ทำอย่างไรโรงเรียนจึงจะเป็นหน่วยทำวิจัยได้



ระหว่างเตรียมตัวประชุมคณะกรรมการอำนวยการแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานระบบบริการสุขภาพ ของ สวช.    ที่บริหารงานวิจัยโดยมี ศ. ดร. นพ. สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ เป็นประธานโปรแกรม    โดยในทางปฏิบัติ ชื่อ โครงการวิจัยการพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร   และมีโรงพยาบาลสันทราย  กับโรงพยาบาลนครพิงค์ เสนอโครงการขอรับทุน ทำงานวิจัยพัฒนาระบบบริการสุขภาพฉุกเฉินร่วมกับโรงพยาบาลลูกข่ายในจังหวัดเชียงใหม่    เป้าหมายคือการมีบริการสุขภาพฉุกเฉินแบบไร้รอยต่อในจังหวัดเชียงใหม่

เอามาเล่าเพื่อชี้ให้เห็นว่า ในระบบสุขภาพของไทย    หน่วยงานระดับพื้นที่ คือโรงพยาบาลชุมชน มีขีดความสามารถในการทำวิจัยเพื่อพัฒนางานของตนเอง    โดยต้องการกลไกสนับสนุนอย่างในกรณีของโปรแกรมบริการสุขภาพฉุกเฉินนี้    โรงพยาบาลสามารถตัดสินใจทำงานนี้ได้เองโดยไม่ต้องขออนุญาตหน่วยเหนือ

ผมอยากเห็นโรงเรียนไทยมีขีดความสามารถเช่นนี้บ้าง    ทั้งด้านขีดความสามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนางานของตนเอง    และในด้านความมีอิสระในการตัดสินใจรับทุนวิจัยเพื่อพัฒนางานของตน   ฝันของผมเป็นฝันที่สมเหตุสมผลหรือไม่    หากใช่ ทำอย่างไรจึงจะยกระดับขีดความสามารถของโรงเรียนได้   

นี่คือประเด็นเชิงระบบ ที่ควรมีการพิจารณาอย่างจริงจัง    เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย

วิจารณ์ พานิช

๑๕ พ.ย. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 687632เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2020 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2020 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการวิจัยที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานครับ เกิดประโยชน์มากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท