ชีวิตที่พอเพียง 3679. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๔๔) PLC ลดความเหลื่อมล้ำ


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓




วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓ กสศ. นัดคุยเรื่อง PLC ลดความเหลื่อมล้ำ    เพื่อเก็บเกี่ยวผลงาน หรือ impact จากการลงทุนทำงานในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองและโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น   

ผมมีข้อสังเกตมานานแล้ว ว่าเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้โรงเรียนทำ PLC   จึงเกิด PLC ปลอม หรือ PLC แต่ชื่อขึ้นดาดดื่น    หากไม่เกรงใจกัน ผมเรียกกระทรวงนี้ว่า กระทรวงของปลอม    แต่วงเล็บไว้ด้วยว่า ในตมมีเพชรเสมอ

ทั้งสองโครงการข้างต้นของ กสศ. มีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา    มี Theory of Change ชัดเจน ว่าหากดำเนินการสองโครงการนี้ได้ผล จะเกิดการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ในระยะยาว

แต่ก็มีกรรมการในคณะกรรมการบริหารของ กสศ. ตั้งข้อสงสัยเสมอมา ว่าเงินที่ใช้ไปค่อนข้างมาก (แต่ผมว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเงินที่กระทรวงศึกษาธิการใช้ไปอย่างสูญเปล่า) นั้น ก่อผลตามที่อ้างจริงหรือ 

ผมจึงเสนอความคิดเล็กๆ ขึ้นว่า    ไหนๆ สำนักพัฒนาครูและโรงเรียน ก็มีโครงการทั้งสองที่เริ่มดำเนินการแล้ว     น่าจะค้นหา PLC ที่เห็นผลลดความเหลื่อมล้ำเล็กๆ    เอามาขยายผลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงครูและโรงเรียน ผ่าน PLC ที่ทรงพลัง จะดีไหม    

เป็นยุทธการระเบิดความเสมอภาคทางการศึกษาด้วย PLC   ซึ่งก็คือทำโดยครู    ยกระดับความมั่นใจของครูที่ใช้ PLC อย่างชาญฉลาด    โดยดูที่ผลต่อศิษย์ หรือร่องรอยว่าจะมีผลดีต่อศิษย์

โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ตั้งเป้าว่า ผลดีต่อศิษย์ที่ต้องการคือ ทักษะ ๕   คุณลักษณะ ๓   ได้แก่

ทักษะ ๕

  • คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา  และวิพากษ์อย่างมีวิจารณญาณ
  • คิดสร้างสรรค์
  • การสื่อสาร
  • ทักษะอาชีพ
  • ทักษะชีวิต

คุณลักษณะ ๓

  • มีวินัย
  • ซื่อสัตย์
  • มีจิตสาธารณะ

ผมชวนคุยวิธีการค้นหา PLC ลดความเหลื่อมล้ำ  โดยดู ๒ เงื่อนไข    คือ (๑) กระบวนการในวง PLC  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการ PDCA   และการบันทึกกิจกรรม     (๒) หลักฐานผลที่เกิดขึ้นต่อศิษย์     

วิธีค้นหา น่าจะทำหลายทาง ได้แก่

  • Search และเชื้อเชิญ   
  • ขอคำแนะนำจากผู้รู้จัก PLC คุณภาพสูง  และเชื้อเชิญให้ส่งหลักฐาน
  • ประกาศรับทาง cyberspace   แล้วคัดเลือก  

ขั้นตอนถัดไปคือ ตั้งวง Meta PLC    ชวนเชิญผู้แทนวง PLC ลดความเหลื่อมล้ำ ราวๆ ๒๐ - ๓๐ วง    มาหารือ ว่าจะจัดกิจกรรม EM PLC ลดความเหลื่อมล้ำ อย่างไรดี    EM ย่อจาก electronic meta    เป็น PLC ประเทศ  เพื่อหนุน PLC โรงเรียน   

ผมจินตนาการ (น่าจะเป็นรูปธรรมกว่าเพ้อฝันนิดหน่อย) ว่า    EM PLC น่าจะมี ๒ แบบ    คือ pure online  กับ F2F online    โดยที่ F2F online EM PLC อาจจัดเป็นรายการประจำเดือน กับรายการประจำสัปดาห์    ที่เป้าหมายและวิธีการแตกต่างกัน    และนำไปสู่ F2F Meta PLC   ที่น่าจะจัดเป็นรายภาค  และระดับประเทศ    ปีละครั้ง    ระดับประเทศเรียกว่า มหกรรม PLC ลดความความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา    

ข้างบนนั้น ผมเขียนก่อนการประชุม    ตอนประชุมสนุกมาก     เพราะ นพ. สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. เข้าร่วมคุยด้วย    และบอกว่า มีเวลาอีกปีเดียวก็จะถึงคราวประเมินผลงานของ กสศ. ครบ ๓ ปี    ที่จะต้องมี impact ของงานให้เห็น    ตรงกับที่ผมอารัมภบท    ว่า PLC ต้องเริ่มจากเป้า ซึ่งหมายถึงเป้าผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน    ที่ PLC ต้องทำโดยมีวิธีคิดแบบ PDCA (Plan – Do – Check – Act)    Plan หมายถึงการตั้งเป้าผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน    ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนจัดกระบวนการเรียนรู้    ตามมาสู่ Do คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้    และการประเมินผล (Check)    ตามด้วย Act คือการปรับปรุงยกระดับในทุกขั้นตอนของ PDCA   ในทุกขั้นตอนครูมารวมตัวกันเพื่อเอาข้อมูลมาร่วมกันตีความ  และคิดหาวิธีปรับปรุงยกระดับต่อเนื่อง   

 ผมตีความว่า สาระของการเสวนาช่วยให้มองเห็นลู่ทางดำเนินการหาหลักฐานว่า การมี กสศ. ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้จริง    โดย M-PLC ช่วยให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้    คุณหมอสุภกรอยากให้มีการใช้ big data analytics ช่วยด้วย   

โฟกัสเป้าหมายของการประชุม เปลี่ยนจาก PLC เป็น CLO (Core Learning Outcome) และการลดความเหลื่อมล้ำ     ซึ่งผมคิดว่าดีมาก    คือเปลี่ยนจากการโฟกัสที่ means มาโฟกัสที่ end/outcome   

สรุปว่าจะประชุมอีกครั้งหนึ่ง    เพื่อหารือการใช้ online PLC เป็นเครื่องมือยืนยันการริเริ่มสร้างสรรค์ระดับโรงเรียน  และระดับระหว่างโรงเรียน    ว่ารูปแบบใด วิธีการใด ที่ให้ผลดีต่อ CLO   ในลักษณะที่มีผลลดความเหลื่อมล้ำ     โดย กสศ. และภาคีเข้าไปสนับสนุนโครงการนำร่อง    สนับสนุนให้เกิด online platform ที่มีการจัดการเพื่อค้นหา effective PLC ที่ส่งผลต่อ CLO ของนักเรียน    ในลักษณะ holistic development       

คุณหมอสุภกร ให้ข้อมูลว่า เวลานี้ก็มีวง PLC บน FB อยู่แล้วหลายวง     มีครูส่งมาให้คุณหมอสุภกรเสมอมา    เช่นวง โรงเรียนที่ใช้ PLC    PLC แบ่งปัน    เป็นต้น    หากมีคนจัดการเข้าไปตรวจสอบว่าวงที่มีพลังจริงจังอยู่ที่ไหน ดำเนินการอย่างไร     เกิดผลกระทบต่อนักเรียนอย่างไร    คือใช้ยุทธศาสตร์ต่อยอด โดยเข้าไปศึกษาผลของ PLC ที่ทำกันอยู่แล้วต่อ CLO    ใช้ data science ช่วยด้วย    และน่าจะหาทางทำ Case Control Trial เทียบผล CLO ระหว่างนักเรียนของครูที่ดำเนินการ PLC จริงจัง    กับนักเรียนที่เป็น control    เราก็จะสื่อสารมาตรการการจัดการเรียนการสอนที่ให้ high impact ต่อ CLO ได้       

ผมเอาบันทึกเสียงการประชุมมาฟังอีกครั้งหนึ่ง    และเกิดความคิดว่า กระบวนการ M-PLC น่าจะมีผลสำคัญยิ่งต่อกระบวนทัศน์ว่าด้วยการเรียนรู้ของครู    ว่าร้อยละ ๙๐ ของการเรียนรู้ของครูต้องได้จากการปฏิบัติงานของตนเอง    ที่เป็น “การเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติแล้วคิด” ของครู         

ที่สำคัญ จะได้แนวทางดำเนินการ PLC  ที่ส่งผลสูงต่อ CLO ของนักเรียน  

เรานัดประชุมทางไกลในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ในบ่ายวันที่ ๑๖ เมษายน

วิจารณ์ พานิช  

๓๑ มี.ค. ๖๓


   

หมายเลขบันทึก: 677048เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2020 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2020 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท