ชีวิตที่พอเพียง ๓๘๙๓. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๘๑) โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นเดินหน้า



บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

บันทึกที่ ๗๗

บันทึกที่ ๗๘

บันทึกที่ ๗๙

บันทึกที่ ๘๐



ผมเล่าเรื่องโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ต่อเนื่องเป็นเวลาปีเศษ ไว้ที่ (๑) ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการกำกับทิศของโครงการ ผมเฝ้ามองอย่างใจจดใจจ่อ    ว่าโครงการนี้จะก่อผลต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยได้สักแค่ไหน    และจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้จริงหรือไม่    เพราะโครงการนี้จับที่ความไม่เสมอภาคหลายด้าน ทั้งด้านโรงเรียนที่จะรับครู(รักษ์) ถิ่นไปทำงาน  ด้านตัวนักศึกษาครูรัก(ษ์) ถิ่น   และด้านภูมิลำเนาของผู้รับทุน   

วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๔ ผมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับทิศของโครงการ    ได้เห็นความก้าวหน้าของโครงการ ในการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษาที่รับทุนรุ่นแรก    และได้รับรู้ข้อมูลด้านความยากจนของครอบครัวนักเรียนที่อยู่ในขั้นตอนการคัดกรอง รุ่น ๒ ว่าทุกคนยากจน (รายได้ครัวเรือนต่ำกว่าเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท)    โดยเป็นยากจนพิเศษ กับยากจนธรรมดา ครึ่งต่อครึ่ง     

ปัจจุบันโครงการนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกนักเรียนรุ่น ๒   และเตรียมออกแบบการดำเนินการรุ่น ๓    มีข้อค้นพบเรื่อง  คนยากจนแบบที่ฟังแล้วน้ำตาคลอ    และน่าแปลกใจที่พบมากใน ๓ จังหวัดภาคใต้    แต่ในบางพื้นที่หาไม่ได้  เช่นที่เกาะสมุย    และแปลกที่ในภาคอีสานก็หายาก    ทำให้การคัดกรองเด็กยากจนที่จบ ม. ๖ มารับทุนต้องดำเนินการถึง ๔ รอบ 

โปรดสังเกตว่า กสศ. มีการทำงานแบบมีการเรียนรู้และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา   

รุ่นที่ ๑  จัดการโดย ๑๑ สถาบัน รวม ๓๒๘ คน    เรียนแล้ว ๑ เทอม และผลการเรียนออกแล้ว ใน ๑๐ สถาบัน    เห็นผลการเรียนแล้วเบาใจ    มีได้เกรดต่ำกว่า ๒.๕ เพียง ๕ คน    โครงการมีข้อกำหนดว่า ต้องมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า ๒.๕   สองเทอมติดต่อกัน จึงจะได้รับทุน   มีรายละเอียดเรื่องการเรียนและการตัดเกรดในแต่ละมหาวิทยาลัย มากมายหลากหลายประเด็น 

รุ่นที่ ๒ อยู่ระหว่างการคัดเลือกนักเรียน ๓๐๑ คน    ต้องมีการผ่อนผันเกณฑ์บ้าง เล็กๆ น้อยๆ      

 ถึงตอนนี้ มีสถาบันผลิตครูร่วมในโครงการ ๑๕ สถาบัน  

วาระหลักของการประชุมอยู่ที่การเตรียมดำเนินการรุ่น ๓    ซึ่งเรามีข้อมูลจากประสบการณ์ปีเศษเอามาปรับวิธีการดำเนินงานให้เหมาะสมตามพลวัตของโรงเรียนและครู    คือมีโรงเรียนขนาดเล็กถูกยุบ หรือกำลังจะถูกยุบในไม่ช้า     รวมทั้งเรื่องการเกษียณ และการขอย้ายของครูก็มีอัตราสูงมาก สำหรับโรงเรียนในกลุ่มเป้าหมาย    วาระนี้เชื่อมโยงกับdkiทำงานของ สพฐ. มาก    ซึ่งก็เชื่อมโยงกับนโยบายทางการเมืองด้วย   

ฟังจากการปรึกษาหารือและออกข้อคิดเห็นในที่ประชุม    ผมคิดว่าโครงการนี้น่าจะมี spillover effect ในหลากหลายด้าน    โดยเฉพาะการวางแผนการทำงานอย่างระมัดระวังรอบคอบ    รวมทั้งดำเนินการอย่างซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา เพื่อเป้าหมายหลัก    ถือเป็นตัวอย่างวิธีปฏิบัติงานที่ดีให้แก่วงการศึกษาได้   

สาระหลักของการหารือ คือควรปรับจำนวนผลิตปีที่ ๓ และ ๔ ให้เป็นรุ่นละ ๔๕๐ คนหรือไม่    เพื่อให้ผลิตครบ ๑,๕๐๐ คนเร็วขึ้น ๑ ปี   รวมเวลาของโครงการ ๙ ปี    คือถึงปี พ.ศ. ๒๕๗๒    และหากติดตามรุ่นสุดท้ายต่ออีก ๕ ปี เพื่อช่วยหนุนการทำงาน    ก็จะถึงปี ๒๕๗๖   น่าจะเกิดการเรียนรู้ และผลกระทบที่มีความหมายมาก ทั้งผลกระทบทางตรง และผลกระทบทางอ้อม    

มีข้อสรุปว่าให้เสนอต่อคณะกรรมการบริหาร กสศ. ให้ขยายจำนวนผลิต ปีที่ ๓ และ ๔ เป็นปีละ ๔๕๐ คน    และผลิตครูปฐมวัย, ครูประถม, ครูภาษาไทย

ผมเรียนที่ประชุมว่า  น่าจะเอากิจกรรมทุกด้าน ทุกขั้นตอน ที่ทำโดยทุกฝ่าย เก็บไว้เป็น digital database ที่จะสามารถวิเคราะห์หาความหมายด้วย big data analytics ในภายหลังได้   

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ม.ค. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 688989เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2021 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2021 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท