การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย



วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๓ ผมร่วมประชุมทางไกลของสภา มช.   มีวาระเรื่อง ข้อบังคับว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ผลงานวิจัย และนวัตกรรม    การอภิปรายของกรรมการให้ความกระจ่างในประเด็นคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา ว่ามีคุณค่าใหญ่ๆ ๒ ด้าน    คือด้านวิชาการ (ซึ่งเป็น public ownership) กับด้านธุรกิจหรือการหารายได้ (ซึ่งเป็น private ownership)    จริงๆ แล้วข้อบังคับที่กำลังพิจารณาในที่ประชุมนี้มีจุดมุ่งหมายที่ผลประโยชน์ด้านรายได้    แต่ต้องระวังว่าข้อบังคับไม่ก่อความยุ่งยากต่อการนำไปใช้ทางวิชาการ     

 ในการประชุมมีคนชี้ว่า ในสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่ ต้องการสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์และนักวิชาการทำงานสร้างสรรค์    ที่อาจมี commercial value   การออกข้อบังคับจึงต้องระมัดระวังอย่าให้อาจารย์และนักวิจัยรู้สึกว่าถูกควบคุม    แต่ให้รู้สึกว่าข้อบังคับช่วยสนับสนุนการทำงานวิชาการของตน    ว่าหากเกิดคุณค่าทางธุรกิจ อาจารย์จะมีส่วนได้รับประโยชน์    ซึ่งในร่างข้อบังคับนี้ได้รับครึ่งหนึ่งของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

สำหรับผม เห็นได้ชัดเจนว่า ข้อบังคับนี้เขียนด้วยภาษากฎหมาย    ในทางปฏิบัติฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยจึงต้องนำข้อบังคับนี้ไปแปลเป็นภาษาสำหรับนักวิชาการ    ชี้ให้เห็นว่าข้อบังคับนี้จะเอื้อประโยชน์แก่อาจารย์และนักวิจัยอย่างไรบ้าง    โดยอาจารย์และนักวิจัยต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง    โดยเฉพาะการเปิดเผยผลงานต่อมหาวิทยาลัย ก่อนนำไปเปิดเผยที่อื่น    ซึ่งจะมีผลให้ตนเองขาดสิทธิทางปัญญาในผลงานนั้น     

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มี.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 677047เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2020 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2020 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท