ชีวิตที่พอเพียง 3831 ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๖๙) แผนการสอนคือเครื่องมือเรียนรู้ของครู



บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘



ในการประชุมครบรอบ ๑ ปี ของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ของ กสศ. “ยกระดับคุณภาพโรงเรียน  ลดความเหลื่อมล้ำ : ก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๓ ที่โรงแรม ทีเค พาเลซ แจ้งวัฒนะ    ช่วงบ่ายเป็นการเสวนา “กระบวนการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง”   โดยทีมประเมิน และทีมพี่เลี้ยงทั้ง ๕ ทีม    มี ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่เป็นผู้ดำเนินรายการ

คำเสวนาของ รศ. ดร. ไพโรจน์ คีรีรัตน์ หัวหน้าทีมพี่เลี้ยงของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นที่มาของชื่อบันทึกนี้  

วงเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างได้สาระ    โดยคำถามว่า จะทำให้ครูเปลี่ยนวิธีการสอนได้อย่างไร    จากการสอนแบบ passive  ไปเป็นสอนแบบ active learning    คนที่ตอบได้ตรงจุดที่สุดคือ รศ. ดร. ไพโรจน์  ผู้เป็นวิศวกร   

ท่านบอกว่า ใช้การฝึกเขียนแผนการสอนเป็นจุดเริ่มต้น    ฝึก ๑ เดือน ครูในโรงเรียนรุ่น ๑ และรุ่น ๒ ในเครือข่าย มอ. ทำได้หมด    วิธีฝึกคือให้ครูแต่ละโรงเรียนเขียน แล้วนำมา ลปรร. กันทั้ง ๗๘ โรงเรียน ออนไลน์    โดยทีมโค้ชช่วย facilitate ให้โรงเรียนที่แข็งแรงช่วยเหลือโรงเรียนใหม่    ภายในเวลา ๑ เดือนทำเป็นหมด   

จากแผนการสอน  ครูนำไปใช้จริง   ทีมโค้ชไปสังเกตห้องเรียน    แล้วสำท้อนคิดร่วมกัน    ทีมโค้ชให้หลักคิด    เท่ากับครูได้ปฏิบัติเพื่อสร้างความรู้ในตน

เครื่องมือเปลี่ยนครูคือแผนการสอน ที่ครูร่วมกันคิดและเขียนเอง แล้วครูนำไปปฏิบัติแล้วใคร่ครวญสะท้อนคิดร่วมกับโค้ชที่ไปสังเกตห้องเรียน    เกิดความรู้ ทักษะ และชุดความคิดจากการปฏิบัติของตนเอง 

นี่คือการเรียนรู้แบบ constructionism ของครู    ที่ครูเอาไปใช้กับนักเรียนได้ด้วย   

เป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจากการปฏิบัติ    แล้วใคร่ครวญสะท้อนคิดสู่ทฤษฎี    ที่เรียกว่าการเรียนรู้แบบอุปนัย (inductive method)    หรือนักเรียนคิด หรืออธิบาย ทฤษฎีเองจากประสบการณ์ของตน    เป็นการเรียนจากการคิด  โดยคิดบนฐานของประสบการณ์ตรง   

การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ทั้งนักเรียนและครู ต้องเน้นเรียนรู้แบบอุปนัย        

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ก.ย. ๖๓

631123, EEF, โรงเรียนพัฒนาตนเอง, โรงเรียน, ครู, คุณภาพการศึกษา, การศึกษาคุณภาพสูง, ความเสมอภาคทางการศึกษา, กสศ., TSQP, แผนการสอน, เรียนรู้แบบอุปนัย, inductive method, อุปนัย   

หมายเลขบันทึก: 687130เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2020 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2020 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท