ชีวิตที่พอเพียง 3763. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๕๙) ใช้พลัง DE


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ผมเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมและสนับสนุนในการรับการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานรอบ 3 ปี ของ กสศ. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ ในฐานะที่ปรึกษา โดยที่ในการประชุมครั้งแรกผมไม่ได้เข้าร่วมประชุม  

ข้อสรุปจากท่านประธานคณะอนุกรรมการ ศาสตราพิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ที่ผมประทับใจที่สุดคือ ใช้ DE (Developmental Evaluation) สร้างวัฒนธรรมการประเมินเป็นวัฒนธรรมองค์กร ของ กสศ.  

คือใช้ DE เป็นพลังในการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของ กสศ.    และเป็นพลังในการสร้างสรรค์ร่วมกับภาคี ๓๖๐ องศา   

ในการประชุมมีการสรุปหลักการของ DE ดังต่อไปนี้

คณะอนุกรรมการเห็นพ้องกันว่า   ให้เสอนบอร์ดให้อนุมัติการประเมิน ๒ แบบ    คือประเมินตามตัวชี้วัดที่กำหนดก็ดำเนินการไป    และในขณะเดียวกันก็ประเมินด้วย DE ควบคู่ไปด้วย     โดยอาจมี pilot project ของ DE ในบางเรื่อง      

ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓    ทางสำนักงานได้เสนอสรุปสาระสำคัญของ ดังต่อไปนี้

รายละเอียดการประเมินเพื่อการพัฒนา (Developmental Evaluation: DE)

            การประเมินเพื่อการพัฒนา (Developmental Evaluation: DE) คือการประเมินผลเพื่อมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรม

การทำงานใหม่ในอนาคต ซึ่งอาจรวมถึงการดำเนินการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ด้านกระบวนการ และความเข้าใจต่อ

ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อน และมีส่วนกำหนดความสำเร็จและความล้มเหลวของการดำเนินงานที่ผ่านมา

รวมทั้งการประเมินผลเพื่อเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานหรือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

โดยกระบวนการประเมินเพื่อการพัฒนานั้นเป็นกระบวนการที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนใช้ได้ใน

หลายสถานการณ์ ภายใต้บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงและระบบที่มีความซับซ้อน มีคุณสมบัติสำคัญ ดังนี้

1. เน้นการนำผลการวิจัยและประเมินมาพัฒนากระบวนการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อสภาวะ

ปัญหาที่ซับซ้อนและอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง (Complex, dynamic environment)

2. สามารถนำผลจากการวิจัยและประเมินเพื่อพัฒนาการดำเนินงานหรือยุทธศาสตร์ในพัฒนาและสร้างความ

เปลี่ยนแปลงได้ในทันที (Real-time feedback and adaptive learning)

3. ผู้ประเมิน (Evaluator) มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่แรกเริ่ม และมีส่วนสำคัญในการให้

ข้อเสนอเพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินงานหรือกระบวนการพัฒนา และจะเป็นผู้คอยอำนวยการให้บุคลากร

อื่นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาเกิดการเรียนรู้ (Facilitate learning)

4. ผู้ประเมินมีหน้าที่ในการออกแบบกระบวนการประเมินเพื่อค้นหาพลวัตเชิงระบบ (System dynamics)

และสกัดนวัตกรรมและแนวคิดในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงกระบวนการพัฒนา

5. วิธีการประเมินสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามข้อค้นพบที่ได้จากการประเมินหรือสภาวะปัญหาที่เปลี่ยนไป การ

ประเมินเพื่อพัฒนาจึงเป็นวิธีการที่ยืดหยุ่นและพัฒนาอยู่เสมอ

6. เนื่องจากการประเมินเพื่อการพัฒนาเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความยืดหยุ่น ผู้ประเมินจึงควรเป็นผู้ที่มีความ

ยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมรับแนวคิดและวิธีการรูปแบบใหม่ ๆ ที่

พัฒนาขึ้นหรือจากข้อค้นพบต่าง ๆ หรือความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญที่เปลี่ยนไป

โดยการประเมินเพื่อการพัฒนาอาจมีลำดับขั้นตอน ดังนี้

การประเมินเพื่อการพัฒนาเป็นการขับเคลื่อนการแก้ปัญหา โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ทบทวนให้เห็นต้นเหตุของ

ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ และตั้งคำถามกับสิ่งเดิมผ่านแนวคิดเชิงระบบที่ซับซ้อนและปรับเปลี่ยน (complex

adaptive system) เพื่อวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา และพัฒนาเครื่องมือ/วิธีการระบบตามแนวคิดใหม่

จากนั้น ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา และสรุปเป็นการเรียนรู้จากผลที่ได้ โดยวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นใหม่หรือยังคง

อยู่เพื่อหาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาที่ดีกว่าเดิมต่อไป และปฏิบัติการใหม่เช่นนี้ วนเป็นรอบ (feedback loop) เช่นนี้

ตลอดกระบวนการ

ที่มา:

Patton, M. Q. (2010). Developmental evaluation: Applying

complexity concepts to enhance innovation and use . Guilford

press.

Patton, M. Q., McKegg, K., & Wehipeihana, N. (Eds.).

(2015). Developmental evaluation exemplars: Principles in practice . Guilford publications.

คณะกรรมการบริหารฯ มีมติเห็นชอบ

วิจารณ์ พานิช

๖ ส.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 680730เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2020 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2020 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท