ชีวิตที่พอเพียง 3688. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๔๕) วิจัยทางสังคม หาทางช่วยเด็กนอกระบบการศึกษา


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔


อนุสนธิจาก บันทึกที่ ๔๔   วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๓ วสศ. จึงนัดคุยกับ รศ. ดร. ลือชัย ศรีเงินยวง  คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล    เพื่อหารือแนวทางดำเนินการแบบ unconventional ในการช่วยเหลือเด็กนอกระบบการศึกษา    เพราะได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการบริหาร กสศ. ว่า    การเอาเงินไปหนุนหน่วยงานราชการให้เข้าไปช่วยเหลือเด็กนอกระบบการศึกษา ตามแนวทางแบบ conventional น่าจะได้ผลน้อย    กสศ. น่าจะหาทางทำงานแบบ unconventional  


 ดร. ไกรยส บอกว่าเด็กไทยในวัยที่ควรเรียนอยู่ในสถานศึกษาภาคบังคับ แต่ไม่ได้อยู่ ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า เด็กนอกระบบ มีอยู่ ๖.๗ แสนคน    โดยยูเนสโกแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ (๑) ไม่ได้เข้าโรงเรียน มีราวๆ ๒ แสนเศษๆ  (๒) ได้เข้าโรงเรียนแล้วออกกลางคัน  มี ๒ แสนเศษๆ เช่นกัน  (๓) เรียนจบ ม. ๓ แล้วไม่ได้เรียนต่อ มี ๒ แสนเศษเช่นกัน    โดยทาง กสศ. มีข้อมูลลงไปถึงรายบุคคล มีทะเบียนตัวเลข ๑๓ หลัก    และในรายที่เข้าเกณฑ์ “ยากจนพิเศษ” ก็ได้รับเงินช่วยเหลือ ปีละ ๓,๐๐๐ บาท     ที่ สกศ. ดำเนินการอยู่ เป็นการมองความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ด้วยแว่นทางเศรษฐศาสตร์ มองเชิง quantitative    ยังขาดมุมมองเชิงสังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ที่เป็น qualitative    จึงอยากขอปรึกษา ดร. ลือชัย  


ดร. ลือชัยมีประสบการณ์ทำงานวิจัยร่วมกับทั้งหน่วยราชการ และเอ็นจีโอ ในการช่วยเหลือเด็กที่ยากลำบาก    และพบว่าหน่วยราชการมีข้อจำกัดที่ความแข็งตัวในการทำงาน    ในขณะที่เด็กที่มีปัญหามีการเปลี่ยนแปลงสถานะไปเรื่อยๆ    ไม่ได้อยู่ในสภาพเดิมอยู่ตลอดเวลา    หน่วยงานที่ขาดความยืดหยุ่นจึงมีข้อจำกัดในการเข้าไปช่วยเด็กเหล่านี้   


ข้อจำกัดของหน่วยราชการคือ เอาภารกิจตามกฎหมายของตนเป็นตัวตั้ง     ทำให้เด็กจำนวนหนึ่งที่ต้องการความช่วยเหลือ ไม่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมาย    หากต้องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กเหล่านี้ให้ได้ผล ต้องเอาเด็กและบริบทที่เด็กเผชิญอยู่เป็นตัวตั้ง     


ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งคือ การดำเนินการแบบเป็นทางการ ยากที่จะได้รับความไว้วางใจ (trust) จากเด็กเหล่านี้    จึงเข้าไม่ถึงเด็ก   ดร. ลือชัยมีตัวอย่างชาวบ้านที่เข้าใจเด็กที่เป็นปัญหาสังคม ค่อยๆ ให้ความช่วยเหลือ   ค่อยๆ คุ้นเคยและไว้วางใจกัน    ช่วยให้กลุ่มเด็กค่อยๆ เปลี่ยนแปลงตนเองมาทำงาน และเป็นคนที่มีประโยชน์ต่อสังคม    


ฟังจาก ดร. ลือชัยแล้ว “เด็กนอกระบบ” น่าจะแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม    คือกลุ่ม hard core มีปัญหาหรือบาดแผลทางจิตใจและสังคมรุนแรง    กับกลุ่ม soft core ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มที่ กสศ. เข้าถึงผ่านระบบข้อมูล และระบบงานแบบ conventional ของราชการ  


เราตกลงกันว่า  ดร. ลือชัยจะเสนอโครงการวิจัยแบบ DE (Developmental Evaluation) เพื่อทำงานคู่ขนานไปกับมาตรการช่วยเหลือเด็กนอกระบบ   เป็นการรวบรวมข้อมูลและตีความเพื่อให้ทีมช่วยเหลือปรับตัว    และในขณะเดียวกันก็เกิดความรู้ความเข้าใจ root cause ของปัญหาของเด็กนอกระบบ    โดยทำเป็นชุดโครงการ ที่ ดร. ลือชัยดูภาพรวม  มีหัวหน้าโครงการย่อยตามพื้นที่ ที่ทำงานเกาะติดสถานการณ์จริง      


 ผมหวังว่า โครงการ DE แก้ปัญหาเด็กนอกระบบการศึกษา ของ ดร. ลือชัย     นอกจากจะนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือช่วยเหลือเด็กนอกระบบ    ที่จะทำให้มีการลดความเหลื่อมล้ำแล้ว    ยังน่าจะได้ข้อมูลป้อนกลับให้แก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง    ให้ปรับตัวทำงานสร้างผลกระทบได้ดียิ่งขึ้น    


วิจารณ์ พานิช  

๑๓ เม.ย. ๖๓


   

หมายเลขบันทึก: 677318เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2020 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2020 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท