ชีวิตที่พอเพียง 3733. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๕๔) หัวใจของการพัฒนาโรงเรียน


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

ผมได้แรงบันดาลใจในการเขียนบันทึกนี้ จากการเข้าร่วมประชุมชี้แจงโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ระยะที่ ๒    ต่อทีมพี่เลี้ยงของโครงการ ๕ ทีม เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๓    โดยผมประชุมทางไกลจากบ้าน  

ผมได้เขียนตีความคุณค่า และหลักการจัดการโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองไว้ที่ (๑) บันทึกนี้เป็นการตอกย้ำความเชื่อของผม เกี่ยวกับการจัดการเพื่อให้โครงการนี้ก่อผลกระทบต่อการฟื้นพลังการศึกษาไทย ได้อย่างแท้จริง    โดยใช้การดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาการศึกษาไทยในระดับ root cause

ปัญหาการศึกษาไทย ต้องการการแก้ไขในระดับ Root cause    หรือเปลี่ยนโฉมใหม่ (transformation) ไม่ใช่ปะผุ (repair)

ที่จริงการประชุมนี้ เป็นการสื่อสารหลายทาง    คือเป็นการปรึกษาหารือกัน    การชี้แจงเป็นเพียงส่วนหนึ่ง    ทำให้เป็นการประชุมที่ให้ความรู้มาก  

ผมตีความจากถ้อยคำที่เสวนากัน    โดยพยายามตีความในมิติที่ลึก    และนำมาบันทึกสื่อสารไว้     โดยไม่ยืนยันว่าการตีความของผมจะถูกต้อง   

ผมตีความว่าหากจะให้การศึกษาไทยมีคุณภาพสูง     ต้องส่งเสริมให้โรงเรียนคิดเป็นและกล้าคิด   เป็นองค์กรที่เรียนรู้จากการทำงานของตน    ซึ่งหมายความว่า ครูและผู้บริหารโรงเรียน เป็นบุคคลเรียนรู้    เรียนรู้จากการทำงานของตน    เรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติ ตามด้วยการใคร่ครวญสะท้อนคิด    นำประเด็นเรียนรู้นั้นมาปรับปรุงงาน    เพื่อยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง  

ดังนั้น การดำเนินการของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ในทุกกิจกรรม ทุกขั้นตอน ต้องใคร่ครวญก่อนเสมอว่า    จะช่วยส่งเสริมหรือลดทอน ความเป็นตัวของตัวเองของโรงเรียน    จะช่วยส่งเสริมหรือลดทอน ความกล้าคิดกล้าลอง ของโรงเรียน     โดยที่ความกล้าคิดกล้าลองนั้น ทำเพื่อยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน    ไม่ใช่ทำเพื่อผลประโยชน์แอบแฝงใดๆ   

รายงานของธนาคารโลก World Development Report 2018  บอกว่า ในระบบการศึกษาของประเทศที่คุณภาพการศึกษาต่ำ และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสูง (อย่างประเทศไทย)    มีผลประโยชน์แอบบแฝงอยู่ในระบบสูงมาก    ผมตีความออกเผยแพร่ในบันทึกชุด สู่การศึกษาคุณภาพสูง            

หลายท่านอาจถามว่า โรงเรียนคิดเป็นด้วยหรือ  ในเมื่อมันไม่ใช่สิ่งมีชีวิต     คำตอบอยู่ในหนังสือ Big Mind : How Collective Intelligence Can Change Our World (2018)    และผมตีความมา ลปรร. ในบันทึกชุด ความฉลาดรวมหมู่  

วิจารณ์ พานิช

๒๗ พ.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 678273เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2020 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2020 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท