ชีวิตที่พอเพียง 3723. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๕๒) ผลกระทบที่เกิดขึ้น จากโครงการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

โครงการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง หรือที่เรียกย่อๆ ว่าโครงการ sQip ริเริ่ม (ปี ๒๕๖๐) โดย สสค. ขอรับทุนจาก สกว. ก่อนที่ สสค. จะแปลงร่างเป็น กสศ.   และ สกว. แปลงร่างเป็น สกสว.    ผมเคยบันทึกเรื่อง sQip ไว้ที่ (๑)    และชมวิดีทัศน์บอกแนวความคิดก่อตั้งโครงการ sQip (โดย นพ. สุภกร บัวสาย) ได้ที่ (๒)    ชมแล้วท่านจะเห็นว่าเป็นโครงการ empower โรงเรียน    และผมขอเพิ่มเติมว่า โครงการนี้มีการดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (๓) ของ กสศ.

  อ่านบันทึกของผมใน (๑) แล้ว จะเห็นว่าระบบการศึกษามีความซับซ้อน (complex) มาก    เมื่อเอาหลักการและอุดมการณ์ตามใน (๒) ไปปฏิบัติจริง    จะเห็นว่าการณ์ไม่ราบรื่นอย่างที่คิด    เรื่องนี้ผมมีข้อคิดเห็น แต่จะยกไว้ก่อน    ขอตัดผ่านเวลา ๓ ปี  เล่าเรื่องความสำเร็จที่น่าชื่นชม   

วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓  สกสว. จัดการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาร่างรายงานฉบับสมบูรณ์โครงการ การถอดบทเรียนโรงเรียนในโครงการวิจัยปฏิบัติการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง   ผมได้รับเชิญเข้าร่วมด้วย โดยผมเข้าประชุมทางไกล   และจ้องหา ๔ สิ่งเปลี่ยนแปลง  ๔ ผลลัพธ์ ตามในบันทึก (๔) 

๔ สิ่งเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังได้แก่ (๑) นักเรียน ไม่หนีเรียน เพลิดเพลินกับการเรียนรู้ (๒) ผู้บริหาร มีข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอน (๓) ครู ลดภาระธุรการ มีเวลาใส่ใจกับนักเรียน (๔) ชุมชน มีส่วนร่วม ในการพัฒนาการเรียนการสอน และฝึกอาชีพ   ๔ ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ (๑) ผลลัพธ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น (๒) โอกาสชีวิต / อาชีพ สูงขึ้น (๓) ครู/ผอ. มืออาชีพ (๔) ชุมชนศรัทธาเชื่อมั่นในโรงเรียน

แต่เมื่ออ่านรายงานที่มีความหนากว่า ๒๕๐ หน้าแล้ว ผมจับประเด็น ๔ สิ่งเปลี่ยนแปลง  และ ๔ ผลลัพธ์ ไม่ค่อยได้    หรือจับได้ไม่ชัด    ยิ่งประเด็นที่ผมอยากรู้ว่า โรงเรียนที่ดำเนินการได้ดีทำได้อย่างไร    ก็หาคำตอบไม่พบ     ที่จับได้คือ โรงเรียนไม่ได้มีความมุ่งมั่นของตนเอง  และโครงการ sQip ไม่ได้เข้าไปเสริมความมุ่งมั่นนั้น    แต่เอาโครงการ sQip ไปลงที่โรงเรียน     ผมอยากเห็นความสัมพันธ์ระหว่างทีม Q-Coach กับทีมโรงเรียนที่สลับบทบาทกับที่สังเกตเห็น    คืออยากเห็นทีมงานของโรงเรียนเป็นฝ่ายรุก ทีม Q-Coach เป็นฝ่ายสนอง    เพื่อการบรรลุ Q-Goal ของโรงเรียน   ที่ทีมโรงเรียนมุ่งมั่นทำเพื่อบรรลุ  

ผมจึงอ่านรายงานผลการวิจัยเพื่อเตรียมคำถามไว้ล่วงหน้า     เอาไปถามในที่ประชุม    เพื่อหาทางสะกัดผลสำเร็จที่น่าชื่นชม    และข้อเรียนรู้สำคัญ เอามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้   

โครงการถอดบทเรียนนี้เป็นโครงการวิจัย    ทีมงานจึงเขียนรายงานแบบรายงานการวิจัยเต็มรูปแบบ    มีการระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัย    ขอบเขตของการวิจัย    และผลที่คาดว่าจะได้รับ    โดยมีผลที่คาดว่าจะได้รับ ๓ ข้อ    มีผู้รับ ๓ กลุ่มดังนี้  (๑) สกว. และ กสศ. มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าโครงการ sQip ได้ผล    และมีชุดวิธีการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน   (๒) สพฐ. ได้โรงเรียนต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพตนเอง สำหรับนำไปขยายผล   (๓) นักวิจัยทางการศึกษาได้แนวทางการวิจัยและพัฒนาคุณภาพโรงเรียน  

รายงานนี้ไม่ได้ระบุผลที่คาดหวัง ๓ ข้อข้างบน    แต่ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ๗ ข้อคือ (๑) จัดทำแผนที่โรงเรียนบนฐานข้อมูลของความทั่วถึงและเท่าเทียมทางการศึกษา  (๒) นำวงจร DALI (Design, Act, Learn, Improve) ไปใช้บริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ  (๓) พัฒนาเครือข่ายโรงเรียน  (๔) สร้างชุมชนเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู  (๕) บริหารจัดการองค์กรบนฐานสารสนเทศ  (๖) ปลูกฝังทักษะการชี้แนะ (coaching) ให้แก่นักการศึกษาทุกระดับ และทุกกลุ่มงาน  (๗) กระตุ้นการพัฒนานวัตกรรมจากพื้นที่ และใช้แนวคิดนวัตกรรมแบบเปิด  

ผมเตรียมไปถามทีมวิจัย ตามผลที่คาดหวัง ๓ ข้อ   และตามข้อเสนอแนะ ๗ ข้อข้างบน   

เมื่ออ่านรายงานเล่มนี้จบ   ข้อสรุปสำคัญที่สุดสำหรับผมคือ ต้องปฏิรูปการศึกษาเพื่อการผลิตครูเสียใหม่    ให้ผลิตครูที่มีวิญญาณครู และมีทักษะการเป็นครูในยุคใหม่    และที่สำคัญที่สุด พัฒนาความเป็น “ผู้กระทำ” (agent) ขึ้นในตัวคนที่จะเป็นครู    ซึ่งหมายความเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น (determination) ต่อการทำหน้าที่ครู    การเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น และลงมือทำนี้ จะถ่ายทอดไปยังศิษย์    ช่วยให้ประเทศไทยได้มีพลเมืองที่มีคุณภาพสูง     

ในช่วงการประชุม ๓ ชั่วโมง มีการนำเสนอและอภิปรายลงรายละเอียดมาก    และผมคิดว่า การประชุมติดกับดัก “การวิจัยถอดบทเรียน”    ผมอยากเห็นการถอดบทเรียนที่ไม่เน้นวิจัย แต่เน้นสรุปบทเรียนเอาไปใช้ประโยชน์มากกว่า    จึงใจชื้นที่มีการสรุปว่าจะมีการรวบรวมบทเรียนสำหรับนำไปใช้จัดการการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน เป็นหนังสือเล่มเล็ก  

บทเรียนสำหรับผมคือ ชีวิตจริงของครูและโรงเรียนมีความซับซ้อนมาก    และครูดูจะอยู่กับความลวงด้านโครงการพัฒนาโรงเรียนจนชาชิน    ตราบใดที่เราไม่ให้เกียรติและไว้วางใจครู    การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะเป็นไปได้ยาก

วิจารณ์ พานิช

๑ มิ.ย. ๖๓

       

   

หมายเลขบันทึก: 678070เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2020 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2020 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท