ชีวิตที่พอเพียง 3491. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๒๙) ประชุมปฏิบัติการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่ (ครูรัก(ษ์)ถิ่น)


บันทึกที่ ๑      บันทึกที่ ๒      บันทึกที่ ๓      บันทึกที่ ๔      บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖      บันทึกที่ ๗      บันทึกที่ ๘      บันทึกที่ ๙      บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑      บันทึกที่ ๑๒     บันทึกที่ ๑๓      บันทึกที่ ๑๔     บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖      บันทึกที่ ๑๗      บันทึกที่ ๑๘     บันทึกที่ ๑๙  บันทึกที่ ๒๐    

บันทึกที่ ๒๑        ตอนที่ ๒๒       ตอนที่ ๒๓       ตอนที่ ๒๔      ตอนที่ ๒๕     

ตอนที่ ๒๖        ตอนที่ ๒๗         ตอนที่ ๒๘

วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ ผมไปร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน(เรียกย่อๆ ว่า ครูรัก(ษ์)ถิ่น)  จัดโดย กสศ. ที่โรงแรม เซนจูรี่ พาร์ค  เขตราชเทวี  กรุงเทพมหานคร   

ผมเคยเล่าเรื่องโครงการนี้ ที่ () มีผู้เคยเป็นนักศึกษาครูในโครงการครุทายาท ๓ คน    ได้นำประสบการณ์ตอนที่ตนเป็นนักศึกษา ว่าได้รับการบ่มเพาะอย่างไรบ้าง    เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องสร้างจิตใจและวิญญาณครู   

การประชุมวันนี้มีผู้แทนมหาวิทยาลัยเข้าร่วมประชุม ๒๖ สถาบัน  สถาบันละ ๓ คน  รวมแล้วมีผู้เข้าประชุมประมาณ ๑๐๐ คน    มาตามการเชื้อเชิญของ กสศ. เพื่อเตรียมเสนอตัวเป็นสถาบันผลิตครูตามโครงการนี้    แล้ว กสศ. จะมีกระบวนการคัดเลือก ๑๐ สถาบัน    สนับสนุนให้ผลิตครูประถม หรือปฐมวัย สถาบันละ ๓๐ คน/ปี    รวม ๕ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๖๓ - ๒๕๖๗)   และจัดกระบวนการโค้ชครูเหล่านี้เมื่อไปทำงานที่โรงเรียนเป้าหมายต่อเนื่องอีก ๖ ปี    คือทำงานถึงปี ๒๕๗๖   รวม ๑๕ ปี    

ผมได้รับมอบหมายให้นำเสนอเรื่อง การเคลื่อนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาและการสร้างครูรุ่นใหม่สำหรับสังคมไทยในศตวรรษที่ ๒๑   ซึ่งดู ppt ประกอบการบรรยายได้ที่ ()   และฟังเสียงการบรรยายและเสวนาได้ที่  

20190805205806.m4a

  

คุณหมอสุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. บอกที่ประชุมว่า  โครงการนี้มีเป้าหมายตรงตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง กสศ. ครบทั้ง ๓ ข้อ คือ

  1. 1. ช่วยเหลือเด็กยากจน ให้ได้เรียนต่อ ในที่นี้คือเรียนครู
  2. 2. หาวิธีปฏิรูปการศึกษา    ที่มหาวิทยาลัยที่เข้าโครงการได้ร่วมคิดและทดลอง
  3. 3. พัฒนาครู   และวิธีผลิตครู  

คุณภาพการศึกษาของประเทศไทย พิจารณาจากผล PISA อยู่ในกลุ่มต่ำของโลก    มีเด็กเพียงร้อยละ ๑ ที่ผล PISA อยู่ใน Q1 (top)    ในขณะที่เวียดนามซึ่งอยู่ในอันดับ ๗ ของโลก    เด็กร้อยละ ๒๐ ผล PISA อยู่ใน Q1   

ผู้จัดการประชุมกำหนดให้ผมพูด ๑ ชั่วโมง ระหว่าง ๑๐.๓๐ - ๑๑.๓๐ น.    ผมปรึกษาคณะผู้จัดและตกลงกันว่า ผมพูดสั้นๆ เพียง ๓๐ นาที    แล้วเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น หรือตั้งคำถาม    ทำให้ผมได้มีข้อสังเกตว่า ในวงการศึกษา มีความต้องการผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาก    แต่ไม่เข้าใจหลักการและวิธีการส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาภาวะผู้นำขึ้นในตน    โดยผมเข้าใจว่า การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำเป็นเรื่องง่ายมาก และเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จากการเปลี่ยน learning mode   เปลี่ยนจาก โหมดถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป    มาเป็นโหมดเรียนรู้จากการปฏิบัติ ตามด้วย reflection   โดยครูอาจารย์ต้องมีทักษะการ facilitate การทำ reflection โดยการตั้งคำถามที่เหมาะสม    ให้เกิดการคิด    โดยส่วนหนึ่งของความคิดที่ได้คือ ทฤษฎีหรือวิธีการเก่าๆ ไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป    อาจมีทฤษฎีหรือวิธีการที่เราคิดขึ้นเองในกระบวนการปฏิบัติ ที่ใช้ได้ดีกว่า    และหากในคำถามเพื่อ reflection นั้น กระตุ้นให้นักศึกษาคิดทฤษฎีขึ้นจากการปฏิบัติ    ก็จะก่อความมั่นใจ ให้นักศึกษากล้าลุกขึ้นมาทำสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างจากวิถีปฏิบัติเดิมๆ      

ในช่วง ๑๑.๓๐ - ๑๒.๓๐ น. มีการชี้แจงแนวทางดำเนินการของโครงการ    สะท้อนการทำงานอย่างใช้ข้อมูลช่วยให้การดำเนินการพุ่งเป้าและดำเนินการเชิงรุก    และการหาทางผลิตครูแบบใหม่   และที่สำคัญ มีการติดตามโค้ชครูใหม่ในโครงการต่อเนื่องไปอีก ๖ ปี    การออกแบบโครงการนี้มีการใช้ความรู้มาก    ลงรายละเอียดมาก    

ผมจากมาตอนเที่ยงครึ่ง เพื่อไปรับใช้หน่วยงานอื่นด้วยความหวัง    หวังว่าโครงการนี้จะไม่เพียงสร้างครู จากเด็กที่มีพื้นฐานยากจน ไปทำงานในภูมิลำเนาในพื้นที่ห่างไกลเท่านั้น    แต่จะเป็นกลไกปฏิรูปวิธีผลิตครู  และปฏิรูปความหมายคุณภาพของโรงเรียน 

วิจารณ์ พานิช  

๒๘ มิ.ย. ๖๒

1 บรรยากาศในห้องประชุม

หมายเลขบันทึก: 664786เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2019 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2019 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท