ชีวิตที่พอเพียง 3407. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๑๕) การพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา



บันทึกที่ ๑       บันทึกที่ ๒       บันทึกที่ ๓         บันทึกที่ ๔        บันทึกที่ ๕   

บันทึกที่ ๖        บันทึกที่ ๗        บันทึกที่ ๘       บันทึกที่ ๙         บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑       บันทึกที่ ๑๒         บันทึกที่ ๑๓       บันทึกที่ ๑๔ 

เช้าวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๒ ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หลังจากห่างหายไปหลายครั้ง เพราะติดนัดอื่นไว้ก่อน

             วาระสำคัญที่สุด (ในสายตาของผม) คือเรื่อง การพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา    ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่า การลงทุนต่อการศึกษาของเด็กปฐมวัย หรือต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของประเทศ ๗ - ๑๒ เท่า   สูงกว่าการลงทุนด้านการศึกษาในช่วงอายุอื่นๆ   

                 เรื่องความสำคัญและโครงสร้างทางกฎหมาย และโครงสร้างทางนโยบาย เพื่อการพัฒนาเด็กเล็กของไทยนั้น  บัดนี้ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป    ความท้าทายไปตกอยู่ที่การปฏิบัติ

                 เรามี หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๐ ()    บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการความร่วมมือการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (กลุ่มเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ) ()    และ ร่าง พรบ. การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ... ก็ใกล้คลอด

 โครงการนี้มีเป้าหมายพัฒนา (๑) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยากจนและขาดโอกาส   (๒) สถาบันต้นแบบในการผลิตครูและผู้ดูแลเด็กปฐมวัย   (๓) สถาบันวิชาการด้านเด็กปฐมวัย  

อ่านเอกสารประกอบการประชุมแบบอ่านระหว่างบรรทัดแล้ว    ผมคิดว่า ผู้ยกร่างโครงการยังยึดติดอยู่กับการพัฒนาครูเด็กเล็กแบบเดิมๆ คือ เน้น training mode    ในขณะที่ความเชื่อของผมคือต้องเน้น learning mode   คือใช้การทำงาน และสถานที่ทำงานของเด็กเล็กนั้นเองเป็นที่เรียนรู้ของครู    โดยครูรวมตัวกันเอาเรื่องราวการเรียนรู้ของศิษย์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน    ว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อบรรลุเป้าหมายการยกระดับพัฒนาการของเด็กอย่างเป็นองค์รวม ได้ตามเป้าหมาย    มีเด็กคนใดที่พฤติกรรม และพัฒนาการของเขาเป็นความท้าทายของครู          

นี่คือกับดักด้านกระบวนทัศน์ (paradigm trap) ของการศึกษา    เมื่อไรก็ตาม มีการใช้กระบวนทัศน์ว่า โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก เป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็ก    หรือเป็นสถานที่เรียนรู้ของเด็กเท่านั้น  ครูเป็นผู้ถ่ายทอด หรือเอื้อต่อการถ่ายทอด    ผลลัพธ์คือสภาพที่การศึกษาไทยเป็นอยู่ (คือคุณภาพต่ำ)    เพราะครูไม่เรียนรู้จากการทำหน้าที่ของตน    แยกการเรียนรู้กับการทำงานออกจากกัน  

ผมมองว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ต้องทำหน้าที่ “๔ พัฒนา”    คือ พัฒนาเด็ก  พัฒนาพ่อแม่  พัฒนาครู  และพัฒนาสถาบันผลิตครูเด็กเล็ก    ทั้ง ๔ พัฒนานี้ไม่หยุดนิ่ง มีพลวัตไปตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี  สังคม และเศรษฐกิจ    

วิจารณ์ พานิช

๗ มี.ค. ๖๒


หมายเลขบันทึก: 661015เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2019 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2019 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท