ชีวิตที่พอเพียง ๓๙๐๗. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๘๒) การเรียนรู้ตลอดชีวิต กับทักษะอาชีพ สำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

บันทึกที่ ๗๗

บันทึกที่ ๗๘

บันทึกที่ ๗๙

บันทึกที่ ๘๐

บันทึกที่ ๘๑

ผมได้รับ อีเมล์ จากคุณวนิดา คุณรอด ผู้ประสานงาน ทุนพัฒนาอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ของ กสศ. ดังนี้

 เรียน ศ.นพ.วิจารณ์ที่เคารพ

ตามที่เมื่ออาทิตย์ที่แล้วได้แจ้งอาจารย์ว่า ทางโครงการทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐานอยากจะขอสัมภาษณ์อาจารย์สำหรับการลงหนังสือถอดบทเรียนโครงการ

โดยมีประเด็นที่จะสัมภาษณ์ดังนี้

1. การเรียนรู้ตลอดชีวิตในทัศนะของอาจารย์

2. การเรียนรู้ตลอดชีวิตสัมพันธ์กับการพัฒนาทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 อย่างไร

3. แนวทางในการส่งเสริมหรือสร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส

4. ในยุคสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาจารย์มองทิศทางการประกอบอาชีพของคนไทยเป็นอย่างไร/แนวทางการแก้ไขคืออะไร

5. ในมุมมองของอาจารย์คิดว่า “การพัฒนาทักษะอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน” ควรเป็นอย่างไร และสอดคล้องกับวิกฤติของประเทศในปัจจุบันหรือไม่

ทำให้ผมมีโอกาสใคร่ครวญว่า ในการทำกิจการใดๆ ต้องคิดให้ตกเสียก่อน ว่าจริงๆ แล้วงานนั้นคืออะไร    คุณค่าแท้จริงคืออะไร   มีอะไรที่เป็น “ม่านกำบัง” เป้าหมายแท้จริงของกิจการนั้น    วิธีคิดแบบนี้มีตัวอย่างโด่งดังที่สุดในปาฐกถาธรรม ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมของท่านพุทธทาส  ที่แสดง ณ พุทธสมาคม ในปี ๒๔๙๐ (๑)

ข้อเรียนรู้สำหรับ กสศ. ก็คือพึงระวังอย่าให้ ทุนพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นม่านกำบังความต้องการของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา    หรือ อย่าเผลอให้กิจกรรมของเรา บดบังเป้าหมายหลักที่เราต้องการทำให้แก่สังคม    นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ ที่มักเผลอเอาตัวเองเป็นฐาน    เหมือนกับพ่อแม่ที่รักลูก อยากให้ลูกเติบโตไปเป็นคนดี    แต่หลงหวังให้ลูกประพฤติตัวตามใจของพ่อแม่   

นั่นคือคำตอบต่อคำถาม ข้อ ๕   การพัฒนาอาชีพของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ควรดำเนินการตามความต้องการของเด็ก    เด็กเป็นศูนย์กลางของเรื่อง    ไม่ใช่ทุนพัฒนาอาชีพเป็นศูนย์กลาง    และไม่ใช่ชุมชนเป็นศูนย์กลาง

นี่คือวิธีคิดให้ชัด โดยใช้ยุทธศาสตร์คิดแย้ง    ซึ่งในทางปฏิบัติจริง ไม่ได้ปฏิเสธทุนสนับสนุน และไม่ปฏิเสธชุมชนที่เด็กและเยาวชนเป้าหมายดำรงชีวิตอยู่    หลักการสำคัญคือ แยกเป้าหมาย (end)  กับวิธีการหรือเครื่องมือ (means) ให้ชัด    อย่าสับสน หรือหลง     ในที่นี้เป้าหมายคือเด็กที่หลุดออกนอกระบบการศึกษากลางคัน    เป็นเด็กด้อยโอกาส    ส่วนทุนและชุมชน เป็นเครื่องมือ  

จุดอ่อนในการทำงานที่มีความยากและซับซ้อนแบบนี้ ก็คือเราไม่เข้าใจเป้าหมาย และความซับซ้อนของเป้าหมาย และบริบทโดยรอบ (ซึ่งในกรณีนี้คือชุมชน และสังคมวงกว้าง)    ซึ่งในกรณีนี้คือความเข้าใจตัวเด็กกลุ่มเป้าหมาย  

ข้อเผลอที่พบบ่อยคือ เรามักหลงคิดว่าเด็กกลุ่มนี้มีลักษณะหรือความต้องการเหมือนๆ กัน    โดยเราคิดเอาเอง ไม่เคยไปถามเด็ก    ซึ่งหากถาม จะพบว่าจริงๆ แล้วเด็กนอกระบบการศึกษามีที่มาที่ไป ความต้องการที่ตนคิด และมีจุดแข็งจุดอ่อนเฉพาะตน ไม่เหมือนกัน    และความต้องการแท้จริงของบางคนเป็นเรื่องอื่น ไม่ใช่อาชีพ    ข้อพึงตระหนักก็คือ ควรทำความรู้จักเด็กที่เป็นเป้าหมายเสียก่อน   

ที่ซับซ้อนยิ่งกว่านั้นก็คือ ในหลายกรณี เด็กก็ไม่รู้จักตนเอง    มีความสับสน  มีความอ่อนแออยู่ภายใน  มีบาดแผลจากครอบครัว หรือจากโรงเรียน    ความต้องการที่เด็กบอกจึงอาจไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง      

เงินทุนจึงเป็นเพียงส่วนเดียวของความช่วยเหลือที่เด็กต้องการ    สิ่งที่เขาอาจต้องการมากกว่า คือการเยียวยาความอ่อนแอที่สะสมมาตั้งแต่แรกเกิด (หรือตั้งแต่ในครรภ์มารดา)    ความอ่อนแอของ executive functions ของเปลือกสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex)    ความอ่อนแอของพัฒนาการตัวตน ตามแนวทางของ Chickering (๒)    ที่ทำให้เด็กขาดความมั่นใจตนเอง  ขาดเป้าหมายในชีวิต    

ตอบคำถามข้อ ๕ ตรงๆ ได้ว่า  การพัฒนาทักษะอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ควรเน้นตัวเด็กเป็นหลัก    และควรจัดการอย่างมี double-loop learning  

ซึ่งนำไปสู่คำถามข้อแรก การเรียนรู้ตลอดชีวิตคืออะไร    คำตอบส่วนหนึ่งอยู่ในย่อหน้าที่แล้ว    จะทำอะไรก็ตาม ต้องให้มี learning loop เสมอ    และต้องหาทางให้เป็น double-loop learning (มี feedback สู่การปรับเป้าหมาย)    และ triple-loop learning (มี feedback สู่การปรับกระบวนทัศน์)   

การเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายความว่า ประเทศ หน่วยงาน และบุคคล ทำกิจการใดก็ตาม ต้องมีเป้าหมายชัดเจน    และเมื่อดำเนินการมีการเก็บข้อมูลผลที่เกิด และข้อมูลการดำเนินการที่ทำ เอามาเป็นข้อมูลป้อนกลับ (feedback)  สู่การเรียนรู้และปรับตัว     โดยที่ต้องมีทักษะนำข้อมูลมาหาความหมาย ผ่านกระบวนการ ใคร่ครวญสะท้อนคิด (reflection)    หน่วยงานและบุคคลที่มีทักษะเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงต้องมีทักษะใคร่ครวญสะท้อนคิดจากข้อมูลในการทำงาน     ซึ่งนำสู่การตอบคำถามข้อ ๒ และ ๓ ไปในตัว    

ในการดำเนินการโครงการการพัฒนาทักษะอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐานจึงควรมีการฝึกทักษะ reflection   ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย    รวมทั้งฝึกทักษะการเก็บข้อมูลจากการประกอบอาชีพเพื่อการเรียนรู้ด้วย     ข้อมูลที่ต้องเก็บ มีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ    ที่จะต้องฝึกการเก็บให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำและลึก   

ผมไม่อยู่ในฐานะที่จะตอบคำถามข้อที่ ๔   เพราะผมไม่เข้าใจบริบทของคนที่ถูกระทบจากโควิด ๑๙   

ทั้งหมดนั้น เขียนก่อนเหตุการณ์จริง

ตอนคุยกันจริงๆ ผมได้รู้ว่าผมเข้าใจผิดเรื่อง โครงการการพัฒนาทักษะอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน    คือที่จริงเป็นการพัฒนาอาชีพในชุมชน    เน้นผลที่ชุมชน    ไม่ได้เน้นเด็กและเยาวชนที่หลุดออกนอกระบบการศึกษา     หากจะมีเด็กแบบนี้เข้าร่วมโครงการบ้าง ก็เป็นผลพลอยได้    ไม่ใช่เป้าหมายหลัก   

เราจึงคุยกันเรื่อง การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นหลัก    ที่ผมชี้ว่า เป็นเรื่องของ “การสั่งสมทุนชีวิต”    ที่มนุษย์เราเริ่มทำตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา    เป็นกระบวนการตามธรรมชาติ    แต่ก็ต้องการแรงกระตุ้นจากปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ช่วยด้วย    ส่วนหนึ่งของแรงกระตุ้นคือการเลี้ยงดูในครอบครัว และการเข้าโรงเรียน

กสศ. เป็นสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา    ชื่อและกฎหมายชวนให้เขว    หลงไปคิดว่าทุนเพื่อการเรียนรู้มีเฉพาะทุนที่เป็นเงิน    จึงหลงเข้าไปทำงานในที่แคบได้ง่าย    ผู้บริหารของ กสศ. พึงตระหนักในกระบวนทัศน์นี้    ผมมีความเห็นว่า “ทุน” เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา มีกว้างกว่าทุนที่เป็นเงิน      

เราคุยกันลงลึกเรื่องกระบวนการเรียนรู้    เมื่อเขาตัดต่อและเอาขึ้น YouTube แล้ว    ผมจะเอาลิ้งค์มาเผยแพร่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

วิจารณ์ พานิช

๙ ก.พ. ๖๔

  

หมายเลขบันทึก: 689386เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2021 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2021 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท