ชีวิตที่พอเพียง 3703. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๔๘) โครงการพัฒนาทักษะอาชีพแก่เยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗




ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๓    มีการเสนอโครงการพัฒนาทักษะแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี ๒๕๖๓    ที่เมื่อนำเสนอจบ ผมเสนอให้เปลี่ยนชื่อโครงการ เป็นโครงการพัฒนาทักษะอาชีพ ไม่ใช่พัฒนาทักษะแรงงาน    เน้น entrepreneurship และการแก้ปัญหาของชุมชน    คือเน้นดำเนินการหนุน (empower) ให้เยาวชนด้อยโอกาส และคนยากจนในชุมชน กลายเป็น change agent ของชุมชน    เป็นยุทธศาสตร์ “หนามยอกเอาหนามบ่ง” คือใช้ผู้ด้อยโอกาสจากระบบสังคมที่ไม่เสมอภาค  เป็นผู้แก้ปัญหาสังคม     

คุณธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ เสนอรายละเอียดของโครงการ    ที่ดำเนินการร่วมกับหน่วยพัฒนาอาชีพ ๗๑ แห่ง  ในกว่า ๗๔ ตำบล  ๔๒ จังหวัด    ดำเนินกับคนด้อยโอกาส ๖,๐๕๕ คน    ประกอบด้วยแรงงานนอกระบบร้อยละ ๓๖   ผู้ว่างงานร้อยละ ๑๘   เยาวชนในสถานพินิจร้อยละ ๙   การดำเนินการเน้นการสร้างโอกาส  สร้างงาน  สร้างชุมชน   

ผมชื่นชมเป้าหมายของโครงการที่มีหลายชั้น    และเป็นขั้นๆ รวม ๗ ขั้น    โดยในปีแรกเป้าหมายขึ้นมาถึงขั้นที่ ๕ ตามแผนผัง





ที่น่าชื่นชมมากสำหรับผมคือการออกแบบดำเนินการเพื่อให้ “หน่วยพัฒนาอาชีพ” มีการทำงานเป็นเครือข่าย    และเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรวมกลุ่มเป็น “ผู้ประกอบการขนาดเล็ก”    ไม่ใช่พัฒนาไปเป็นลูกจ้าง   

ตัวอย่างความสำเร็จของโครงการที่น่าชื่นชมยิ่ง  เป็นตัวอย่างเยาวชน และประชาชนกลุ่มแรงงานนอกระบบ ทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้แก่ กลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ ที่หนุนโดย อบต. หนองสนิท จ. สุรินทร์ มีคนด้อยโอกาสเป็นสมาชิกกลุ่มด้วย (๑)     สามารถผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์คุณภาพสูงและผลิตได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ส่งไปจำหน่ายในร้าน Tops ได้ ภายใต้  แบรนด์ หนองสนิท    ชุมชนรือเสาะ จ. นราธิวาส ดำเนินการ วิสาหกิจชุมชน แฮนด์ อิน แฮนด์  ทำธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้า  เมื่อโควิด ๑๙ ระบาด ก็หันมาผลิตหน้ากากอนามัย (๒)   

ทีมงานของ กสศ. บอกว่า ตลาดแรงงานไทยในปี ๒๕๖๑ มี ๓๘.๓ ล้านคน    เป็นแรงงานนอกระบบ ร้อยละ ๕๕.๔  หรือ ๒๑.๒ ล้านคน    นี่คือกลุ่มเป้าหมายของแผนงานนี้    ซึ่งผมมองว่าดีมากที่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา มองเป้าหมายกว้าง    มอง “การศึกษา” เป็น “การเรียนรู้”    มองความเสมอภาคด้านการเรียนรู้ครอบคลุมคนวัยทำงานด้วย    นี่คือมุมมองที่ทันสมัยน่ายกย่องมาก   

การที่ทีมงานของ กสศ. มุ่งพัฒนาผู้ด้อยโอกาสเป็น “ผู้ประกอบการ” (รายย่อย)    และเน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการ หรือนายจ้างของตัวเอง ด้วย     แทนที่จะเน้นเฉพาะการเป็นแรงงาน หรือลูกจ้าง     เป็นเรื่องที่น่ายกย่องมาก     และน่าจะพิจารณายกระดับการดำเนินงานโดยใช้หลักการที่ชัดเจนยิ่งขึ้น    และอาจใช้กระบวนทัศน์ที่ unconventional ยิ่งขึ้น   

แนวคิดและวิธีการที่น่าพิจารณาคือ แนวคิดเศรษฐศาสตร์เพื่อความเท่าเทียม ของ Mohammad Yunus ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ที่เขียนไว้ในหนังสือ A World of Three Zeros : A New Economics of Zero Poverty, Zero Unemployment, and Zero Carbon Emission ที่ผมตีความบันทึกไว้ที่ (๓)    หนังสือ Building Social Business : The New Kind of Capitalism that Serves Humanity’s Most Pressing Needs (2010)  ที่ผมตีความบันทึกไว้ที่ (๔)     และตามหนังสือแปล สิ่งใดเล่าทำให้เราเป็นมนุษย์ที่ผมตีความบันทึกไว้ที่ (๕)

สรุปได้ว่า การแก้ปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาส ความเหลื่อมล้ำ ให้บรรลุผลสำเร็จ และยั่งยืน ต้องใช้หลักการทุนนิยมแบบใหม่ที่เอื้อโอกาสให้คนยากจนเป็นผู้ประกอบการ ปลุกความดีงามในคนด้อยโอกาสออกมากระทำการ    โดยเทคนิควิธีการปลุกอยู่ในหนังสือ สิ่งใดเล่าทำให้เราเป็นมนุษย์    ซึ่งหลักการใหญ่คือเทคนิค empowerment            

วิจารณ์ พานิช  

๑ พ.ค. ๖๓  วันแรงงาน


   

หมายเลขบันทึก: 677642เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2020 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2020 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท