ชีวิตที่พอเพียง 3811 ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๖๗) ดัชนีบอกความเป็นตัวของตัวเอง ของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

ในการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ ของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ของ กสศ. เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๓ ผมได้โอกาสเปรียบเทียบว่า ทีมพี่เลี้ยงแต่ละทีม (มี ๕ ทีม) ดำเนินการเกิดผลให้โรงเรียนเป็นตัวของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไร

เกณฑ์ของการที่โรงเรียนเป็นตัวของตัวเองอยู่ที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทีมพี่เลี้ยงกับทีมโรงเรียน   และอยู่ที่พฤติกรรมของทีมงานภายในโรงเรียนเอง    โดยที่เป้าหมายของการเป็นตัวของตัวเองคือ การพัฒนานักเรียนอย่างครบด้าน ให้เกิดการเรียนรู้ระดับ mastery หรือระดับรู้เชื่อมโยง    โดยที่ทางโรงเรียนมีท่าทีของการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง จากการมี Growth Mindset   

ผมอยากเห็นทีมจัดการโครงการนี้ที่นำโดย อ. อ้อย เพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์  ร่วมกับทีมประเมิน นำโดย รศ. ดร. พิณสุดา สิริธรังศรี หาทางพัฒนาดัชนีบอกความเป็นตัวของตัวเองของโรงเรียนแต่ละแห่ง    มีตัวชี้วัดสักไม่เกิน ๑๐ ตัว ให้โรงเรียนใช้เป็นสติกำกับพฤติกรรมของตนเอง    แล้วลองหาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีความเป็นตัวของตัวเองของโรงเรียน กับ Effect Size ของการยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนทั้งโรงเรียน    งานนี้เอาไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติได้สบาย   

ผมลองค้น กูเกิ้ล ด้วยคำว่า self-reliance พบเว็บไซต์นี้ (๑) ที่อ้างถึง  Ralph Waldo Emerson (1803 – 1882) ที่เน้นการพึ่งตนเอง ไม่หวังพึ่งพระเจ้า    ใน Wikipedia ก็อธิบายคำนี้ตามแนวของ Emerson (๒)

ที่น่าสนใจคือแนวคิดสมัยใหม่เรื่อง จิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology) ในเว็บไซต์ (๓) ระบุนิยามของ self-reliance ว่า  a reliance on internal resources to provide life with coherence (meaning) and fulfillment(Baumeister, 1987: 171).   ซึ่งอาจนำมาตีความเข้ากับความเป็นตัวของตัวเองของโรงเรียนได้ว่า  เป็นสภาพที่โรงเรียนมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน จากการดำเนินการของโรงเรียนเองเป็นปัจจัยหลัก    การสนับสนุนช่วยเหลือจากภายนอกเป็นปัจจัยรอง เป็นสภาพที่โรงเรียนเป็นองค์กรที่คนในองค์กรมีความภาคภูมิใจ     แต่โรงเรียนพัฒนาตนเองแต่ละแห่งอาจนิยามตามบริบทของตนเองก็ได้  

ข้อน่าสนใจของจุดยืน พึ่งตนเอง ตามเว็บไซต์ (๓)อยู่ตรงข้อความว่า     ความมุ่งมั่นพึ่งตนเอง เป็นพลังให้

  • แก้ปัญหาและตัดสินใจด้วยตนเอง
  • มีความสุขความพึงพอใจในตนเอง  ด้วยตนเอง  ในเรื่องของตนเอง
  • พัฒนาความยอมรับนับถือตนเอง
  • รู้จักตนเอง   เห็นอกเห็นใจ หรือเมตตาตนเอง  
  • ช่วยให้เห็นภูมิทัศน์ที่ล้อมรอบตนเอง   ซึ่งนำไปสู่
  • มีทิศทางเป้าหมายของตนเอง 

แต่เมื่อถึงตอน วิธีการ สร้างความเป็นตัวของตัวเอง    คำแนะนำ ๕ ข้อของเขา ไม่ค่อยเข้ากับบริบทของโรงเรียนพัฒนาตนเอง    ผมจึงขอเสนอเองว่า วิธีการสร้างความเป็นตัวของตัวเองที่ดีที่สุดคือ มีการเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติ อย่างสม่ำเสมอในทีมงานของโรงเรียน    ที่เป็นการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายที่ทรงคุณค่าสูงส่ง    คือผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน และพัฒนาแบบ whole child development    หรือพัฒนา 21stCentury Skills ครบทุกมิติ    ซึ่งที่จริงเครื่องมือนี้คือ PLC ที่เป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการนั่นเอง    

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ต.ค. ๖๓

      

หมายเลขบันทึก: 686978เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2020 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2020 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท