ชีวิตที่พอเพียง 3817. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๖๖) โรงเรียนพัฒนาตนเองกับ Growth Mindset


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

ในการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ ของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ของ กสศ. เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๓ ผมได้โอกาสเปรียบเทียบว่า ทีมพี่เลี้ยงแต่ละทีม (มี ๕ ทีม) ดำเนินการเกิดผลให้โรงเรียนเป็นตัวของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไร

ผมเกิดความคิดว่า ทีมพี่เลี้ยงที่แสดงความสัมพันธ์กับโรงเรียนในเครือข่ายในลักษณะอาจารย์กับศิษย์    มีโมเดลการพัฒนาโรงเรียนแบบตายตัวให้โรงเรียนทำตาม    เป็นการสร้าง Fixed mindset ให้แก่โรงเรียน ผู้บริหาร และครู ในโรงเรียนโดยไม่รู้ตัว  

ผมเกิดความคิดว่า ฐานของโรงเรียนพัฒนาตนเองคือการมี Growth mindset    ตัว Growth mindset นี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้ทีมงานในโรงเรียนดำเนินการพัฒนากิจการงานของตน    ยิ่งได้ทีมพี่เลี้ยงมาหนุน โดยช่วยกระบวนการใคร่ครวญสะท้อนคิดจากผลการดำเนินการพัฒนา คิดย้อนกลับไปที่กระบวนการที่ใช้    จะเกิดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง

โรงเรียนพัฒนาตนเอง ต้องใช้กระบวนการ คิดจากผลไปหาเหตุ    โดยเอาทฤษฎีการเรียนรู้มาช่วยคิด    คิดร่วมกันในโรงเรียนด้วย reflective thinking  หรือ critical reflection    จึงจะเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองต่อเนื่อง โดยที่การเรียนรู้และพัฒนาตนเองนั้นวนอยู่รอบๆ ตัวนักเรียน และผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน    กระบวนการคิดร่วมกันเพื่อหาทางยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนนี้เรียกว่า PLC    กระบวนการนี้จะทำให้ครูเกิดการเรียนรู้มาก  เป็นวิธี CPD (Continuous Professional Development) ของครูที่ดีที่สุด    ดีกว่าการไปเข้าหลักสูตรฝึกอบรมสิบเท่า

การเรียนรู้นี้มีได้ไม่จบสิ้น    เพราะผลการเรียนของนักเรียนนั้น พัฒนาได้ไม่จบสิ้น    นี่คือ Growth mindset ของโรงเรียน

การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนนั้น    พัฒนาได้ทั้งแนวกว้างและแนวลึก    แนวกว้างคือการส่งเสริม whole child development  พัฒนาให้ครบทุกด้าน    แนวลึกคือ เรียนผ่านการเรียนรู้ระดับผิว (superficial)  สู่ระดับลึก (deep)  สู่ระดับเชื่อมโยง (transfer)

ที่จะเรียนรู้กันอย่างสนุกมากคือ    เรียนจากอนาคต    ร่วมกันทำนายว่ามนุษย์ในอนาคตต้องมีสมรรถนะอะไรบ้าง     แล้วคิดย้อนกลับมาว่า จะต้องฝึกฝนนักเรียนอย่างไร  เพื่อเตรียมสมรรถนะเหล่านั้นไว้ให้เขาเอาไปใช้ดำรงชีวิตในอนาคต    ซึ่งนี่ก็เป็นการคิดจากผลมาหาเหตุอีกแบบหนึ่ง 

วิจารณ์ พานิช

๓ ต.ค. ๖๓


      

หมายเลขบันทึก: 686820เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2020 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2020 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท