ชีวิตที่พอเพียง ๓๘๘๑. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๗๙) คิดต่างเรื่องภารกิจดูแลความเสมอภาคทางการศึกษาของประเทศ


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

บันทึกที่ ๗๗

บันทึกที่ ๗๘

บ่ายวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ ผมเข้าร่วมประชุม คณะกรรมการบริหาร กสศ.    ตั้งแต่เวลา ๑๓.๓๐ น. จนถึง ๑๘.๓๐ น.   โดยเข้าประชุมทาง ออนไลน์ เนื่องจากการระบาดของโควิด รุนแรงขึ้น    เมื่อหมดวาระตามปกติ ก็มีการเสนอวาระพิเศษเรื่องภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๓    ผ่านแผนปฏิรูปประเทศ ฉบับปรับปรุง    ที่ฝ่ายเลขานุการกิจสรุปมาเสนอดังนี้




จะเห็นว่ามีกิจกรรมสำคัญด้านการศึกษาที่ควรเร่งรัด ๕ ด้าน    ด้านแรกคือ “การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย”    โดย กสศ. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก   

ทีมผู้บริหารและคณะกรรมการตกใจว่าภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับยุทธศาสตร์ใหม่ของ กสศ. ที่คณะกรรมการบริหารเพิ่งมีมติเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ให้ กสศ. ทำหน้าที่เป็น catalyst เพื่อกระตุ้นให้เกิดการกำเนินการเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา    และผมเขียนเล่าไว้ในบันทึกชุด “ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” บันทึกที่ ๗๕ (๑)   

เรื่องนี้เข้าที่ประชุมเมื่อการประชุมล่วงเลยเวลา ๑๘ น.   กรรมการล้าแล้ว    มีการอภิปรายกันว่าจะต้องค่อยๆ คิดหาทางรับมือภารกิจนี้    และมีการอภิปรายไปในทางที่ว่า ภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นวิกฤติที่จะต้องค่อยๆ ช่วยกันคิดวิธีตั้งรับ

ผมเสนอที่ประชุมว่า ผมคิดต่าง    ผมมองว่ามติ ครม. ดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้ กสศ. ทำหน้าที่ catalyst ให้ระบบต่างๆ ในสังคมไทย รู้เท่าทัน root cause ของความไม่เสมอภาคทางการศึกษา    เป็นโอกาสให้ กสศ. มีความชอบธรรมในการเชิญภาคี มาหารือกัน และร่วมกันใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เสนอผ่านสภาพัฒน์ฯ ให้รัฐบาลมีมาตรการเชิงระบบ    เพื่อขจัด root cause ซึ่งเป็นเรื่องที่เลยขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ กสศ.   

เพราะ root cause อยู่ในระบบการบริหารการศึกษาของประเทศ    และอยู่ในระบบสังคมของประเทศ    ภารกิจของ กสศ. เน้นเข้าไปแก้ไขที่ตัวเด็ก   ไม่สามารถเข้าไปจัดการ root cause ได้  

ตัวอย่างของการไปไม่ถึง root cause คือเรื่องการแก้ไขปัญหาเด็กจากครอบครัวยากจนรุนแรง หลุดออกจากระบบการศึกษา    ตามที่เสนอโดยบริษัทที่ปรึกษา Roland Berger ว่าให้โฟกัสที่เด็กจากครอบครัวยากจน ๑๕% ล่าง ดังรูป  

จากรูปข้างบนจะเห็นว่า เด็กและเยวชนอายุ ๓ - ๒๔ ปี จากครอบครัวยากจนที่สุดร้อยละ ๑๕   มีจำนวน ๒.๘ ล้านคน   มีถึง ๑.๕ ล้านคน หรือเกินครึ่ง อยู่นอกระบบการศึกษา    มีการพูดกันว่า ต้องหาทางไม่ให้เด็กเหล่านี้หลุดออกไปจากระบบการศึกษา    ทำให้ผมคิดในใจระหว่างการประชุมว่า    ภายใต้สมมติฐาน (ละไว้ในฐานเข้าใจ) ว่าวิธีดูและเด็กเหล่านี้ของครูและโรงเรียนยังคงรูปแบบปัจจุบัน    เด็กเหล่านี้ส่วนหนึ่ง (มากแค่ไหนเป็นโจทย์วิจัย) อาจมองว่า โรงเรียนเป็นนรกสำหรับเขา     การดำเนินการให้เขาอยู่ในโรงเรียนที่เป็นนรกอยู่ต่อไป ไม่น่าจะถูกต้อง

จึงเกิดคำถามวิจัยว่า สำหรับเด็กจำนวน ๑.๕ ล้านคนนี้ โรงเรียนและครูแบบไหนที่เป็นสวรรค์สำหรับเขา    ที่จะดึงดูดให้เขาเข้าและอยู่ในโรงเรียนจนจบการศึกษา    นี่คือวิธีคิดแบบเอาเด็กเป็นตัวตั้ง    ให้โรงเรียนเป็นตัวแปร    แทนที่จะโรงเรียน (แบบเดิมๆ) เป็นตัวตั้ง    ให้เด็กเป็นตัวแปร   

เด็กจากครอบครัวยากจนพิเศษ น่าจะมีปัจจัยประกอบต่างไปจากเด็กทั่วๆ ไป ที่ต้องการการทำความเข้าใจมากกว่าที่วงการศึกษาไทยเข้าใจ

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ธ.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 688672เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2021 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2021 07:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท