ชีวิตที่พอเพียง 3806 ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๖๔) ข้อเรียนรู้จากโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ปีที่ ๑


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ของ กสศ. ขยายจำนวนโรงเรียนจาก ๒๙๐ โรงเรียนในปีที่ ๑  เป็น ๗๓๓ โรงเรียนในปีที่ ๒   ทีมงานพี่เลี้ยงเพิ่มจาก ๕ ทีม เป็น ๑๑ ทีม    สังกัดของโรงเรียนเพิ่มจาก ๑ สังกัดคือ สพฐ. เป็น ๓ สังกัดคือ สพฐ., กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และโรงเรียนเอกชน    ในพื้นที่ ๔๒ จังหวัด    โรงเรียนเหล่านี้มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง   นักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวยากจน หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล    เป้าหมายของโครงการนี้คือยกระดับคุณภาพการศึกษา  และเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษา   

 วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๓ มีการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับทิศทาง “โครงการพัฒนาครูและโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง” (ชื่อทางการของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง)    มีการนำเสนอผลงานของทีมพี่เลี้ยง ๕ ทีม    กับทีมสนับสนุนการใช้ฐานข้อมูล Q-Info   ซึ่งผมมองว่า ทำให้เกิดการเรียนรู้สูงมาก    ทีมพี่เลี้ยงที่มีผลงานดีได้สร้างนวัตกรรมการสนับสนุนโรงเรียน ที่จะต่อยอดไปได้อีกมาก อย่างน่าชื่นใจ

การเรียนรู้ข้อแรก   โครงการนี้เป็นกิจกรรม “เข็นครกขึ้นภูเขา”    โดยมีระบบการบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นแรงโน้มถ่วง    รวมทั้งค่านิยมในสังคมด้วย   เพราะมีบางโรงเรียนในโครงการขอออกไปเพราะแรงกดดันจากผู้ปกครองนักเรียน    เกรงว่าลูกจะเรียนวิชาไม่แข็ง เพราะ “ครูไม่สอน”    เรื่องแรงโน้มถ่วงทางการศึกษานี้รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ไว้ดีมากใน World Development Report 2018   เป็นเรื่องที่ กสศ. พึงตระหนักและหาทางสร้างความต่อเนื่องยั่งยืนของการพัฒนาโรงเรียนพัฒนาตนเองทั้ง ๗๓๓ โรงเรียน    รวมไปถึงการขยายผลหรือส่งแรงกระเพื่อมไปเปลี่ยนแปลงระบบใหญ่ของประเทศ  

การเรียนรู้ข้อที่สอง  เป็นเรื่องนวัตกรรม หรือการสั่งสม “สินทรัพย์ทางปัญญา” (intellectual assets) ทางการศึกษา    คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้   ครูแกนนำ  และครูวิทยากร    ที่พัฒนาขึ้นจากโครงการ    ทีมพี่เลี้ยงที่สนับสนุนจนเกิดการพัฒนานี้อย่างชัดเจน ได้แก่ มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา   มูลนิธิสตาร์ฟิชคันทรี่โฮม   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์    นี่คือสินทรัพย์ของสังคม สำหรับนำไปขยายผลวิธีพัฒนาคุณภาพโรงเรียนแบบ whole school development   ที่เน้นจัดการเรียนรู้แบบ active learning   ผมภาวนาให้สินทรัพย์เหล่านี้มั่นคงยั่งยืน    ต้านทานพายุอำนาจระบบได้  

การเรียนรู้ข้อที่สาม   มีกลุ่ม FB เป็นเรื่องๆ ในเครือข่ายของแต่ละทีมพี่เลี้ยง เช่น กลุ่ม FB จิตศึกษา  และกลุ่ม FB PBL ของเครือข่ายลำปลายมาศพัฒนา    กลุ่ม FB ในเครือข่ายสตาร์ฟิช  เป็นต้น    ซึ่งผมมองว่าเป็น PLC โดยธรรมชาติ    ที่ กสศ. น่าจะหาวิธีเข้าไปเก็บข้อมูลเอามาทำ data analytics เพื่อหาวิธีเข้าไปหนุนการเรียนรู้ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น  

การเรียนรู้ข้อที่สี่   มีการริเริ่มสร้างสรรค์ของทีมพี่เลี้ยงใน การวัดผลสัมฤทธิ์ ของ intervention ของตน    มีการคิดวิธีวัดหลากหลายแบบ แตกต่างกันไปในแต่ละทีมพี่เลี้ยง  ที่น่าสนใจคือของ มหาวิทยาลัยศรีปทุม  มูลนิธิลำปลายมาศฯ    มูลนิธิสตาร์ฟิช    และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์    กสศ. น่าจะจัดดำเนินการเพื่อพัฒนาวิธีวัดที่แม่นยำ ตรงเป้า และทำได้ง่ายยิ่งขึ้น     ที่สำคัญคือ ให้โรงเรียนประเมินตนเองได้  และทำจนเป็นนิสัย    และควรวัดออกมาเป็น effect size เพื่อให้เห็น impact ที่มีความหมายจริงๆ    และอาจนำไปตีพิมพ์ได้ด้วย

การเรียนรู้ข้อที่ห้า   การมีระบบข้อมูล ที่เป็น SMS (School Management System)  และ CMS (Classroom Management System) ที่โรงเรียนใช้อำนวยความสะดวกในการทำงานของตนเอง เป็นเรื่องท้าทาย     ผมแปลกใจที่มีทีมพี่เลี้ยงบอกว่าบางโรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ในงานส่วนกลาง    มีแต่ใช้ในห้องเรียน    ผมสงสัยว่าเงิน ๑ แสนบาทที่ กสศ. จัดให้ โรงเรียนเอาไปใช้ทำอะไรบ้าง    รวมทั้งท้าทายกระทรวง ดีอี ที่ระบบคลื่นสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนไม่เสถียร    หากระบบ SMS  และ CMS ของแต่ละโรงเรียนใช้การได้ดี    ก็เป็นโอกาสที่ กสศ. จะสนับสนุนกลไกการทำ data analytics    ซึ่งน่าจะนำไปสู่การตั้งโจทย์วิจัย และโจทย์พัฒนาทางการศึกษา ได้อีกมาก  

การเรียนรู้ข้อที่หก   การเชื่อมโยงกิจกรรมพัฒนาโรงเรียนเข้ากับเขตพื้นที่การศึกษา และ ศน.    เด่นมากในเครือข่ายพี่เลี้ยงมูลนิธิสตาร์ฟิช  มูลนิธิลำปลายมาศฯ   และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์    นี่คือช่องทางที่โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองจะทำหน้าที่ transform ระบบการศึกษาของประเทศ    เรื่องนี้กรรมการชี้ทิศฯ แนะนำให้ทำความชัดเจนระหว่างการนิเทศ (supervision)  กับการโค้ช (coaching)   

การเรียนรู้ข้อที่เจ็ด   Growth Mindset ของผู้บริหารโรงเรียน และของครู    ทีมพี่เลี้ยงจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความสำคัญ    ดำเนินการสร้าง และวัด    เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ที่น่าสนใจมากสำหรับผม รวมทั้งสามารถนำไปตั้งโจทย์วิจัยทางการศึกษาได้

การเรียนรู้ข้อที่แปด    ความท้าทายของการใช้ PLC   รายงานจากทีมพี่เลี้ยงทั้งหลายบ่งชี้ว่า ครูและโรงเรียนไม่มอง PLC ว่าเป็นเครื่องมือพัฒนาครู (professional development)    สะท้อนว่า โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองน่าจะโฟกัสรายละเอียดของการใช้ PLC เพื่อพัฒนา LO ของนักเรียน   และพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพของครู    เรื่องนี้เป็นได้ทั้งโจทย์พัฒนา และโจทย์วิจัย   รวมทั้งโจทย์ DE    เพราะจะเป็นคันเร่งเติมพลังในการทำงานให้แก่ครูได้เป็นอย่างดี 

การเรียนรู้ข้อที่เก้า    พลังของการสอนแบบอุปนัย (induction)    ที่เป็นนวัตกรรมของทีมพี่เลี้ยงจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำโดย รศ. ดร. ไพโรจน์ คีรีรัตน์   ที่อธิบายการสอนแบบโครงงานฐานวิจัย แก่เด็ก ป. ปลาย    ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนปฏิบัติ แล้วสะท้อนคิดออกมาเป็นหลักการหรือทฤษฎี    ซึ่งโมเดลการเรียนรู้แบบ STEAM ของมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ    และ PBL ของมูลนิธิลำปลายมาศฯ ก็ใช้หลักการเดียวกัน   

การเรียนรู้ข้อที่สิบ    ข้อค้นพบมากมายจากโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองนี้ หากเอามาทำกระบวนการ DE ในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด จะเกิดการเรียนรู้มากมาย หลากหลายมิติ    รวมทั้งสามารถนำไปคิดโจทย์วิจัย เพื่อให้มั่นใจว่าการตีความเบื้องต้นของทีมงาน เป็นการตีความที่ถูกต้องจริง    

วิจารณ์ พานิช    

๑๕ ก.ย. ๖๓


      

หมายเลขบันทึก: 684169เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2020 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2020 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท