ชีวิตที่พอเพียง 3758. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๕๘) ความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบ


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

อีกวาระหนึ่งของการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับทิศทางสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครั้งที่ ๓/๒๕๖๓  เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓ คือ (ร่าง) กรอบแนวคิดการดำเนินงานโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ของเด็กนอกระบบ   ที่นำมาสู่บันทึกนี้

ผมคิดว่า เบื้องต้นต้องตกลงกันให้ชัดก่อนว่า ชุดความคิดต่อเด็กนอกระบบการศึกษาที่เราใช้ร่วมกันในโครงการนี้คืออะไร    กล่าวง่ายๆ คือ ตอบคำถามว่า “เด็กนอกระบบคือใคร”

ผมตอบว่า เด็กนอกระบบเป็นพลังสังคมที่ขาดโอกาส    หมายความว่า ผมไม่มองว่าเด็กเหล่านี้เป็นตัวปัญหาที่ต้องแก้ไข    แต่มองว่าเป็นพลังสังคมที่ต้องให้โอกาส    มิฉะนั้นเขาจะกลายเป็นตัวปัญหา การดำเนินการโครงการนี้จึงต้องเน้นให้โอกาส    เน้นทำความเข้าใจเพื่อให้โอกาส    ให้เขาได้ฝึกฝนพัฒนาตัวเอง เพื่อเป็นพลังสังคม   

กสศ. ดำเนินการค้นหาเด็กอายุ ๒ - ๒๑ ปี ที่อยู่นอกระบบการศึกษา ใน ๒๐ จังหวัด    พบว่ามีจำนวนเกือบ ๙ แสนคน (๑)     มีคนบอกว่า ทั้งประเทศน่าจะมี ๒ - ๓ ล้านคน     น่าตกใจนะครับ   

ผมเคยเขียนบันทึกเรื่องเด็กนอกระบบการศึกษาที่ (๒)     โปรดสังเกตว่า ตัวเลขของเด็กนอกระบบฯ ในประเทศไทยยังสับสนนะครับ      

การประชุมวันนี้ เป็นการคุยกันตามกรอบแนวคิดที่ รศ. ดร. ลือชัย ศรีเงินยวง กลับไปปรับปรุง หลังจากได้คุยกับคณะอนุกรรมการอำนวยการ วสศ. เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓    โดยท่านมองว่าเป็นการทำงาน ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน คือ (๑) พัฒนาองค์ความรู้  (๒) พัฒนาศักยภาพคน  (๓) ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง     โดยผมมองว่าดำเนินการโดยตรงที่ตัวเด็กเท่านั้นไม่พอ    ต้องดำเนินการในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคมด้วย   

ผมฝันต่อว่า ต้องเน้นใช้เด็กและเยาวชนนั้นเอง เป็นพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง   

ดูจากเอกสารการประชุมที่ ดร. ลือชัยยกร่างมา     ท่านจะใช้ DE (Development Evaluation) ในการทำงานพัฒนาระบบการดูแลเด็กนอกระบบ ใน ๔ จังหวัดที่มีบริบทแตกต่างกันคือ เชียงราย (ชายแดน)   อุดรธานี (ชนบท)  กทม. (เมืองใหญ่)  นราธิวาส (พื้นที่วัฒนธรรมเฉพาะ)     เป็นแนวทางที่ซับซ้อนและน่าสนใจมาก   

ยุทธศาสตร์ของ ดร. ลือชัยคือ ใช้ DE เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของผู้เกี่ยวข้องกับเด็กนอกระบบ  ให้เห็น complexity ของชีวิตของเด็กนอกระบบ    โดยผมเสนอว่า ขอให้รวมเอาเด็กในระบบที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะหลุดออกนอกระบบด้วย     ซึ่งหมายความว่าครูและผู้ปกครองของเด็กอยู่ในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องโดยตรง

ผมมองว่า เด็กเหล่านี้เป็นผู้ถูกกระทำ    ทำให้ขาดสำนึกตัวตน หรืออัตลักษณ์    ขาดเป้าหมายในชีวิต และสำนึกผิดชอบชั่วดี    หากการศึกษาเอาใจใส่พัฒนา Chickering’s Seven Vectors of Identity Development ก็จะช่วยลดจำนวนเด็กหลุดออกนอกระบบลงได้มาก    ผมได้แนะนำหนังสือแปล จะไม่รอให้ฟ้าสว่าง ที่ Liz Murray ผู้เป็นเด็กในครอบครัวพ่อแม่ติดยา ติดเอดส์    และเป็นเด็กไร้บ้าน ในนครนิวยอร์ก    สามารถกลับตัวกลับใจ อดทนมานะบากบั่นเรียนในโรงเรียนพิเศษจนจบ ม. ปลายและได้รับทุนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้    เพราะเอาชนะการตีตราของผู้อื่น  และเกิดเป้าหมายในชีวิต (๓)    

วสศ. ต้องการใช้ประโยชน์โครงการนี้ใน ๓ ด้าน    คือ (๑) พัฒนาการดำเนินการเรื่องเด็กนอกระบบ  (๒) พัฒนาการใช้ DE เพื่องานอื่นๆ ข้างหน้า  และ (๓) ใช้เตรียมรับการประเมิน กสศ. โดยทีมกระทรวงการคลังในปี ๒๕๖๕ 

ตามแนวทางของ รศ. ดร. ลือชัย ศรีเงินยวง    การแก้ปัญหาเด็กนอกระบบ ต้องการกระบวนทัศน์ใหม่ของผู้เกี่ยวข้อง     ที่ท่านจะใช้ DE เป็นเครื่องมือเปลี่ยน    

วิจารณ์ พานิช

๘ ก.ค. ๖๓


   

หมายเลขบันทึก: 680368เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2020 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2020 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท