ชีวิตที่พอเพียง 3774 ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๖๑) ช่วยเหลือนักเรียนยากจนยุคโควิด


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

กสศ. มีวิธีช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มาจากครอบครัวยากจนพิเศษ โดยวิธี CCT – Conditional Cash Transfer (๑)    ในการประชุมรีทรีตของ กสศ. เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ที่โรงแรมบั๊ดดี้ ออเรียนทอล ปากเกร็ด  มีรายงานผลการวิจัยผลการให้ความช่วยเหลือในปีการศึกษา ๒๕๖๒   เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจตั้งงบประมาณปี ๒๕๖๕ เพื่อช่วยเหลือเด็กกลุ่มดังกล่าว โดยคำนึงถึงผลกระทบจาก โควิด ๑๙ ด้วย

เป็นตัวอย่างของการใช้ข้อมูลจากผลงานวิจัย เพื่อกำหนดนโยบาย

กสศ. เรียกทุนช่วยเหลือนี้ว่า ทุนเสมอภาค

“ทุนเสมอภาค” มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอุปสรรคการมาเรียนและสนับสนุนให้สถานศึกษา สามารถจัดทำกิจกรรมทักษะชีวิตหรือทักษะอาชีพและส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความถนัดและความต้องการตามศักยภาพได้เป็นรายบุคคล โดยมีการติดตามเงื่อนไขสำคัญ 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขการมาเรียนและเงื่อนไขการมีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามหลักโภชนาการ โดยนักเรียนยากจนพิเศษ ที่ได้รับเงินอุดหนุน (นักเรียนทุนเสมอภาค) จะต้องมีอัตราการเข้าชั้นเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด และมีพัฒนาการทางร่างกายที่สมวัย (สูงดีสมส่วน)

ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 อนุมัติโครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข ให้ดำเนินการขยายกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ และระดับชั้น อนุบาล -มัธยมศึกษาปีที่ ๖ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.) ทั่วประเทศ พร้อมทั้ง ทดลองนำร่องกลุ่มเป้าหมายโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประมาณการกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 720,000 คน

กสศ. พัฒนาวิธีทำงานต่อเนื่อง    โดยระบบข้อมูล CCT พัฒนาเป็นระบบ iSEE (information System for Equity Education) ทำให้ได้ข้อมูลจากหลายทาง  และได้ภาคีร่วมมือในการระดมทุนช่วยเหลือกว้างขวางขึ้นอย่างน่าชื่นใจ    รวมทั้งติดตามข้อมูลได้แบบ real time    

จะเห็นว่า เป้าหมายของทุนเสมอภาคคือเพื่อช่วยให้เด็กยากจนพิเศษมีค่าเดินทางไปโรงเรียน    ทีมวิจัยจึงตรวจสอบผลนี้  ได้ผลน่าสนใจดังนี้

ผลการวิเคราะห์เบื้องต้น หลังจากที่ กสศ. มีการจ่ายเงินอุดหนุนฯ ไปแล้ว 2 ภาคการศึกษา (ภาค 2/2561 และภาค 1/2562) จากกลุ่มตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนทุนเสมอภาคที่ได้รับเงินต่อเนื่องสองภาคการศึกษา และกลุ่มที่ไม่ได้รับเงิน    พบว่าอัตราการมาเรียนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันมากนัก (อัตราการมาเรียนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 98)    ทั้งนี้อาจเพราะในภาพรวมของนักเรียนไทยหรือนักเรียนยากจนของไทย ไม่ได้มีอัตราการมาเรียนต่ำ    เนื่องจากประเทศไทยมีนโยบายการมาเรียนขั้นต่าที่ร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด รวมถึงเกณฑ์เงื่อนไขของนักเรียนยากจนพิเศษด้วย

แต่อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์เด็กกลุ่มที่ได้รับเงินช่วยเหลือต่อเนื่อง และมีอัตราการมาเรียนต่ากว่าร้อยละ 80 หรือกลุ่มนักเรียนยากจนพิเศษที่ขาดเรียนบ่อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์    ทำให้ค้นพบข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ เด็กนักเรียนยากจนพิเศษกลุ่มนี้ เมื่อได้รับทุนเสมอภาคแล้ว ทำ

ให้มีอัตราการมาเรียนที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (อัตราการมาเรียนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01)    กล่าวคือ ก่อนได้รับเงินทุนเสมอภาค เด็กกลุ่มนี้มีอัตราการมาเรียนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 69.4    เมื่อเด็กกลุ่มนี้ได้รับเงินช่วยเหลือในภาคเรียนถัดมาพบว่า อัตราการมาเรียนเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 89.4 และเมื่อเด็กกลุ่มเดิมนี้ได้รับเงินอุดหนุนต่อเนื่องอีกหนึ่งภาคเรียน อัตราการมาเรียนเฉลี่ยของเ ด็กกลุ่มนี้ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 91.0     แสดงให้เห็นว่า เงินทุนเสมอภาคที่จัดสรรให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษ ช่วยยกระดับอัตราการมาเรียนของเด็กยากจนพิเศษที่มีอัตราการมาเรียนเฉลี่ยต่ากว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด

ข้อค้นพบนี้เอามาตีความถกเถียงกันได้มากนะครับ   และจะนำไปสู่การใช้เงินช่วยเหลืออย่างพุ่งเป้าได้อีกมาก   

ทีมวิจัยยังมีข้อมูลเด็กกลุ่มนี้ที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ ๔.๐)   เตี้ยกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ ๔.๔)   และผอมกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ ๕.๒)    ที่ยิ่งน่าจะช่วยการโฟกัสกลุ่มเป้าหมายในโอกาสต่อไป    

 ข้อมูลผลกระทบจาก โควิด ๑๙ ต่อนักเรียนกลุ่มนี้ยังไม่มี    แต่ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประมาณการว่า จำนวนนักเรียนยากจนพิเศษจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ ๕ – ๑๐   รวมทั้งมีข้อมูลชัดเจนจากปี ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๒ ว่าค่าใช้จ่ายของนักเรียนเหล่านี้เพิ่มขึ้นตามระดับชั้นเรียน    และมากกว่าปีละ ๓,๐๐๐ บาทที่นักเรียนทุนเสมอภาคได้รับ    กสศ. จึงเตรียมตั้งงบประมาณปี ๒๕๖๕ ไว้รองรับประมาณการการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า วิธีทำงานแบบใช้ข้อมูลนี้จะช่วยให้การช่วยเหลือพุ่งเป้าไปที่กลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ    และช่วยเหลือเพียงพอ   จึงน่าจะใช้ DE เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ในการทำความเข้าใจความต้องการ และความเหมาะสมในการพุ่งเป้าสู่เป้าหมายจริงๆ  ลดการสูญเสีย (ให้ความช่วยเหลือไม่ตรงเป้า) ลงไป  

ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร กสศ. เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ มีวาระเรื่องการปรับแผนทุนเสมอภาคปีงบประมาณ ๒๕๖๓  เพราะมีผลกระทบจากโควิด ๑๙   สรุปว่า มีเด็กยากจนพิเศษเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๗ (มากกว่าที่คาด)    รวมเป็น ๑,๐๖๘,๓๔๐ คน    ต้องการงบประมาณเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้ว ๖๒๕.๖ ล้านบาท    ที่คณะกรรมการมีมติให้ กสศ. ของบฉุกเฉินปี ๒๕๖๓    ในที่ประชุมใช้เวลาทำความเข้าใจข้อมูลมาก    เพราะโครงการนี้ใช้ข้อมูลที่มีการวางระบบไว้ซับซ้อน(ดี)มาก ต้องการการตัดสินใจที่ซับซ้อนมาก    ซับซ้อนพอๆ กับเรื่องความเหลื่อมล้ำ    

ความซับซ้อนเพิ่มขึ้น เมื่อมีคนเอ่ยว่าการช่วยให้เด็กยากจนพิเศษพ้นความยากลำบากไม่ได้มีแค่เข้าไปให้เงิน    ควรมีการดำเนินการให้เขาแข็งแรงขึ้นในทางอื่นด้วย       

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ส.ค. ๖๓   ปรับปรุง ๒๗ ส.ค. ๖๓ 


   

หมายเลขบันทึก: 681571เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2020 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2020 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท