ชีวิตที่พอเพียง ๓๘๘๖. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๘๐) เริ่มเห็นผลกระทบจากโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

บันทึกที่ ๗๗

บันทึกที่ ๗๘

บันทึกที่ ๗๙

ผมเล่าเรื่องโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองของ กสศ. ต่อเนื่องเป็นเวลาปีเศษ ไว้ที่ (๑)    ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับทิศของโครงการ ผมเฝ้ามองอย่างใจจดใจจ่อ    ว่าโครงการนี้จะก่อผลต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยได้สักแค่ไหน    และจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้จริงหรือไม่    เพราะโครงการนี้ได้รับการออกแบบให้เป็นโครงการนำร่อง    ดำเนินการในโรงเรียนประมาณร้อยละ ๑๐ ของโรงเรียนที่ดูแลนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาส    ที่เป็นโรงเรียนขนาดกลางในชนบท   มีเป้าหมายแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของผลการเรียนระหว่างโรงเรียนในเมืองกับในชนบทที่ต่างกันถึง ๒ ปีการศึกษา  วิเคราะห์จากผลการสอบ PISA 2018    โดยหวังว่าโรงเรียนกลุ่มนี้อีกร้อยละ ๙๐ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

เป็นยุทธศาสตร์ “ทำน้อย ได้มาก” ที่ท้าทายยิ่ง

วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๔ กสศ. ได้รายงานความคืบหน้าของโครงการนี้ต่อคณะกรรมการบริหาร กสศ.    มีตัวเลขและการกระจายโรงเรียน    รวมทั้งจำนวนโรงเรียน จำนวนนักเรียน และจำนวนครู ที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการนี้ตามในรูป

จะเห็นว่า  โครงการนี้เข้าไปยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนประมาณ ๑.๙ แสนคน    จากจำนวนนักเรียนในโรงเรียนขนาดกลางประมาณ ๘ พันโรงเรียน  จำนวนประมาณ ๒ ล้านคน

ในการนำเสนอ ดร. อุดม วงษ์สิงห์ ผอ. สำนักพัฒนาครูและโรงเรียน ได้ยกตัวอย่างโรงเรียนที่มีการพัฒนาอย่างน่าชื่นชมหลายโรงเรียน   

เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๔ มีการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศของโครงการ    มีวาระสำคัญคือ การนำเสนอการดำเนินการและผลที่เกิดขึ้นของทีมพี่เลี้ยงทั้ง ๑๑ ทีม    ในฐานะประธานคณะกรรมการ ผมได้ขอทำความตกลงให้ทีมพี่เลี้ยงอยู่ฟังทีมอื่นด้วย    เพื่อเรียนรู้จากกันและกัน ระหว่างทีมพี่เลี้ยงหรือโค้ช    และเมื่อจบการประชุมก็เห็นได้ชัดเจนว่า    ทีมพี่เลี้ยงมีการหยิบยืมวิธีการของทีมอื่นไปประยุกต์ใช้ในเครือข่ายของตนด้วย      

ข้อซักถาม และข้อเสนอแนะที่กรรมการกำกับทิศให้แก่แต่ละทีมพี่เลี้ยง นอกจากช่วยให้ทีมนั้นได้เรียนรู้ ทีมอื่นก็ได้เรียนรู้ด้วย   

ในตอนจบของการนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร กสศ. เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ดร. อุดม ได้ทิ้งประเด็นท้าทายไว้ ๕ ข้อดังนี้

ผมจึงเสริมประเด็นที่ ๒  การขยายผล ต่อที่ประชุม เป็นข้อสังเกตว่าหน่ออ่อนสู่การขยายผลกำลังเริ่มผลิ    จากข้อมูลที่ได้จากการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ เมื่อวันที่ ๑๕  รวม ๖ ประการคือ

  1. 1. ท่านรองเลขาธิการ กพฐ. ดร. กวินเกียรติ นนท์พละ เป็นกรรมการกำกับทิศด้วย    เมื่อได้รับรู้ผลที่เกิดขึ้น    ท่านก็ขอให้ช่วยสรุปประเด็นสำหรับท่านจะนำไปขยายผลต่อ ในการทำงานของ สพฐ. 
  2. 2. ทีมพี่เลี้ยงหลายทีมเล่าว่า เมื่อมีข่าวเล่าลือ เรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนที่เข้าโครงการ    มีทีมงานในโรงเรียนนอกเครือข่ายมาขอเรียนรู้   ทีมที่เล่าเช่นนี้คือ มูลนิธิสตาร์ฟิช  ลำปลายมาศพัฒนา  และ มอ.   ทีม มอ. ถึงกับได้ทำงานให้แก่มหาวิทยาลัย ในการเข้าไปทำหน้าที่พี่เลี้ยงพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส    เป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการ
  3. 3. ทีมพี่เลี้ยงส่วนใหญ่ ดึงศึกษานิเทศก์ในพื้นที่    และทีมงานจากเขตพื้นที่การศึกษา มาร่วมงาน   
  4. 4. ในรุ่นที่ ๒ มีทีมโค้ชจาก สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเขต ๒ สุรินทร์    ที่เมื่อมารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงาน ก็พบว่าดำเนินการได้ดี    เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงจากภายในระบบของ สพฐ. เอง    ทำให้มีความหวังว่า หากมีสภาพแวดล้อม และการสนับสนุน ที่เหมาะสม    หน่วยงานในพื้นที่ก็สามารถพัฒนากันเองได้
  5. 5. มีการใช้ DE เป็นเครื่องมือเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่ม stakeholders   ทั้งในระดับกลุ่มทีมพี่เลี้ยง  ระดับเครือข่ายโรงเรียนของแต่ละทีมพี่เลี้ยง   และระดับโรงเรียน    ซึ่งจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง    ในการนำเสนอของบางทีมพี่เลี้ยง ได้ประยุกต์ใช้ DE ในการตั้งเป้าหมายของโรงเรียน    ทำให้เป็นเป้าหมายของ stakeholders ของโรงเรียน คือ ครู ผู้อำนวยการ ผู้ปกครอง กรรมการโรงเรียน และนักเรียน   
  6. 6. เมื่อมีกลไกให้ทีมพี่เลี้ยงได้พบปะกัน และเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน    ก็พบว่า มีการหยิบยืมเครื่องมือหรือวิธีการของทีมอื่น เอาไปปรับใช้    ทำให้นวัตกรรมการเรียนรู้แพร่หลายและงอกงาม    

ที่จริง ยังมีโครงการต่อเนื่องจากโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง    ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อขยายผลของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองอีก ๕ โครงการ ได้แก่

  • โครงการสนับสนุนโรงเรียนที่มีผลสำเร็จสูงในการพัฒนาคุณภาพเชิงลึกเพื่อ เป็นแกนนำหลัก ในการขยายผลไปยังโรงเรียนเครือข่าย
  • โครงการสนับสนุนการถอดบทเรียนและวิเคราะห์ปัจจัยสำเร็จของโครงการ
  • สนับสนุนการวิจัย ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ในระดับสถาบันเครือข่าย 11 เครือข่าย และระดับโรงเรียน 727 แห่ง
  • พัฒนาระบบสารสนเทศ (Q-info) และสนับสนุนการใช้ฐานข้อมูล เพื่อการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นนวัตกรรมการบริหารโรงเรียน
  • สนับสนุนการบริการจัดการและจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับ สถาบันเครือข่าย ภูมิภาค และโรงเรียนเครือข่าย

ผมได้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สคส. ว่า    หนทางยังอีกยาวไกล ที่จะต้องช่วยกันรดน้ำพรวนดินหน่ออ่อนเหล่านี้    ให้เติบโตขยายผล    และทำให้ดินดี มีหน่อใหม่ หรือเมล็ดพันธุ์ใหม่ งอกขึ้นอีก    และได้เสนอว่า สพฐ. ควรส่งสัญญาณไปยังโรงเรียนให้เรียนรู้และดำเนินการตามแนวนี้ได้    รวมทั้ง สพฐ. ควรได้นำองค์ความรู้จากโครงการนี้ไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ของระบบการศึกษาไทย

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ม.ค. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 688805เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2021 18:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2021 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท