ชีวิตที่พอเพียง ๓๘๗๖. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๗๘) ใช้พลังข้อมูลกระตุ้นให้โรงเรียนพัฒนาตนเอง


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

บันทึกที่ ๗๗

บ่ายวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ ผมเข้าร่วมฟังผลการดำเนินการ โครงการศึกษาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้เรียนและคุณภาพโรงเรียนร่วมกับหน่วยพัฒนาโรงเรียน ๕ เครือข่าย ที่ กสศ.   โดยโครงการนี้ มูลนิธิสดศรีฯ ดำเนินการ  ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก กสศ.      

งานนี้เป็นการใช้เทคโนโลยี big data analytics  วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารแผนการสอน ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่มูลนิธิสดศรีฯ พัฒนาขึ้น ที่เรียกชื่อว่า Skills Visualization   เพื่อดูว่า แผนการสอนสะท้อนทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ หรือไม่ แค่ไหน   

แสดงผลออกมาบน dash board   ให้โรงเรียนและครูเข้าไปตรวจสอบข้อมูลของตนได้    ว่าแผนการสอนของตนมีประเด็นของทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ มากน้อยเพียงใด   เพื่อใช้เป็นข้อมูลป้อนกลับให้ครูนำไปใช้ในกระบวนการ PLC ปรับปรุงแผนการสอน    เพื่อยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน

ผมชี้ให้ที่ประชุมเห็นว่า skills visualization เป็นเครื่องมือช่วยให้ครูเห็น 21stCentury Skills ในกระดาษ (ในข้อมูลดิจิทัล) หากจะให้มีพลังยิ่งขึ้นต้องหาทางให้ได้ข้อมูลว่า การดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการสอนนั้ เกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ในตัวนักเรียนด้านใดบ้าง และแค่ไหน     โดยจัดหาเครื่องมือให้ครูใช้ประเมินนักเรียนทุกๆ ๓ เดือน ที่เป็นวงรอบที่ครูอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง    โดย กสศ./วสศ. มีเครื่องมือวัดที่ดัดแปลงมาจากเครื่องมือของ OECD ให้เอาไปใช้ได้    เมื่อครูเอาไปวัด และ  ส่งข้อมูลให้ทีมมูลนิธิสดศรีฯ จัดทำ skills visualization   ก็จะได้เห็นทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ในตัวเด็ก   

ครูก็จะได้ข้อมูลป้อนกลับให้เรียนรู้ยกระดับไปอีกขั้นหนึ่งว่า    ที่ออกแบบแผนการสอนที่มีมิติของทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ สูงนั้น    ตนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้พัฒนาทักษะในตัวเด็กครบด้านไหม เด็กคนไหนได้เป็นอย่างดี    คนไหนยังไม่ค่อยได้    ครูก็จะสามารถใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนการสอนของตนให้ นักเรียนได้พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ถ้วนทั่วทุกคน

นี่คือเครื่องมือหนึ่ง ที่จะช่วยหนุนให้โรงเรียนมีการเรียนรู้ยกระดับเป็น โรงเรียนพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่อง

กสศ. และ มูลนิธิสดศรีฯ จะร่วมกันจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนผลการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ให้แก่กลุ่มโรงเรียนในเครือข่าย TSQP   ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๔   เพื่อเผยแพร่เครื่องมือช่วยโรงเรียนพัฒนาตนเอง ชิ้นนี้

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ธ.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 688554เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2021 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2021 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท