ชีวิตที่พอเพียง ๓๙๑๗. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๘๔) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่ระยอง


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

บันทึกที่ ๗๗

บันทึกที่ ๗๘

บันทึกที่ ๗๙

บันทึกที่ ๘๐

บันทึกที่ ๘๑

บันทึกที่ ๘๒

บันทึกที่ ๘๓

ในการประชุมสภาสถาบันอาศรมศิลป์ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔    มีเรื่องแจ้งเพื่อทราบที่สะท้อนนวัตกรรมการจัดการยกระดับคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น   คือ โครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ระยะที่ ๒ : “โครงการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการจัดการศึกษาระดับจังหวัดด้วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ กรณีศึกษาจังหวัดระยอง ระยะที่ ๒”  

โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก บพท.   ดำเนินการในโรงเรียนรุ่นที่ ๒ จำนวน ๒๖ โรงเรียน    โดยได้นำ ผอ. ของโรงเรียนรุ่นแรก (๒๕ โรงเรียน) บางท่านมาร่วมเป็นวิทยากรด้วย    มีวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย ๖ ข้อคือ

  1. 1. โรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการ
  2. 2. ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ
  3. 3. ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
  4. 4. มีโค้ชในพื้นที่จากรุ่นสู่รุ่น
  5. 5. มี digital platform สำหรับการเรียนรู้และการโค้ช
  6. 6. มีความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่   มีการปลดล็อกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค  

ทีมของสถาบันอาศรมศิลป์ไปดำเนินกิจกรรม เพื่อเปลี่ยน mindset ของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูแกนนำ     และพัฒนาสมรรถนะเพื่อ transform โรงเรียนทั้งระบบ ดังนี้

ที่จริงการดำเนินการนี้ทำร่วมกับภาคีพัฒนาในพื้นที่หลายภาคส่วน    โดยแกนนำคือ อบจ. ระยอง    ที่มีภาคีภาคธุรกิจมาร่วมอย่างใกล้ชิด    และข้อกังวลสำคัญที่สุดคือ    การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะดำเนินการต่อเนื่อง    เกิด systems learning อย่างยั่งยืนได้อย่างไร    โดยที่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีวัตถุประสงค์ ๔ ข้อตามมาตรา ๕ ของ พรบ. พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ดังนี้

ผมชี้ให้เห็นว่า “การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ” กว้างกว่าในรูป Whole School Transformation    เพราะในรูปเป็นระบบในโรงเรียน    ยังมีอีกระบบหนึ่งที่ครอบโรงเรียนอยู่ คือระบบการบริหารการศึกษาของประเทศที่อำนาจรวมศูนย์    ที่จะต้องเปลี่ยนตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ ของโครงการ   

ผมชี้ให้เห็นว่า จังหวัดระยองต้องตั้งหน่วยประสานงานปฏิรูปการศึกษาจังหวัดระยอง  ที่เป็นอิสระ ไม่อยู่ใต้อำนาจสั่งการของกระทรวงศึกษาธิการ แต่ทำงานร่วมมือกัน    และไม่ควรเป็นหน่วยราชการ    ทำงานประสานงานเพื่อให้การริเริ่มสร้างสรรค์ด้านการศึกษาในพื้นที่ได้ทำงานประสานงานเป็นเครือข่ายกัน   และที่สำคัญ ทำหน้าที่วัดความก้าวหน้าของกระบวนการปฏิรูปตามที่ตั้งเป้าไว้   

ประเด็นที่ต้องรุกจริงจังคือ การกระจายอำนาจและให้อิสระ    ที่เราไม่เห็นความจริงใจของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ว่าในระดับใด

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.พ. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 689677เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2021 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2021 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท