ชีวิตที่พอเพียง ๓๙๓๖. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๘๘) เรียนรู้จาก PISA 2018


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

บันทึกที่ ๗๗

บันทึกที่ ๗๘

บันทึกที่ ๗๙

บันทึกที่ ๘๐

บันทึกที่ ๘๑

บันทึกที่ ๘๒

บันทึกที่ ๘๓

บันทึกที่ ­๘๔

บันทึกที่ ๘๕

บันทึกที่ ๘๖

บันทึกที่ ­๘๗

ดร. ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค เขียนบทความเรื่อง มองผลสัมฤทธิ์และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่านการประเมินผลPISA ของประเทศไทย ไว้ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๖๓ (๑)    ลองอ่านแล้วถามตัวเองดูนะครับ ว่าท่านรู้สึกตกใจแค่ไหน

สำหรับผม ตกใจมากครับ    เพราะผลการทดสอบนี้ของประเทศไทยบอกเราว่า    คุณภาพพลเมืองของเราจะต่ำไปอีกเป็น ๒๐ ปี    และความหวังที่จะพัฒนาประเทศสู่ประเทศรายได้สูง สังคมดี ตามแผนยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี  ดูจะห่างไกลจากความสำเร็จ    โอกาสความเป็นไปได้ดูจะใกล้ศูนย์ หากเราพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่ได้ และดูจากการทำงานของฝ่ายการเมืองในด้านพัฒนาการศึกษาในช่วงปีเศษที่ผ่านมา ผมให้คะแนนติดลบ    เพราะเป็นการทำงานแบบที่ตรงกับในรายงาน WDR 2018 เต็มร้อย ในรูปแบบของระบบการศึกษาที่ไม่ส่งมอบผลด้านการเรียนรู้ (๒)    

โปรดดูรูปที่ ๑   จะเห็นว่า คะแนนด้านการอ่านของนักเรียน (อายุ ๑๕ ปี) ของไทย ตกต่ำลงอย่างน่าตกใจ    ในรูปที่ ๒ ยิ่งน่าตกใจ   ในขณะที่สิงคโปร์มี top performer (ด้านการอ่าน) ร้อยละ ๒๕.๘   ไทยมีเพียง ๐.๒   แต่ไทยมี low performer ถีงร้อยละ ๕๙.๕ (นี่คือสอบตก)  ของสิงคโปร์มีเพียง ๑๑.๒      

รูปที่ ๓ บอกความอ่อนแอ ๒ ด้านของไทยชัดมาก    คือด้านความเหลื่อมล้ำ ที่เด็กจากครอบครัวเศรษฐฐานะดี มีผลคะแนนสูงกว่ากลุ่มเศรษฐฐานะต่ำในลักษณะที่ช่วงความต่างสูงกว่าของประเทศกลุ่มบน (ญี่ปุ่น  เกาหลี  ฟินแลนด์  สิงคโปร์  ฮ่องกง  เอสโทเนีย)     ความอ่อนแออีกด้านคือคุณภาพของการศึกษาทั้งระบบ   คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนไทยกลุ่มคะแนนสูงสุดร้อยละ ๒๐   ยังน้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มคะแนนต่ำสุดร้อยละ ๒๐ ของประเทศกลุ่มบน    นี่คือจุดที่น่าตกใจสุดๆ สำหรับผม    เพราะผมเชื่อว่าเด็กไทยไม่ได้เกิดมาโง่กว่าเด็กของประเทศอื่น    แต่ระบบการศึกษาทำให้เด็กของเราโง่  

โปรดอ่านข้อวิเคราะห์เพิ่มเติมด้านความไม่เสมอภาคด้านการจัดสรรทรัพยากร    ความเหลื่อมล้ำข้ามเวลา    และข้อเสนอแนะของ ดร. ภูมิศรัณย์ในตอนท้าย

ที่น่าตกใจคือ เวลาผ่านมาปีเศษ ไม่มีการแก้ไขจริงจังเชิงระบบ    ผมขอย้ำความเห็นส่วนตัวว่า การดำเนินการโดย กสศ. ไม่เพียงพอในการแก้ไข    หากจะแก้ไขจริงจังต้องยกเครื่องระบบ

วิจารณ์ พานิช

๕ มี.ค. ๖๔   ปรับปรุงเพิ่มเติม ๑๓ เมษายน ๒๕๖๔  


หมายเลขบันทึก: 690127เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2021 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2021 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท