ความจำใช้งานและทักษะการคิดในวัยรุ่น



ผมสนใจเรื่องความจำใช้งาน (working memory) มานาน    เมื่อพบบทความเชิงข่าว A child’s brain activity reveals their memory ability (1) จึงสนใจมาก    ได้ตามไปอ่านรายงานต้นฉบับเรื่อง Behavioral and neural signatures of working memory in childhood (2) ซึ่งเขาให้อ่านเฉพาะบทคัดย่อ    แต่ก็ทำให้ได้รู้จักโครงการ ABCD (Adolescent Brain Cognitive Development study)  ซึ่งเป็น longitudinal cohort study ที่กำลังดำเนินการอยู่ ศึกษาเด็กอายุ ๙ - ๑๑ ปี จำนวน ๑๑,๕๐๐ คน    และจะศึกษาต่อเนื่องไปอีก ๑๐ ปี    เพื่อทำความเข้าใจพัฒนาการของสมองวัยรุ่น

เขาบอกว่า ผลการศึกษาเชิงพฤติกรรม บอกว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง ความจำใช้งาน  ความจำระยะสั้น  ทักษะด้านภาษา  และความเฉลียวฉลาด    รายงานนี้เป็นผลการวิจัยตรวจจับสัญญาณของความจำใช้งานในสมอง โดยใช้เครื่อง fMRI (functional magnetic resonance imaging) เมื่อให้ผู้ถูกทดลองทำงานที่ต้องใช้ความจำใช้งาน   

การทดลองนี้มีความซับซ้อน    เพราะกิจกรรมที่เขาให้ผู้ถูกทดลองทำมี ๓ แบบคือ แบบกระตุ้นอารมณ์  แบบยับยั้งใจ  และแบบยั่วรางวัล เพื่อดูการทำงานของสมอง    และดูพัฒนาการของสมอง และพัฒนาการของพฤติกรรม   

สมองส่วนที่ทำหน้าที่ความจำใช้งานอยู่บริเวณ fronto-parietal    คนที่ความจำใช้งานดี สัญญาณในสมองเข้ม    เป็นเด็กที่เรียนรู้เร็ว เก่งด้านภาษา และการแก้ปัญหา     สัญญาณการทำงานของสมองแตกต่างกันเมื่อทำงานต่างแบบ   

นี่คือขอบฟ้าใหม่ของการทำความเข้าใจการทำงานของสมองส่วนที่สำคัญยิ่ง คือส่วนความจำใช้งาน ที่ต้องศึกษาระยะยาว  ดูพัฒนาการของสัญญาณสมอง เทียบกับพัฒนาการของพฤติกรรม

วิจารณ์ พานิช

๒๗ พ.ค. ๖๓  วันเกิดของท่านพุทธทาส


หมายเลขบันทึก: 678159เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2020 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2020 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท