ชีวิตที่พอเพียง 3871 ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๗๗) คณะอนุกรรมการกำกับทิศทาง วสศ. ควรทำงานอย่างไร


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

เช้าวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ มีการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับทิศทาง สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.)    ที่ผมคิดว่า    มีประเด็นสำคัญยิ่งคือ    วสศ. จะปรับตัวอย่างไร เพื่อสนองการปรับตัวของ กสศ. ตามมติคณะกรรมการบริหาร กสศ. เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓   ที่ให้นโยบายว่า กสศ. ไม่ทำหน้าที่แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาทั้งหมด    แต่ทำงานร่วมกับภาคี ในการ (๑) ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ต้นแบบ ระบบข้อมูล รวมทั้ง (๒) เพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาของประชากรด้อยโอกาส    ซึ่งผมตีความว่า กสศ. ทำหน้าที่ catalyst ของกระบวนการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา    ที่จะต้องดำเนินการโดยระบบใหญ่ของประเทศในภาพรวม  

ในฐานะประธานอนุกรรมการกำกับทิศฯ วสศ.    ผมรู้สึกว่า ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการทำหน้าที่ให้คำปรึกษามากกว่ากำกับทิศ    เพราะหากกำกับทิศจริงจัง ต้องพิจารณาประเด็น priority ของงาน    ว่าจะเลือกทำอะไร ไม่ทำอะไร    ภายใต้การคิดเชิงคุณค่า    ซึ่งในที่นี้คือคุณค่าต่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา   

ในฐานะที่เป็นสถาบันวิจัย ต้องตั้งคำถามว่า โจทย์วิจัยใดบ้างที่จะสร้างผลกระทบยกระดับความเสมอภาคทางการศึกษาในลักษณะลงทุนน้อย ทำงานน้อย แต่ได้ผลกระทบสูง    ผมได้รับการสั่งสอนว่าอย่าหลงทำตัวเป็นคน “โง่แล้วขยัน”    แต่ให้หัดเป็นคน “ฉลาดและขี้เกียจ”    ซึ่งหมายความว่าเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง    เน้น Do the right things   อย่าแค่ Do the things right ซึ่งก็คือเลือกงานและวิธีทำงาน ที่ทำงานน้อย ก่อผลกระทบสูง   

ทำหน้าที่ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร กสศ.  และประธานอนุกรรมการกำกับทิศฯ วสศ.  มาประมาณ ๒ ปี    จมูกผมได้กลิ่นว่า จะถูกตั้งคำถามว่าเงินที่ วสศ. ใช้ไปปีละเป็นร้อยล้านบาทนั้น    คุ้มค่าไหม ขอหลักฐาน    เพราะสมัยผมเป็น ผอ. สกว. เมื่อกว่า ๒๐ ปีมาแล้ว    ถูกคนตั้งตัวเป็นศัตรูเขียนเล่นงานแบบยกเมฆไปลง นสพ. ไทยรัฐ  และ the Nation   ว่า สกว. ใช้เงินฟุ่มเฟือย    โชคดีที่ผมระมัดระวังเรื่องการใช้เงินมาก    จึงตอบคำถามต่อสาธารณชนได้สบาย (ไม่ได้ตอบไทยรัฐ)    รวมทั้งนักวิจัยก็ช่วยกันให้ข้อมูล ว่าที่ไทยรัฐโจมตีนั้น ไม่จริง    นี่คือประเด็น ความระมัดระวังในการใช้เงิน    เป็นประเด็นที่สอง ที่คณะอนุกรรมการกำกับทิศฯ น่าจะช่วยได้    ว่า วสศ. วางระบบไว้อย่างไร   

ประเด็นที่สาม ที่คณะอนุกรรมการกำกับทิศน่าจะช่วย คือ วิธีการจัดการคุณภาพของงานวิจัย    ทั้งช่วงต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของงานวิจัย    ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมมีประสบการณ์ ๘ ปี    และเป็นผู้วางระบบไว้ที่ สกว. ร่วมกับผู้บริหารท่านอื่นๆ  และผู้ทรงคุณวุฒิที่มาให้คำปรึกษา   

ประเด็นที่สี่ คือ การจัดการผลกระทบของงานวิจัย    ที่จะต้องมีการดำเนินการหลายรูปแบบ    ซึ่งสำหรับในยุคนี้ ต้องไม่ลืมสื่อสังคม    แต่ก็ต้องผ่านสื่อในรูปแบบอื่นๆ ด้วย    รวมทั้งจัดทำเอกสาร policy brief ที่สั้นกระชับเข้าใจง่ายและมีพลัง   

 มาถึงตอนนี้ ผมมีความรู้เพิ่มขึ้นว่า การจัดการผลกระทบต่อระบบการศึกษา ในลักษณะของผลกระทบด้านนโยบบาย ที่ดีที่สุดน่าจะได้แก่เครื่องมือ DE  

ประเด็นที่ห้า คือ capacity building ของพนักงาน    เพื่อ upskill ให้ทำหน้าที่จัดการงานวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ และประสิทธิผล    

ในการประชุมมีวาระหลักคือ กลยุทธการดําเนินงานของสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2565 ที่ทาง วสศ. เตรียมมาเสนออย่างดีมาก  เพื่อขอคำแนะนำ    โดยอิงข้อเสนอของบริษัทที่ปรึกษา Roland Berger ที่แนะนำแนวทาง intervention value chain    แล้ว วสศ. นำเอา potential partner เข้าใส่ในแต่ละจุดของ value chain   ซึ่งในประเด็นนี้ผมให้ข้อสังเกตว่า ต้องทำความรู้จักแต่ละ potential partner ให้ดี   ว่าเขาทำงานในมิติที่ลึกและจริงจังเพื่อส่วนรวมจริงๆ แค่ไหน    นอกจากนั้น ต้องแยกแยะให้ชัดว่าภาคีเหล่านั้น ใครเป็นภาคีกับ กสศ. เพื่อเป็นฝ่ายรับผลการทำงานของ กสศ.   ใครเป็นภาคีร่วมสร้างสรรค์แท้จริง     

ทีมงาน วสศ. เอาโมเดล Valley of Death ที่เสนอโดย Osawa & Miyazaki (2006) (๑)ที่ได้รับการแนะนำจากบริษัทที่ปรึกษา มาเสนอว่าจะใช้ในการทำหน้าที่ขับเคลื่อนเชิงนโยบาย    ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมการ    และผมมีความเห็นว่า ประเด็นสำคัญคือการดำเนินการตามโมเดลนั้น ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการประยุกต์ใช้ในบริบทไทย      

ทีมงานของ วสศ. ได้คิดแนวทางการทำงานในปี ๒๕๖๕ มานำเสนออย่างดีมาก    บนแนวทาง policy value chain   คืองานทุกอย่างของ วสศ. จะต้องดำเนินเพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบาย    ที่ทางรัฐบาลและหน่วยงานหลักด้านการศึกษา จะต้องเป็นผู้ Implement    โดย กสศ. ต้องร่วมกับภาคีทำงานด้าน policy advocacy อย่างจริงจังด้วย

หน้าที่ของคณะอนุกรรมการกำกับทิศทาง วสศ. จึงเป็นการแนะนำการปรับปรุงข้อเสนอที่ทำมาดีแล้วให้ชัดเจนรัดกุมยิ่งขึ้น    และแนะนำวิธีทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ความเสมอภาคของผลลัพธ์การเรียนรู้ ของเด็กไทยอย่างแท้จริง    โดยที่ต้องพัฒนาทักษะการทำงานให้บรรลุผลผ่านการทำงานวิจัยเชิงนโยบาย   โดยมีภาคีร่วมมือเป็นพลังสำคัญ    ที่สำคัญคือต้องรู้เท่าทันว่า บางภาคีอาจเป็นพลังลบ    ต้องไม่ตกหลุมพฤติกรรมของภาคีนั้น    ต้องคบเขาแบบแยกแยะเลือกคบเฉพาะบทบาทด้านบวก  

ทีมงานของ วสศ. นำเสนอแบบมีข้อมูลประกอบอย่างดี    ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า     ในข้อมูลเหล่านั้น มีพลังซ่อนอยู่ หากเราใคร่ครวญสะท้อนคิดอย่างลึกต่อข้อมูลเหล่านั้น    โดยตั้ง ๔ คำถาม คือ  (๑) มีข้อมูลใดที่น่าสงสัยความถูกต้อง    มีหลักฐานอะไรบ้าง   (๒) มีประเด็นวิจัยเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อสรุปเหล่านั้นบ้างไหม เพราะเหตุใด   (๓) เอาข้อมูลนั้นไปคิดโจทย์วิจัยที่มีคุณค่าต่อการพัฒนายกระดับคุณภาะผลลัพธ์การเรียนรู้ และยกระดับความเท่าเทียมทางการศึกษา ได้อย่างไรบ้าง    (๔) จะนำข้อมูลในเอกสารและ PowerPoint ที่นำเสนอมา reflect ร่วมกันในหมู่ทีมงานของ วสศ. เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนาทักษะของบุคลากรได้อย่างไร  

ผมได้เสนอต่อที่ประชุมว่า หาก ผอ. วสศ. ต้องการ ผมยินดีไปร่วมสร้าง learning platform (PLC) แก่ทีมงานของ วสศ.   แบบเดียวกับที่เคยช่วยทำให้แก่ SCBF เมื่อราวๆ สิบปีที่แล้ว ทำอยู่ราวๆ สองปี    ทำให้ SCBF เป็น Learning Organization             

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ธ.ค. ๖๓      

  

      

หมายเลขบันทึก: 688427เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2021 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2021 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท