓) การสร้างแรงกดดันทางการเมืองจากประชาชน      

ในฐานะประธานการประชุม ผมพยายามทำให้ที่ประชุมเป็นเสมือน “พื้นที่บอกความต้องการของพื้นที่ และของฝ่ายบริหารการศึกษาของประเทศ”    โดยตีความคำว่า “พื้นที่นวัตกรรม” ให้ทรงพลังยิ่งขึ้น    ว่าเป็นพื้นที่เพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษาให้แก่ประเทศ    ไม่ใช่แต่นวัตกรรมภายในจังหวัดเท่านั้น    โปรดอ่าน พรบ. (๔)   จะเห็นว่า เป้าหมายของ พรบ. นี้เป็นอย่างที่ผมว่า   

ข้างบนนั้น ผมเขียนก่อนการประชุม

ในที่ประชุม มีการนำเสนอผลงาน ๓ โครงการ    คือการดำเนินการที่จังหวัดระยอง โดยทีมสถาบันอาศรมศิลป์    การดำเนินการที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล    และการพัฒนาเครื่องมือวัด โดย ทีดีอาร์ไอ     รวมแล้วได้ข้อมูลมากมาย ที่เป็นตัวป้อนให้แก่สำนักนวัตกรรม สพฐ. เอาไปดำเนินการ “ปลดล็อก” ได้

ทั้ง ๓ โครงการ เริ่มดำเนินการก่อน พรบ. พื้นที่นวัตกรรมฯ    ข้อมูลจากทั้ง ๓ โครงการ สะท้อนความอ่อนแอของระบบราชการไทย   ในการจัดการเรื่องที่มีความซับซ้อน    ที่หน่วยราชการในพื้นที่ทำงานเป็นไซโล ขาดการประสานงานร่วมมือกัน    ไม่ทำงานแบบมุ่งผลลัพธ์  เน้นทำงานตามกฎระเบียบ   

ส่วนที่เป็นข่าวดีคือ ครูดีมีอยู่  และมีมากพอสมควร    หากมีการจัดการโรงเรียนที่ดี  มีระบบที่ดี  ครูเหล่านี้ก็จะทำหน้าที่จัดการเรียนรู้ให้ศิษย์บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ได้    ส่วนที่เป็นจำเลยที่ ๑ คือ หลักสูตรแกนกลาง    เป็นต้นเหตุให้ครูคิดวางแผนจัดการเรียนรู้ไม่เป็น  และยังเป็นเหตุให้หลักสูตรผลิตครูทำหน้าที่ผลิตครูที่ไม่มีทักษะจัดการเรียนรู้แนวศตวรรษที่ ๒๑    จำเลยที่สองคือผู้อำนวยการโรงเรียน ที่ขาดทักษะในการทำหน้าที่ผู้นำทางวิชาการ  ไม่มีความสามารถทำงานเป็นทีมกับครูเพื่อจัดการเรียนรู้ที่ดีแก่นักเรียนได้

ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ชี้ให้เห็นว่า “นวัตกรรม” ที่เราช่วยกันขับเคลื่อนนี้ ไม่ใช่แค่ learning innovation  แต่เป็น total systems innovation ด้วย    ดังนั้น สพฐ. จึงต้องจัดการ alignment ภายใน สพฐ. เอง    โดยใช้ข้อมูลจากผลงานวิจัยทั้ง ๓ ชิ้นนี้ ช่วยบอกจุดสำคัญๆ ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง    ความเห็นนี้ ตรงกับผลงานวิจัยเบื้องต้นของ ทีดีอาร์ไอ ที่ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูขาดเวลาและขาดคนช่วยพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อนักเรียน แต่มีโอกาสย้ายและเติบโต    ที่มีสาเหตุมากมายส่งผลเช่นนั้น   

    ข้อมูลและความรู้ที่ได้จากโครงการทั้ง ๓ นี้    จะเป็นข้อมูลป้อนกลับเพื่อสร้าง double loop learning ให้แก่ระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดี    รวมทั้งเพื่อเป็น feedback loop แก่การพัฒนาระบบการศึกษาในพื้นที่ด้วย  

คุณเปา ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล บอกผมว่า    นวัตกรรมเป้าหมายมี ๓ ระดับคือ  ระดับห้องเรียน  ระดับพื้นที่หรือจังหวัด  และระดับประเทศ  

ผมชี้ต่อที่ประชุมว่า ข้อมูลที่ได้จากการวิจัย ต้องนำมาสื่อสารสังคมอย่างกว้างขวาง เพื่อสร้างกระแสผลักดันนโยบายทางการเมือง    และผู้แทน สพฐ. ต้องคอยจับเอาประเด็นสำคัญ เอาไปเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา  เพื่อให้มีการ “ปลดล็อก” ปัจจัยถ่วงคุณภาพผลลัพธ์การเรียนรู้  

ผมมีข้อสังเกตส่วนตัวว่า    จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการจัดการในภาครัฐ เพื่อดำเนินการตาม พรบ. พื้นที่นวัตกรรมฯ ใดๆ เลย    แต่การดำเนินการทางวิชาการได้เดินไปล่วงหน้าเกือบปีแล้ว    

วิจารณ์ พานิช  

๘ ส..ค. ๖๒

Edu innovation from Pattie KB

Report arsomsil from Pattie KB
หมายเลขบันทึก: 668434เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2019 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2019 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท