ชีวิตที่พอเพียง 3603. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๓๖) เรียนรู้การศึกษาเชิงบวกจากฟินแลนด์


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕




วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ ผมไปร่วมประชุมเสวนาวิชาการนานาชาติด้านการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ของ กสศ. เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพครูและโรงเรียน บทเรียนจากประเทศฟินแลนด์”   โดยมีครู ไกซา โวริเนน (Kaisa Vuorinen) ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร Positive Learning Ltd. เป็นวิทยากร   วิทยากรท่านนี้มีประวัติน่าสนใจมาก ยังเป็นนักศึกษาปริญญาเอก แต่มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ได้รับรางวัลมากมาย  และได้รับการสนับสนุนให้ตั้งบริษัท Start-up ด้วย    อ่านได้ที่ (๑), (๒)

ผมได้รับมอบหมายให้เป็นประธานและผู้ดำเนินการอภิปราย    ตอนเปิดผมจึงเสนอต่อที่ประชุมว่า หลังจากคุณไกซานำเสนอเป็นเวลา ๔๕ นาทีแล้ว    จะเป็นเวลาอภิปรายทั่วไป ๗๕ นาที    ผมเสนอให้ใช้เวลาทำกิจกรรมที่เรียกว่า AAR หรือ reflection เพื่อนำความรู้และแรงบันดาลใจสู่เด็ก ห้องเรียนและโรงเรียน    ทำให้การประชุมนี้เกิด impact สู่การปฏิบัติได้จริง   โดยแต่ละท่านใช้เวลา ๑ - ๒ นาที    บอกว่าตนมาจากไหน ทำหน้าที่อะไร    มาร่วมกิจกรรมนี้แล้วได้ความรู้สำคัญอะไร   จะเอาความรู้นั้นไปทำอะไร    และต้องการการสนับสนุนหรือความร่วมมือจากผู้อื่น หรือจากหน่วยสนับสนุนอย่างไร

ถือเป็นการทดลองดำเนินการประชุมเพื่อยกระดับแรงบันดาลใจสู่การปฏิบัติ    เพื่อสร้างผลต่อโครงการ โรงเรียนพัฒนาตนเอง และโครงการ ครูรัก(ษ์) ถิ่นของ กสศ.  ที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนี้    

ครูไกซาบอกว่า การศึกษาฟินแลนด์มีคุณภาพดีเพราะไม่ได้สอนเด็กเพื่อสอบ    แต่สอนให้มีการพัฒนาครบด้าน    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งด้านวิชาความรู้ และด้านคุณลักษณะภายในของเด็ก    และการเรียนการสอนเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์    เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เป็นเป้าหมาย    โดยที่วิธีการเรียนรู้ (pedagogy) มีการวิจัยและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา    ตัวท่านวิจัยเรื่องจิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology)   พัฒนาเป็นวิธีการของการเรียนรู้เชิงบวก (positive learning)   

หลักการของการเรียนรู้เชิงบวก คือค้นหาส่วนดีในนักเรียนทุกคน    และใช้จุดแข็งนั้นเป็นคานงัด ให้การเรียนรู้เกิดง่ายขึ้น   โดยที่ส่วนที่ต้องเน้นคือทักษะสำคัญเพื่อชีวิตที่ดีในอนาคต    ที่ World Economic Forum 2018  ระบุ ๑๐ อันดับทักษะสำคัญไว้ดังนี้  (๑) การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน  (๒) การคิดวิเคราะห์  (๓) การคิดสร้างสรรค์  (๔) การจัดการบุคคล  (๕) การทำงานร่วมกับผู้อื่น  (๖) ความฉลาดทางอารมณ์  (๗) การประเมินและการตัดสินใจ  (๘) จิตบริการ  (๙) การเจรจาต่อรอง  (๑๐) ความยืดหยุ่นทางความคิด   

ซึ่งจะนำไปสู่จุดเน้นในหลักสูตร ในอนาคตเรื่อง  การแก้ปัญหา   ทักษะทางสังคม  ความคิดสร้างสรรค์  การทำงานเป็นทีม  ความวิริยะอุตสาหะ  ความมีวินัย  ความเห็นอกเห็นใจ   

ท่านบอกว่า วิธีการเชิงบวกที่ท่านคิดค้นขึ้นจะช่วยให้ครูสามารถสอนและประเมินทักษะทางสังคมและอารมณ์เหล่านี้ได้    

วิธีการเชิงบวกมีหลักการ ๕ ข้อ ดังนี้

  1. 1. ให้คำแนะนำป้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback)   
  2. 2. ใช้คำที่ให้พลัง (Strengths Language)   
  3. 3. ใช้พลัง (Use of Strength)
  4. 4. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationships)
  5. 5. ทำตามที่พูด (Walk the Talk)

นอกจากหลักการ   สิ่งสำคัญคือทักษะของครูในการสอดแทรกวิธีการและกลเม็ดเชิงบวกตามกลักการเข้าไปในการเรียนการสอนตามปกติ    ทำให้นักเรียนเรียนได้ดี เพราะช่วยให้นักเรียนมีสุขภาวะ (wellbeing)  มีจิตใจที่มีความสุข   

ท่านเสนอว่า มีทักษะ ๒๖ ประการที่จะต้องใช้วิธีการเชิงบวกพัฒนาให้แก่เด็ก ได้แก่  ความอ่อนน้อมถ่อมตน (modesty),  รักความงาม love of beauty),  กล้าหาญ (courage),  เมตตา (kindness),  อิทธิบาท (grit),  ทักษะทำงานเป็นทีม (teamwork),  ความระมัดระวัง (carefulness),  ความรัก (love),  ความอดทนมานะพยายาม (perseverance),  ให้อภัย (forgiveness),  อารมณ์ขัน (humor),  รักเรียน (love of learning),  มองกว้าง (perspective),  ซื่อสัตย์ (honest),  กตัญญูรู้คุณ (gratitude),  มีความหวัง (hope),  จิตบริสุทธิ์ (spirituality),  ภาวะผู้นำ (leadership),  ความเห็นอกเห็นใจ (compassion),  กำกับตนเอง (self regulation),  ยุติธรรม (fairness)       

ซึ่งผมคิดว่า วงการศึกษาไทย หรือแต่ละโรงเรียน น่าจะช่วยกันจัดทำรายการคุณลักษณะสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีในอนาคต  ที่จะส่งเสริมให้พัฒนาขึ้นในตัวเด็กของเรา     โดยดูตัวอย่างของครูไกซา แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือน    เพราผมคิดว่ายังมีคุณลักษณะสำคัญที่ไม่อยู่ในรายการข้างบน เช่น ความไม่เห็นแก่ตัว  การเห็นแก่ส่วนรวม  ความเสียสละ  ศรัทธาในความดีงาม  เป็นต้น   

 ผมคิดว่า หลัก ๕ ประการ  และรายการคุณลักษณะที่ต้องการสร้าง มีความสำคัญ    แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือวิธีการที่ครูใช้แบบเนียนอยู่ในชั่วโมงเรียน    ที่ครูไกซาปฏิบัติให้ดู ในช่วงเวลา ๑ ชั่วโมง ของการนำเสนอ    โดยการให้จับคู่ หรือจับสาม แชร์กันว่าตนมีจุดแข็งข้อใดใน ๒๖ ตัว    หรือให้ฝ่ายหนึ่งบอกอีกฝ่ายหนึ่งว่าเขามีจุดแข็งข้อใด จากพฤติกรรมอะไร     ในชั้นเรียนครูเอา ๒๖ ตัวฉายขึ้นจอ    มีตัวเข้ม ๒ ตัว  บอกนักเรียนว่าวันนี้ครูจะสังเกตจุดเด่น ๒ ตัวนี้ในนักเรียน    ระหว่างเวลาเรียน ครูคอยจ้องจับพฤติกรรมและบอกชั้นเรียนว่า สังเกตเห็นจุดแข็งด้าน ... (เช่น ความอดทนมานะพยายาม) ใน ดญ. ก  จากพฤติกรรม ...   

ในสังคมไทย เราใช้คำรวมๆ ว่า “ทำดี”     ซึ่งกว้างเกินไป    ต้องแจงย่อยลงไปอีก ว่าสิ่งที่ดีต่อตัวเด็ก และต่อการอยู่ร่วมกัน มีอะไรบ้าง    แล้วใช้วิธีการเชิงบวกส่งเสริมให้งอกงาม        

ได้กล่าวแล้วว่า เรื่องวิธีการเชิงบวกนี้ หัวใจอยู่ที่ความชำนาญของครู    ซึ่งแปลว่าครู (และพ่อแม่) ต้องฝึกฝน     ทักษะปฏิบัติเรื่องนี่มีรายละเอียดและละเอียดอ่อนมาก    และครูต้องรู้จักศิษย์เป็นรายคน    วิธีการแนวนี้มีระบุไว้ในหนังสือด้านการเรียนรู้ทุกเล่ม  เช่นการคำแนะนำป้อนกลับเชิงบวก  มีระบุใน สอนอย่างมือชั้นครู อยู่ที่หน้า ๒๙๗ – ๒๙๘,  ศาสตร์และศิลป์ของการสอน อยู่ที่หน้า ๑๗๗,   สอนนอกกรอบ ยุทธวิธีจับใจศิษย์  อยู่ที่หัวข้อ “ถ้อยคำที่ก้องอยู่ในหัวเด็ก” หน้า ๓๓ – ๓๘,   สอนเข้มเพื่อศิษย์ขาดแคลน กล่าวถึงความสัมพันธ์เชิงบวก ที่หน้า ๗๓ – ๗๘,     ปรับปรุงการสอนเล็กน้อย ได้ผลยิ่งใหญ่  กล่าวถึงภาษาแห่งความงอกงาม ในหน้า ๑๔๔ - ๑๔๕  เป็นต้น

จุดเด่นของครูไกซา คือ ท่านจับเอามากลั่นเป็น การเรียนรู้เชิงบวก และเสนอว่ามี  ๕ หลักการ โดยมีคำอธิบาย (ที่มีผลวิจัยยืนยัน) ดังนี้

  1. 1.  ให้คำแนะนำป้อนกลับเชิงบวก(Positive Feedback)    การได้รับคำแนะนำป้อนกลับสะท้อนว่าได้รับความเอาใจใส่    การได้รับคำแนะนำป้อนกลับเชิงบวก ช่วยยกระดับพื้นฐานทางอารมณ์    โดยที่เด็กทุกคนต่างก็ต้องการได้ชื่อว่ามีความสำเร็จ    ดังนั้นด้านดีหรือความสำเร็จเล็กๆ ของนักเรียนพึงได้รับการสังเกตเห็นและพูดออกมาดังๆ     คำแนะนำป้อนกลับเชิงบวกจากผู้ใหญ่เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้ และความสุขของเด็ก ช่วยการพัฒนาความมั่นใจตนเอง และพัฒนาอัตลักษณ์    การที่มีผู้ใหญ่เอาใจใส่ความก้าวหน้า และให้ positive feedback ช่วยให้เด็กมีกำลังใจในการเรียน  มีความมั่นใจตนเอง และเกิดอารมณ์บวก    ในทางตรงกันข้าม หากเด็กไม่ได้รับ feedback ก็แสดงว่าเขาไม่ได้รับความเอาใจใส่    เด็กจะรู้สึกเสมือนไร้ตัวตน ตนเองไร้ค่า และว้าเหว่      
  2. 2. ใช้คำที่ให้พลัง (Strengths Language)   
  3. 3. ใช้พลัง (Use of Strength)
  4. 4. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationships)
  5. 5. ทำตามที่พูด (Walk the Talk)

  

วิจารณ์ พานิช  

๕ ธ..ค. ๖๒

   

หมายเลขบันทึก: 674366เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2020 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2020 07:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท