ชีวิตที่พอเพียง 3728. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๕๓) โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นเดินหน้าต่อ


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น (๑) รุ่นที่ ๑ ได้ตัวผู้รับทุนรุ่นแรกแล้ว ๓๒๘ คน    กำลังดำเนินการทำสัญญารับทุน    และเปิดเรียนวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๓    คนเหล่านี้ถือได้ว่าได้รับการสนับสนุนดียิ่ง เพราะได้ทั้งค่าใช้จ่ายประจำเดือน (เดือนละ ๖,๐๐๐ บาท)  ค่าธรรมเนียมการศึกษา    ค่าหอพัก  และค่าอุปกรณ์ประกอบการเรียน (เดือนละ ๒,๐๐๐ บาท)  

ส่วนรุ่นที่ ๒   จะรับนักศึกษา ๓๐๑ คน    อยู่ระหว่างประกาศรับข้อเสนอจากสถาบันผลิตครู    เพื่อเป็นสถาบันดำเนินการผลิต    โดยมีเกณฑ์คุณสมบัติที่ใช้คัดเลือก ๗ ประเด็น   วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ได้จัด online workshop แก่สถาบันที่สนใจ     มีสถาบันผลิตครูสนใจมาก    

ผมจึงถามทีมงานเรื่องเทคนิคให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ สำหรับใช้ในการตัดสินใจเลือกสถาบันผลิตครูมาเข้าโครงการรุ่นที่ ๒   เพื่อให้โครงการนี้มีการผลิตครูคุณภาพสูงจริงๆ    เห็นได้ขัดเจนว่า การที่ทีมงานและคณะผู้ทรงคุณวุฒิลงพื้นที่มีประโยชน์มาก    แต่ทีมงานก็ต้องระมัดระวังไม่หลงเชื่อผักชี    โดยต้องไปขอดูหรือพบบุคคลที่สะท้อนคุณภาพของสถาบันอย่างแท้จริง     การเสวนาในที่ประชุมคณะอนุกรรมการ สะท้อนการจัดการโครงการที่มีความระมัดระวังสูงมาก 

มีการเสนอชื่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ๒๒ ท่าน   ที่จะลงพื้นที่ และให้ความเห็นต่อการคัดเลือกสถาบันผลิตรุ่นที่ ๒    สำหรับให้คณะอนุกรรมการกำกับทิศทางเป็นผู้ตัดสิน   

โครงการนี้ไม่ใช่แค่ผลิตครูตามหลักสูตรปกติ    แต่สถาบันผลิตต้องจัด enrichment program เพื่อเตรียมความพร้อมไปทำงานในสถานที่ห่างไกล    และทำงานร่วมกับกลไกพัฒนาชุมชนในพื้นที่ด้วย   

นี่คือบันทึกจากการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับทิศทางของโครงการ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๓    ที่ผมเข้าร่วมประชุมผ่าน ซูม    ในฐานะที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการ    

วิจารณ์ พานิช

๒๗ พ.ค. ๖๓


   

หมายเลขบันทึก: 678160เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2020 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2020 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท