ชีวิตที่พอเพียง 3364. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๑๓) สร้างครูในพื้นที่ห่างไกลที่มีฉันทะและทักษะในการทำหน้าที่ครู



บันทึกที่ ๑   บันทึกที่ ๒   บันทึกที่ ๓    บันทึกที่ ๔    บันทึกที่ ๕    บันทึกที่ ๖    

 บันทึกที่ ๗   บันทึกที่ ๘ บันทึกที่ ๙     บันทึกที่ ๑๐    บันทึกที่ ๑๑   บันทึกที่ ๑๒



เช้าวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๒ ผมไปร่วมประชุมคณะทำงาน โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่ เพื่อสร้างคุณภาพโรงเรียนของชุมชน   ที่ กสศ.   เป้าหมายของการประชุมเพื่อเตรียมข้อมูล และวิธีนำเสนอโครงการ ต่อ ครม.         

ผู้รับผิดชอบโครงการของ กสศ. คือ ดร. อุดม วงษ์สิงห์ ทำตารางเปรียบเทียบโครงการคล้ายๆ กัน ๓ โครงการคือ    โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (ของ สกอ.), โครงการเพชรในตม (ของ กอ. รมน.), และโครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล    โดยมีประเด็นเปรียบเทียบ ๘ ประเด็น  นำมาขอรับคำแนะนำ     

ผมเสนอข้อคิดเห็นในหัวข้อ “กิจกรรมเสริมในกระบวนการผลิต”     ว่าน่าจะปรับชื่อหัวข้อ เป็น “เป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้  และวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้”    โดยเน้นการพัฒนาทักษะในห้องเรียน (classroom skills)    ซึ่งเป็นทักษะที่ซับซ้อนยิ่ง    ตัวอย่างเช่นทักษะการสังเกตเห็นนักเรียนที่เรียนไม่ทัน หรือมีปัญหาส่วนตัว     รวมทั้งทักษะช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น    ซึ่งลึกๆ เป็นส่วนหนึ่งของ “ความเสมอภาคทางการศึกษา”   

อีกทักษะหนึ่งในหมวด “ทักษะห้องเรียน” คือทักษะการเรียนรู้จากห้องเรียนที่ตนสอน    ซึ่งหมายความว่าในสถาบันผลิตครูต้องมีระบบ Open Classroom    ให้มีการสังเกตการณ์ชั้นเรียน  และให้ feedback แก่ครู      

วิจารณ์ พานิช

๘ ม.ค. ๖๒


หมายเลขบันทึก: 659757เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท