ชีวิตที่พอเพียง 3841 ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๗๓) โรงเรียนพัฒนาตนเอง วิเคราะห์พี่เลี้ยง กับวิเคราะห์โรงเรียน เพื่อพัฒนาต่อเนื่อง




บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกนี้ได้จากการใคร่ครวญสะท้อนคิด (reflection) การประชุมครบรอบ ๑ ปี ของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ของ กสศ. “ยกระดับคุณภาพโรงเรียน  ลดความเหลื่อมล้ำ : ก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๓ ที่โรงแรม ทีเค พาเลซ แจ้งวัฒนะ   ช่วงบ่าย ในการเสวนา “กระบวนการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง”    ผู้ร่วมเสวนา  รศ. ดร.พิณสุดา สิริธรังศรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หัวหน้าโครงการวิจัย ติดตามและประเมินผล เสนอผลการประเมินไว้อย่างดี มีข้อมูลเพียบ    ลงท้ายด้วยข้อเสนอแนะ ๓ ข้อที่ผมเห็นด้วยทั้งหมด  

ผมสนใจผลการประเมินว่า มีโรงเรียนกลุ่มพัฒนาดีเยี่ยม ๓๔ โรงเรียนจากทั้งหมด ๒๙๐ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๑๒    และได้คุยกับคุณหมอสุภกร ผู้จัดการ กสศ. ว่า ควรหาทางใช้โรงเรียนกลุ่มนี้เป็น change agent     เพื่อหนุนให้โรงเรียนนอกโครงการที่สนใจ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ตนเอง     เป็น “โรงเรียนพัฒนาตนเอง” โดยไม่ต้องเข้าโครงการ    ซึ่งจะเป็นโรงเรียนพัฒนาตนเองที่แท้จริง     และจะเป็นการเพิ่มพลังของ Q-Network ด้วย   

หากจะให้เกิดการขยายผลดังกล่าวได้อย่างแท้จริง    คงต้องขอให้ทีม รศ. ดร. พิณสุดา วิเคราะห์กลุ่มโรงเรียนพัฒนาดีเยี่ยม เทียบกับกลุ่มอื่น    ว่ามีการดำเนินการแตกต่างอย่างไร    นักเรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ดีกว่าอย่างไร    ครูมีคุณลักษณะ สมรรถนะ และพฤติกรรมการทำงานแตกต่างอย่างไร    ผู้บริหารโรงเรียนแสดงบทบาทอย่างไร    ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร    ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาและ ศน. มีส่วนช่วยหนุนอย่างไร แตกต่างจากที่โรงเรียนกลุ่มที่เหลือได้รับหรือไม่    โดยทาง กสศ. น่าจะได้นำแนวคิดนี้เข้าปรึกษาในคณะกรรมการชี้ทิศทางโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง

สิ่งที่ผมอยากรู้คือ โรงเรียนพัฒนาดีเยี่ยมมีปฏิสัมพันธ์กับทีมพี่เลี้ยงแตกต่างจากโรงเรียนที่เหลืออย่างไร     ผมอยากรู้ความเป็นตัวของตัวเอง  และระดับการเรียนรู้จากการทำงานของโรงเรียนกลุ่มดีเยี่ยมนี้  

เพื่อให้โรงเรียนกลุ่มนี้ได้เรียนรู้ศาสตร์และศิลป์ของการเป็นโรงเรียนสมรรถนะสูง    ผมได้เสนอต่อคุณหมอสุภกรและ ดร. อุดมว่า    เนื่องจากคุณ Paul Collard จะมาช่วยงานของ กสศ. สองสามเดือนในช่วงฤดูหนาวนี้    น่าจะขอให้ท่านจัด High Functioning Classroomworkshop ให้แก่โรงเรียนกลุ่มพัฒนาดีเยี่ยม และแก่ทีมพี่เลี้ยง     ในลักษณะ training of the trainers เพื่อให้มีทีมไทยที่สามารถพัฒนาเพื่อนครูและผู้บริหารจากโรงเรียนอื่นๆ ได้    โดยปรับแปลงให้เข้ากับบริบทไทย   

อีกทักษะหนึ่งที่ กสศ. น่าจะขอให้คุณ พอล ฝึกให้แก่ทีมจากโรงเรียนกลุ่มพัฒนาดีเยี่ยม และกลุ่มพี่เลี้ยง คือ ทักษะการประเมินแบบ formative assessment + constructive feedback    ในลักษณะ training of the trainers เช่นเดียวกัน    

ขบวนการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ต้องสร้างผลกระทบกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่แค่ในกลุ่ม ๗๓๓ โรงเรียนเท่านั้น 

เพิ่มเติมวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓

ผมส่งข้อความข้างบนไปให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ    จึงได้ความเห็นเพิ่มเติมมา ๒ ประเด็น   

ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ เสนอให้ตรวจสอบให้แม่นยำ ว่าโรงเรียนพัฒนาดีเยี่ยม ๓๔ โรงเรียนนั้น ผลการพัฒนาเข้าเกณฑ์ดีเยี่ยมจริง    และเกณฑ์ที่ใช้เหมาะสม

ผู้จัดการ กสศ. นพ. สุภกร บัวสาย  เห็นโอกาสที่จะขยายการประชุมแบบที่จัดเมื่อวันที่ ๒๖ – ๒๗ กันยายน นี้    ไปเป็นการประชุมระดับชาติ ที่ผมขอตั้งชื่อสำรองไว้ว่า Thailand National School and Teacher Forum    จัดพื้นที่ให้โรงเรียนและครูเอาผลงานสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน    เลียนแบบ National HA Forum ของ สรพ.  ที่มีคนในสาขาสุขภาพลงทะเบียนจ่ายเงินเข้าประชุมเป็นหมื่น

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ย. ๖๓   เพิ่มเติม ๒๘ ก.ย. ๖๓


      

หมายเลขบันทึก: 687633เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2020 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2020 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วัฒนธรรมการทำงานที่โรงเรียนหรือหน่วยงานเบื้องบนที่เกี่ยวข้อง เน้นตามนโยบายหรือเฉพาะที่ตนเองมีโอกาสจะได้จะเสียเท่านั้น การรายงานผลก็ควรทำให้ถูกอกถูกใจเจ้าของ..คุณค่าของงานที่ทำจึงไม่ค่อยเห็น ดูประโยชน์น้อย หรือทำไปอย่างนั้นเองไม่ให้ถูกตำหนิเอาได้

สำหรับครูที่คลุกวงในอยู่ที่โรงเรียนจริงๆ จึงคิดอยู่บ่อยๆว่า อีกหลายอย่างที่โรงเรียนควรทำเสียยิ่งกว่า..ควรเน้นหรือทำก่อน ตัวอย่างชัดๆก็คือการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนของครู อาจเพราะดูเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย หรือเรื่องที่อย่างไรก็ต้องทำเป็นประจำทุกวันอยู่แล้วก็ได้ ในสายตาระดับนโยบาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท