สัมมนาทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ ในยุคโควิด-19


หลักการและเหตุผล

ด้วยสมาพันธ์แรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยถูกผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศทำให้การผลิตรถยนต์จากค่ายต่างๆลดน้อยลงเป็นจานวนมาก อีกทั้งสถานการณ์การเมืองยังเป็นที่น่าจับตามอง และยังเป็นหัวข้อหลักในการดำเนินยุทธศาสตร์พันธกิจของสมาพันธ์ฯ

ดังนั้นคณะกรรมการบริหารสมาพันธ์แรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงและ มีการติดตามสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่องเพราะมีผลกระทบต่อภาวะความเป็นอยู่ของสมาชิกของสมาพันธ์ฯโดยตรง เพื่อให้กรรมการบริหารของสมาพันธ์และกรรมการบริหารสหภาพที่อยู่ในเครือของสมาพันธ์ฯ ได้เข้าใจถึงสถานการณ์และได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ รวมทั้งสวัสดิการที่มีอยู่และจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดสัมมนาในหัวข้อ “สัมมนาทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ ในยุคโควิด-19”
ณ อิงธาร รีสอร์ท จ.นครนายก

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้คณะกรรมการบริหารของสมาพันธ์แรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทยและผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้เข้าใจเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ และทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันและอนาคต
2. เพื่อให้คณะกรรมการบริหารของสหภาพแรงงานที่อยู่ในเครือยานยนต์ได้เข้าใจเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ และทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต
3. เพื่อให้กรรมการบริหารของสหภาพแรงงานที่อยู่ในเครือสามารถนาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างสอดคล้องกับนโยบายสมาพันธ์ฯต่อไป

ผู้เข้าร่วมสัมมนา
❖ คณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานในเครือสมาพันธ์แรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทยทุกท่าน
❖ คณะกรรมการบริหารของสมาพันธ์แรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทยทุกท่าน
❖ คณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานท่านอื่นๆที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2563 ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้รับเชิญบรรยายหัวข้อเรื่อง “การปรับตัวภาวะผู้นำยานยนต์ในสถานการณ์ปัจจุบัน” มีรายละเอียดดังนี้

Union ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ

ควรไปดูว่า Union ทำงานและไปช่วยชุมชนอย่างไร

ประเด็นแรก นอกจากดูแล Union ของฮอนด้าสำเร็จแล้ว ควรมาเป็นแนวร่วมในการพัฒนาคนร่วมกับศ.วิชา มหาคุณ

ตอนนี้ มีวิกฤติโควิด-19 เราต้องมีความหวัง ภาวะผู้นำคือ ความหวัง คุณต้องนำเงินไปช่วยสังคม

ต้องมีความสามารถในการไปช่วยสังคมไทยมากขึ้นในอนาคต

ทุกคนเป็นผู้นำได้ เราสามารถเรียนรู้ได้

เราต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ เรียนจบแล้ว เรียนผ่านดิจิตอลได้

ประเด็นที่สอง ผมมาตอบแทน Union

สมัย 40 ปีที่แล้ว อาจารย์นิคมจะตั้งสถาบันแรงงาน แต่การเมืองไม่ให้ตั้ง อาจารย์จีระจึงขอเปลี่ยนชื่อ แต่ยังทำงานแรงงานอยู่ ใช้ชื่อว่า สถาบันทรัพยากรมนุษย์  รับใช้แรงงานซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เสียเปรียบในสังคม เกิดกฎหมายประกันสังคม ก่อนหน้านี้กฎหมายประกันสังคมมีการร่างไว้แล้ว แต่มีปัญหาโครงสร้างอำนาจ จึงยังไม่ได้ออกมา

สภาล่างผ่านกฎหมายประกันสังคมออกมา

นายจ้างยอมรับอาจารย์จีระเพราะบอกว่า ถ้าให้แรงงานมีความสุข และคุณภาพชีวิต ก็จะมีผลผลิตแรงงานสูงขึ้น เป็นการชนะร่วมกัน

ถ้าไม่มีอาจารย์นิคม พลเอกชาติชาย อาจารย์ไกรศักดิ์ ก็จะไม่มีกฎหมายประกันสังคม

ในชีวิตอาจารย์จีระ หลังจากเรียนจบ ทำงานต่อที่ธรรมศาสตร์อีก 20 ปี และได้เป็นผอ.สถาบันทรัพยากรมนุษย์ 4 สมัย

จะทำอะไรต้องค้นหาความจริง รู้สถานการณ์ปัจจุบัน

จะออกนโยบายต้องตรงประเด็น ทำให้สำเร็จเป็นขั้นตอน

ตอนนี้สถานการณ์คือโควิด-19 ฮอนด้าเจอปัญหา Disruption และการประท้วง ควรดูอะไรที่ตรงตามความต้องการเรา

อาจเชิญดร.สุธี อักษรกิตติ์มาเป็นวิทยากรได้ ท่านบอกว่า รัชกาลที่ 9 บอกว่า ต้องรู้จริงและทำจริง ชนะเล็กๆ สามารถแก้วิกฤติต่างๆได้

อย่ามีแต่โครงสร้างพื้นฐานแต่ขาดจริยธรรม คุณภาพทุนมนุษย์และความสุข

โควิด-19 มาซ้อน Technological Disruption ฮอนด้าต้องคิดถึงโครงสร้างเศรษฐกิจเพราะไทยพึ่งพาเศรษฐกิจจากต่างประเทศ เมื่อเศรษฐกิจต่างประเทศไม่ดี ของไทยจึงไม่ดี กระทบความต้องการรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ การเป็น Electric car และการประกาศ carbon free

วิกฤติจัดการได้ และอันไหนต้องรอ ต้องเลือกจัดการให้ดี

การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดต้องมีการโต้ตอบระหว่างคนฟังกับคนพูด เน้นประเด็นที่เกี่ยวกับฮอนด้า จะจัดการอย่างไรให้อยู่อย่างยั่งยืนในอนาคตได้

ผู้นำที่ดีต้องจัดการวิกฤติให้ได้

วิกฤติมี 2 ประเภทหลัก

1.วิกฤติมาแล้ว มาอีก เช่น Disruption โควิด-19 การประท้วง

2.วิกฤติมาหลายรูปแบบ (Multiple Crisis) ฮอนด้ามีวิกฤติโควิด-19 สิ่งแวดล้อม ไบเดนนำเข้า Paris Accord ส่งเสริม Carbon Free

เราต้องมองไปข้างหน้า

Union ควรทำวิจัยคาดคะเนว่า

1. ฮอนด้าจะเป็นอย่างไรในอนาคต

2. Union จะเป็นอย่างไรในอนาคต

3. Union จะทำประโยชน์อย่างไรให้ชุมชนในอนาคต

อาจจะมีจินตนาการคิดนอกกรอบให้ฮอนด้า ทำให้ผู้บริหารทราบว่า Union ไม่ต้องการต่อรองเรื่องเงิน แต่ต้องการทำประโยชน์ให้ชุมชนมากกว่า

ไต้หวันออกกฎหมายว่า การปกครองท้องถิ่นต้องนำเงินเหลือมาพัฒนาฝีมือแรงงานในชุมชนด้วย

ผู้ใช้แรงงานต้องฟังผู้ทรงคุณวุฒิและนายจ้างด้วย

ถ้ามีกฎหมายคล้ายประกันสังคม ให้อบจ. อบต.พัฒนาคนต่อเนื่องในชนบท ก็จะดี

ปัญหาคือ เวลาท้องถิ่นออกเงินเอง มักถูกสตง.ตรวจ

ควรทำกฎหมายที่ทำให้ประเทศไทยเป็นสังคมการเรียนรู้ เช่น มีเงิน 2% พัฒนาคนในชุมชน

ที่ฮอนด้า ต้องเป็นผู้นำของวิกฤติ

การบริหารการเปลี่ยนแปลงซ้อนกับผู้นำและวิกฤติ

สีจิ้นผิงบอกว่า การเปลี่ยนแปลงมีความเร็ว ไม่แน่นอนและคาดไม่ถึง เช่น เรื่องโควิด-19

ขอให้นำทั้ง 3 เรื่อง ความเร็ว ไม่แน่นอนและคาดไม่ถึง แล้วนำความเป็นจริงของฮอนด้ามาจับแล้วเลือกว่า ทำอะไรก่อนหลัง ทำแบบชนะเล็กๆ เต็มไปด้วยศาสตร์พระราชา แล้วจะรอด

เรามี Data นำวิเคราะห์เป็น Information ไปสู่ความรู้ และควรหารือกันว่า อะไรคือความเป็นเลิศในฮอนด้าให้แตกต่างจากที่อื่น ต้องเก่งในสิ่งที่มีความสามารถและเก่งในการจัดการวิกฤติได้

โควิด-19

1.คือโอกาสมหาศาลที่จะปรับตัวไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่

2.เป็นการเร่งไปสู่จุดนั้นเร็วขึ้น เช่น Work from Home

ดร.ทรงวุฒิ ชนะภัย

อาจารย์จีระพูดมีนัยยะสำคัญ

กรณีศึกษาประธานาธิบดีสหรัฐ แสดงถึงการเผชิญวิกฤติ

สรุปจากที่ฟังอาจารย์จีระได้ดังนี้

1.เราต้องเรียนรู้ ต้องขอสวัสดิการแห่งการเรียนรู้ให้มากขึ้น

2.ควรมองภาวะความเป็นจริง ถ้าขอเบสอัพ และโบนัส ต้องตรงประเด็น

3.ผู้นำแรงงานมักไม่ใช้ภาษาอังกฤษ ควรส่งเสริมให้ผู้นำแรงงานได้ใช้ภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น เพราะประเทศไทยอยู่ในโลกที่มีความร่วมมือระดับโลก

เวลาเขียนข้อเรียกร้องสวัสดิการควรเน้นการถ่ายโอนความรู้

4.การสร้างแรงบันดาลใจให้อยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำอย่างไร

ต้องคิดว่า จะทำอะไรต่อไป ไม่ต้องรอให้ใครบอก คิดให้ตรงประเด็นมากที่สุด

ต้องยอมรับความจริง เห็นจริง

ต้องตรงประเด็น

ความคิดที่เขียนขึ้นมา ต้องดูแลครอบครัวและสังคมด้วย

ช่วงถาม-ตอบ

ดร.ทรงวุฒิ

บางบริษัทได้เบสอัพ 75% เป็นไปได้ไหมว่า โบนัสปีนี้จะดี

ดร.จีระ

ได้ดูตัวเลข ถ้าเทียบกับภาคท่องเที่ยว ส่งออก และสายการบิน เขาได้ค่อนข้างจะน้อย

ต้องดูปัจจัยในอนาคต

  1. วัคซีน มาได้เร็ว มีการลงทุนมหาศาลจากอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย หุ้นไฟเซอร์ขึ้นมหาศาล
  2. ปีหน้า ที่ฮอนด้าน่าจะรักษาสถานการณ์รายได้ ส่วนโบนัสของที่นี่เฉลี่ยมากกว่าหลายแห่งแต่อาจแพ้บริษัทเงินทุน ดูตัวเลขแล้ว ความต้องการมอเตอร์ไซค์ในประเทศขึ้นกับ GDP ประเทศ  ถ้าไทยพัฒนาความต้องการในประเทศให้เชื่อมโยงกับการส่งออก ก็จะฟื้นตัวได้ จีนและเวียดนามทำได้ดี

ดร.ทรงวุฒิ

GDP ตกลงมาบ้าง ก็มีผลต่อโบนัส อาจนำไปใช้เจรจาต่อรอง

ดร.จีระ

ถ้าอเมริกา ยุโรปดีขึ้น เศรษฐกิจโลกจะดีขึ้น

ขณะรอเศรษฐกิจฟื้น ควรเน้น upskill, reskill คิดถึงกฎหมายพัฒนาความรู้ให้สังคมไทย

คุณมนัส โกศล

GDP มวลรวมดีมาจากธุรกิจใหญ่ แต่รากหญ้าไม่ดี

GDP ติดลบ ทางออกของประเทศจะเป็นอย่างไร

ดร.จีระ

GDP วัดรายได้สินค้า บริการของประเทศ

ทางออกต้องดูว่า รายได้คนจนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเท่าไร

ถ้าใช้เศรษฐกิจพอเพียง จะส่งเสริมการผลิตและการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น

ฮอนด้าควรไปสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้กับชุมชน

ตอนนี้ Union ต้องช่วยลดความเหลื่อมล้ำ อาจช่วยซื้อผักผลไม้จากชุมชนโดยตรง โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

ดร.ทรงวุฒิ

สหภาพแยก GDP เป็นส่วนๆ

เวลาที่ทำงานกับบัญชี พิจารณาข้อเรียกร้อง ต้องดูว่า บริษัทขยายตัวเท่าไร จะเกิดวิธีการทำงานที่เชื่อมความสัมพันธ์ ราคามอเตอร์ไซค์เชื่อมโยงกับผลผลิตการเกษตรซึ่งเป็นรายได้กลุ่มคนซื้อ

ควรศึกษาการคำนวณ GDP ที่เป็น Segment ดูว่า GDP บริษัทขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์

ดร.จีระ

ที่คุณมนัสพูด ก็อยากให้ Union คิดถึงความเหลื่อมล้ำของประเทศ

คุณมนัส

เวลาฮอนด้าพิจารณาข้อเสนอ ใช้ GDP ประเทศหรือ Sector

ดร.ทรงวุฒิ

ทุกองค์กรมักใช้ GDP ประเทศ

ต้องศึกษาค่า GDP ขององค์กรต่อพนักงานเท่าไร

ต้องดูอายุการทำงาน อัตราการขึ้นเงินเดือน ดูไปถึงจนเกษียณ ต้องคำนวณอัตราการขาย เช่น spare part  แล้วจะทำนายได้ว่า จะขึ้นเงินเดือนได้เท่าไร

ต้องทำ cost down ด้วย

อาจารย์จีระบอกว่า สหภาพแรงงานไม่ใช่ทำเพื่อแรงงานอย่างเดียว แต่ต้องช่วยลดความเหลื่อมล้ำของพี่น้องด้วย

หมายเลขบันทึก: 687626เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2020 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2020 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท