ชีวิตที่พอเพียง 3851 ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๗๔) แนวทางพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเด็กและเยาวชนควบคู่กับการจัดการศึกษาปกติ อย่าหลงประเด็น


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

เย็นวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ผมเข้าร่วมประชุมทางไกล จัดโดย สอวช. เรื่อง แนวทางพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเด็กและเยาวชนควบคู่กับการจัดการศึกษาปกติ   เป็นการประชุม ๒ ชั่วโมงที่ประเทืองปัญญามาก    ท้าทายฝ่ายปฏิบัติ ว่าจะดำเนินการตามแนวทางที่สรุปได้จากการประชุม ให้เกิดผลกระทบที่มุ่งหวัง ได้เพียงใด 

ที่จริงทั้งโจทย์ของท่านรองนายกฯ ดอน และประเด็นความเห็นของทีมงานของ สอวช. และของผู้ทรงคุณวุฒิ ที่คุยกันในวันที่ ๒๑ ตุลาคม มาถูกทาง    คือต้องพัฒนาเรื่องคุณธรรมจริยธรรมอย่างบูรณาการกับการเรียนรู้ฝึกฝนด้านอื่นๆ    ไม่พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแบบแยกส่วน    และต้องพัฒนาด้วยการปฏิบัติในชีวิตประจำวันจนเป็นนิสัย    ที่ นพ. สุริยเดว ตรีปาตี ผอ. ศูนย์คุณธรรม ใช้คำว่า “พฤตินิสัย”    โดยเน้นใช้พลังบวก หรือจิตวิทยาเชิงบวก    รวมทั้งการสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างพฤตินิสัยดังกล่าว    และต้องทำร่วมกันหลายฝ่าย คือต้องเอาใจใส่มิติทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย    ไม่หลงยกภาระให้แก่ระบบการศึกษาเท่านั้น   

ผมกลับมาคิดใคร่ครวญไตร่ตรองอย่างเอาจริงเอาจังที่บ้านสองสามวัน    แล้วบอกตัวเองว่า เรื่องนี้เราหลงประเด็นได้ง่าย    และการประชุมในวันที่ ๒๑ ตุลาคม เราก็หลงประเด็น (ข้อสรุปนี้อาจเพราะผมหลงประเด็นเองก็ได้)  

เรื่องนี้ข้อจำกัดไม่ได้อยู่ที่ไม่รู้    แต่อยู่ที่ไม่ทำ ไม่เอาใจใส่ หรือทำไม่เป็น     ปิดกั้นด้วยผลประโยชน์ของหลากหลายฝ่าย ดังระบุใน World Development Report 2018 : Learning to Realize Education’s Promise    ที่มีสาระสรุปได้ว่า ในประเทศที่การศึกษาคุณภาพต่ำ     องค์ประกอบสำคัญของระบบการศึกษา แย่งชิงทรัพยากร และผลประโยชน์ ไปจากผู้เรียน    โดยเราไม่รู้ตัว    สภาพของไทยก็เป็นเช่นนั้น    ท่านที่จะสรุปประเด็นเสนอเชิงนโยบายต่อสภานโยบาย อววน. ควรอ่าน WDR 2018 เพื่อทำความเข้าใจเชิง macro  หรือเชิง systems

การแก้ปัญหาเชิงเทคนิคตามที่คุยกันในวันที่ ๒๑ ตุลาคม จึงจะก่อผลกระทบน้อย    ส่วนที่จะก่อผลได้จริงอยู่ที่การปฏิรูประบบ    ให้การศึกษาส่งมอบผลลัพธ์และผลกระทบที่ตนให้คำมั่นสัญญาได้จริง     คือส่งมอบผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับสูงของผู้เรียน      

จะแก้ปัญหานี้ได้จริง   ต้องเอาชนะมายาคติ ของการจัดการระบบการศึกษา     ที่เป็น root cause ของความอ่อนแอ    ทั้งเรื่องคุณธรรมจริยธรรม  เรื่องความรู้ (literacies)   เรื่องทักษะจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่ (skills)    และเรื่องคุณลักษณะ (characters) เพื่อการเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า เป็นพลเมืองผู้ก่อการเพื่อสังคม (active citizen)  

เพราะเป้าหมายของการพูดคุยกันในวันที่ ๒๑ ตุลาคม ก็เพื่อตอบสนองข้อสั่งการของรองนายก ดอน ปรมัตถ์วินัย ในการประชุมสภานโยบาย อววน.    มอบหมายคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป อววน.  และ สอวช. “พิจารณาสนับสนุนการวิจัยเพื่อหาแนวทางพัฒนาและปลูกจิตสำนึกของคนให้มีคุณธรรม จริยธรรม  จิตสำนึกต่อตนเองและสังคม    ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาปกติ    เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง”

ผมเกรงว่า สอวช. และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป อววน. จะหลงประเด็นอย่างที่คุยกันในวันที่ ๒๑ ตุลาคม    จึงรีบเขียน บล็อก นี้    เพื่อกระตุกทีมงาน สอวช. ว่า    ที่คุยกันนั้น เป็นประเด็นเชิงเทคนิค ที่ในสายตาของผมมีน้ำหนักต่อเป้าหมาย (ที่ทรงคุณค่ายิ่ง) ของท่านรองนายกฯ ดอน เพียง ๑/๓    อีก ๒/๓ อยู่ที่ระบบและนโยบาย    ที่เราไม่ได้พูดกันในวันที่ ๒๑ ตุลาคม    

กล่าวคือ หากดำเนินการตามที่คุยกันในวันที่ ๒๑ ตุลาคม    ไปคิดต่อเป็นโจทย์วิจัย    ก็จะเป็นโจทย์วิจัยเชิงเทคนิค    ที่เมื่อไป implement    ก็ไปเจอตอระบบในกระทรวงฯ ที่เป็นแรงโน้มถ่วง    ขยับยาก    ตัวอย่างที่ตกลงกันเชิงเทคนิคได้จนเป็นกฎหมาย คือพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา    ที่เจอแรงโน้มถ่วงอย่างจัง   

ผมจึงขอเสนอ (ไม่รับรองว่าเป็นข้อเสนอที่ถูกต้อง) ว่า    ประเด็นวิจัยน่าจะเน้นการวิจัยเชิงระบบ (systems research)    หยิบเอาโจทย์มาจาก WDR 2018 เอามาปรับให้เข้ากับบริบทไทย    ได้โจทย์วิจัยหาทางปฏิรูประบบ    เพื่อให้เป็นระบบที่ “realize education’s promise” ได้จริง     ไม่ใช่ส่งมอบแบบลวงๆ อย่างในปัจจุบัน   

เราต้องการระบบที่ นักเรียนทุกคนบรรลุเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑    ย้ำคำว่าทุกคน    ซึ่งหมายถึงความเท่าเทียมกันทางการศึกษา     นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข    ครูทำงานอย่างมีความสุข    โรงเรียนมีการจัดการเพื่อหนุนให้นักเรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ดังกล่าว    และจัดการให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุขความกระตือรือร้น แรงบันดาลใจ  ความคาดหวังสูง    และมีการสนับสนุนสูงหรือจริงจัง (High Expectation, High Support)  

ระบบการศึกษาคุณภาพสูงระดับโลกมีตัวอย่าง ๕ ประเทศ   และคุณลักษณะสำคัญ ๘ ประการ    ตามในหนังสือ ระบบการศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก     

ในเชิงชุดความคิด ระบบการศึกษาคุณภาพสูงต้องมี Growth Mindset ทั้งในมิติของระบบ  องค์กร  และบุคคล    ซึ่งแสดงออกในทางปฏิบัติที่ CQI – Continuous Quality Improvement ในการทำงานทุกระดับ    มี double / triple learning loops ฝังอยู่ในระบบ   ทั้งระบบใหญ่และระบบย่อย  

ระบบการจัดการการศึกษาในระดับประเทศ ระดับจังหวัด  ระดับเขตพื้นที่การศึกษาต้องทำ/ไม่ทำ อะไร     เพื่อเป้าหมายนั้น    นั่นคือโจทย์วิจัย   

โจทย์วิจัยที่วินิจฉัยความอ่อนแอชั่วร้ายที่ซ่อนอยู่ในระบบ    และเสนอยาบำบัดโรคร้ายนั้นของระบบ    ควรมีน้ำหนัก ๒/๓    โจทย์วิจัยเชิงเทคนิคควรมีน้ำหนักเพียง ๑/๓  

งานวิจัยนี้ควรจัดระบบเป็น Spearhead Program    ทำงานระยะยาว    มี program chair ที่มีความสามารถสูงทั้งเชิงวิชาการและการจัดการ    ดังตัวอย่าง ศ. ดร. มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาดของโปรแกรม คนไทย ๔.๐ (ทุน สวช.)    และมีคณะกรรมการกำกับทิศทางของโครงการ  

บันทึกนี้รีบเขียนให้เสร็จในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๓ เพื่อส่งให้ทีมงานของ สอวช. นำไปพิจารณาใช้ประโยชน์    แต่กว่าจะลงใน Gotoknow ก็ปลายเดือนธันวาคม  

วิจารณ์ พานิช

๒๓ ต.ค. ๖๓    วันปิยมหาราช   


      

หมายเลขบันทึก: 687810เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2020 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2020 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท