ชีวิตที่พอเพียง 3634. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๓๘) เพื่อบรรลุ Core Learning Outcome


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

วันที่ ๒๐ มกราาคม ๒๕๖๓ ผมไปร่วมประชุมเสวนาวิชาการ "เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง"ครั้งที่ ๓   จัดโดย กสศ.   ที่คราวนี้จัดให้ทีม เครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำเสนอ    ตามด้วยการนำเสนอรูปแบบวิธีการประเมิน โดย ดร. วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ กรรมการ กพฐ.  นักวิชาการอิสระ และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านความคิดสร้างสรรค์  

ผู้เข้าร่วมประชุมคือทีมพี่เลี้ยงโครงการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพตนเอง 

ข้อสรุปของการประชุมคือ core learning outcome ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการคิด  ผ่านการปฏิบัติตามด้วยการคิดใคร่ครวญ และ ต้องการให้เรียนรู้อะไร ให้ประเมินสิ่งนั้น    

กล่าวใหม่ว่า ต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียนให้เกิด learning ในตัวนักเรียน   และในกลุ่มครู ผู้บริหารการศึกษา และผู้ปกครอง     ที่เป็นการเรียนรู้ระดับเชื่อมโยง     เรื่องที่นำมาเสวนากันเป็นวิธีการในห้องเรียนและในโรงเรียน ที่ให้ความเข้าใจสู่มิติที่ลึกมาก

วันนี้หัวหน้าทีม เครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ รศ. ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มข. มาเอง    ขนทีมมานำเสนอถึง ๘ คน   โดยผู้นำเสนอหลักคือ นายนูเซ็ง เจะบู ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกะรุบี จังหวัดปัตตานี   และนายธนินท์ วดีศิริศักดิ์ ครูโรงเรียไทยรัฐวิทยา ๘๔ (บ้านสำราญเพี้ยฟาน)  ขอนแก่น ที่เพิ่งเป็นครูได้ปีเศษๆ  

รูปแบบของการเรียนรู้สำนักสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ที่ต่อไปผมจะเรียกว่า สำนัก ดร. ไมตรี) คือ Active Learning โดยใช้เครื่องมือ OA + LS (Open Approach & Lesson Study)    ที่เริ่มโดยครูให้ปัญหาปลายเปิด ที่มีบริบท (context) และเงื่อนไข (condition)   ให้นักเรียนหาวิธีแก้ตามความคิดของตน    เน้นการฝึกคิด ไม่เน้นที่คำตอบ    เพื่อให้นักเรียนได้เห็นด้วยตนเองว่า แต่ละโจทย์หรือคำถาม มีวิธีตอบได้หลากหลายแบบ    ให้นักเรียนได้ฝึกอธิบายความคิดของตนเอง  และฝึกฟังคำอธิบายของเพื่อน   

เรื่องเล่าสถานการณ์ในห้องเรียน โดยครูธนินท์    และสภาพการทำงานในโรงเรียน โดย ผอ. นูเซ็ง ประกอบภาพใน PowerPoint    สะท้อนสภาพการเรียนรู้ที่นักเรียนเกิดความมั่นใจในตนเอง     กล้าคิด กล้าแสดงออก     และมีความสุขในการเรียน     รวมทั้งครูก็เกิดการเรียนรู้ด้วย จากการเข้าสังเกตชั้นเรียน    นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวง PLC    ซึ่งที่โรงเรียนบ้านกะรุบีจัดสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง ในวันอังคาร (เช้า)  พฤหัส (บ่าย)  และศุกร์ (เช้า)     และมี PLC วงใหญ่ทั้งโรงเรียน (ครู ๑๘ คน) ในวันพฤหัสบ่ายสัปดาห์สุดท้ายของเดือน    โดยปล่อยนักเรียนกลับบ้าน   

การศึกษาชั้นเรียนหรือ Lesson Study ทำโดยทีม  ซึ่งประกอบด้วย



วันนี้จึงมีนักวิจัยในทีมมาเล่าบทบาทของตนด้วย คือ คุณสันติ บรรเลง  กับคุณจิตรลดา ใจกล้า  ที่เมื่อซักไซ้บทบาท    เราก็ได้รับทราบว่า  ครูทำหน้าที่วิจัยชั้นเรียนของตน (teacher as a researcher)     ส่วนนักวิจัยของสถาบันทำหน้าที่วิจัยบริบทการทำงานของครู (researcher as a teacher)    เพื่อเข้าไปเห็นข้อจำกัดของครูอันเกิดจากระบบ    ที่คุณสันติใช้คำว่า “ร่วมรู้สึก” กับครู     และผมเสนอว่า เป็นการ empathy ครู   

  เราได้รับทราบว่าใน ๕ จังหวัดภาคใต้มีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพโรงเรียนแนวสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่สนับสนุนโดยมูลนิธิชัยพัฒนา     มีโรงเรียนในเครือข่าย ๓๔ โรงเรียน    รร. บ้านกะลุบีอยู่ในเครือข่ายนี้ด้วย    นอกจากนั้น รร. บ้านกะลุบียังอยู่ในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพที่เขตการศึกษาตั้งขึ้น     รวมทั้งอยู่ในเครือข่ายของ กสศ. ซึ่งมีโรงเรียนในปัตตานีเข้าร่วม ๔ โรงเรียน   

เสียดายที่ผมไม่มีโอกาสถามเรื่องกิจกรรมพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้    ว่าดำเนินการไปอย่างไรบ้าง   

การนำเสนอและซักถามให้ความเห็นดำเนินไปอย่างสนุกสนาน ได้ความรู้เชิงลึกมากมาย    รวมเวลาที่ใช้กับทีม สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๓ ชั่วโมง     เหลือเวลา ๔๐ นาที สำหรับการนำเสนอและเสวนาเรื่องการประเมิน โดย ดร. วิริยะ ๔๐ นาที  

รูปแบบและวิธีการประเมิน (Outcome)   โดย ดร. วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์

หลักการสั้นๆ คือ ต้องการ learning outcome อะไร ให้วัดสิ่งนั้น    คือวัดให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้    ต้องพัฒนาวิธีวัดขึ้นมา โดยเน้นที่ reliability  และ validity แล้วค่อยๆ พัฒนาขึ้น   

การประเมิน (assessment) มี ๓ แบบ คือ

  • Formative assessment
  • Summative assessment
  • Diagnostic assessment  

โดยที่การวัดอาจวัด process   และวัด outcome    ท่านบอกว่าท่านได้ริเริ่มการวัด creativity   โดยวัด ๔ ด้านคือ fluency, flexibility, originality, elaboration   ตอนนี้ สพฐ. เน้น competency-based learning   จึงต้องวัด competency      

ผมได้เรียนรู้เรื่องน่าเศร้าจากวงเสวนาว่า    การเน้นผลงานที่ผลลัพธ์การสอบ ONET   มีผลให้จำนวนเด็กพิเศษเพิ่มขึ้นมาก   เพราะเด็กพิเศษไม่นับเข้าในผล ONET    จึงมีการเขี่ยเด็กเข้าไปในกลุ่มเด็กพิเศษ     ทำให้เด็กมีปัญหาการเรียนมากกว่าความเป็นจริง     เป็นการทำบาปกรรมแก่เด็กอย่างน่าเศร้า    มีการพูดกันว่า ให้ดูว่า เมื่อ ONET เพิ่ม    LD เพิ่มด้วยหรือไม่     หากเพิ่มด้วยกัน ผมเสนอว่า น่าจะลงโทษผู้บริหารโรงเรียนนั้น            

วิจารณ์ พานิช  

๒๑ ม.ค. ๖๓



1 บรรยากาศในห้องประชุม

2 อีกมุมหนึ่ง

3 ถ่ายครง

4 อ. ดร. เกษม เปรมประยูร มทษ. ผู้ประสานงานเครือข่าย ๕ จังหวัดภาคใต้

หมายเลขบันทึก: 675677เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2020 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2020 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I read and was reminded of a time long ago when I looked at ‘machine learning’. I looked at various ways to ‘make machines learn (and apply/adapt what they have learned’). The machines then were ‘dump computers’ with limited capabilities for i/o and memory. The same thinking is happening here in ‘children learning’. I do not see reference to ‘children’ and/or their parents. Are the children just ‘dump machines’? To be manipulated by ‘algorithms’? To learn with limited i/o and memory (by their trainers)?

We hear of one side effect of machine learning (by algorithm) that machines can learn to do something and do that well but nobody (including the machines themselves) can explain ‘how’ and ‘why’ they do ‘what’ (sequence of machine instructions) they do.

Let us hope our children can do better than machines.

I read and was reminded of a time long ago when I looked at ‘machine learning’. I looked at various ways to ‘make machines learn (and apply/adapt what they have learned’). The machines then were ‘dump computers’ with limited capabilities for i/o and memory. The same thinking is happening here in ‘children learning’. I do not see reference to ‘children’ and/or their parents. Are the children just ‘dump machines’? To be manipulated by ‘algorithms’? To learn with limited i/o and memory (by their trainers)?

We hear of one side effect of machine learning (by algorithm) that machines can learn to do something and do that well but nobody (including the machines themselves) can explain ‘how’ and ‘why’ they do ‘what’ (sequence of machine instructions) they do.

Let us hope our children can do better than machines.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท