ชีวิตที่พอเพียง 3677. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๔๒) ประเด็นสำคัญที่ต้องย้ำต่อโรงเรียนในโครงการ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง”


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

จากบันทึกที่ ๓๙ - ๔๑ ใจของผมยังครุ่นคิดหาวิธีหนุนโครงการ “โรงเรียนพัฒนาตนเอง”    ว่าหากผมมีโอกาสสัมผัสกับผู้บริหารและครูในโครงการนี้ ผมควรกล่าวย้ำประเด็นอะไรบ้าง   

จึงขอคัดลอก PowerPoint ของโครงการนี้มาเล่าดังนี้





ทำให้ผมคิดว่า    ผู้เกี่ยวข้องในโครงการนี้ พึงมีสติพุ่งความสนใจไปที่การปรับปรุงหลักๆ ๖ ประการ ตามหลัก 6 Super Factors ที่ส่งผลต่อการเรียนของนักเรียน    ตามผลการวิจัย Meta-analysis ของทีม John Hattie คือ    (๑) ครูรู้ศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน   (๒) พลังร่วมของครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียน    (๓) นักเรียนมีส่วนประเมินผลการเรียนของตนเอง    (๔) การเรียนรู้ตามวัยหรือระดับพัฒนาการ  (๕) การเรียนการสอนเปลี่ยนหลักคิด (เปลี่ยนจากครูสอนความรู้สำเร็จรูป – passive learning มาเป็นนักเรียนปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ของตน – active learning)   (๖) การดูแลแก้ไขปัญหาตามความเสี่ยงของนักเรียนแต่ละคน     ผมจึงบอกตัวเองว่า เมื่อไรที่ผมไปสัมผัสโรงเรียนเหล่านี้ ผมจะถามการดำเนินการตาม ๖ ข้อนี้   

 ที่ต้องย้ำมากคือข้อ ๒ พลังร่วมของครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียน    ซึ่งควรขยายวงออกไปถึงผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำในชุมชนด้วย    โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น     หากโรงเรียนดำเนินการดี    ได้รับศรัทธาจากชุมชน    ผู้มีฐานะหรือบริษัทธุรกิจในพื้นที่ก็ยินดีบริจาคอุปกรณ์การศึกษาให้    เพราะเขารักเด็กของเขา     การศึกษาสมัยนี้ต้องการอุปกรณ์สำหรับเด็กใช้ทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้    ซึ่งควรเลือกใช้ที่ราคาไม่แพง  ปรับปรุงพัฒนาจากวัตถุดิบในพื้นที่   

ย้ำเรื่องการเปิดพื้นที่ในโรงเรียนให้บุคคลหรือภาคีภายนอกเข้ามาร่วมพัฒนา ซึ่งรวมทั้งการเข้ามาเป็น co-educator   กระตุ้นความสนใจใคร่รู้ของนักเรียน    เชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจโอกาสการประกอบอาชีพในอนาคต    ให้นักเรียนได้ค้นพบเป้าหมายในชีวิตของตนเอง    รวมทั้งช่วยทำหน้าที่ content expert    เช่นเมื่อนักเรียนต้องการทำโครงงานเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ยา ผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นเภสัชกร หรือประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอย่างอื่น อาจช่วยเป็น content expert แนะนำวิธีค้นและตรวจสอบความแม่นยำถูกต้องของข้อมูลให้แก่นักเรียน      

บทบาทของนักเรียนก็ตีความเพิ่มเติม หรือขยายความ ได้อีกมาก    ไม่ใช่แค่เพียงมีส่วนประเมินการเรียนของตนเอง     คำถามสำคัญที่สุดคือ “นักเรียนคือใคร?”    คำตอบที่ผิดคือ “นักเรียนมาโรงเรียนเพื่อมารับถ่ายทอดความรู้จากครู”    ในขณะที่คำตอบที่ถูกต้องคือ “นักเรียนมาเรียนรู้ที่โรงเรียนเพื่อพัฒนาตนเองครบทุกมิติ โดยทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน โดยครูทำหน้าที่โค้ช”    นักเรียนต้องเป็น “ผู้กระทำ” (agent) เพื่อการเรียนรู้ หรือพัฒนาการ ครบทุกด้าน ของตน    นักเรียนต้องไม่ใช่ “ผู้ถูกครูกระทำ” อย่างที่ยึดถือกันในอดีต   

วิจารณ์ พานิช  

๒๘ ก.พ. ๖๓

บนรถยนต์ เดินทางไปประชุมที่สถาบันอาศรมศิลป์

   

หมายเลขบันทึก: 676799เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2020 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2020 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท