ชีวิตที่พอเพียง ๓๙๔๑. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๘๙) เรียนรู้วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อ CCT ระดับมัธยมศึกษา จาก Paul Collard


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

บันทึกที่ ๗๗

บันทึกที่ ๗๘

บันทึกที่ ๗๙

บันทึกที่ ๘๐

บันทึกที่ ๘๑

บันทึกที่ ๘๒

บันทึกที่ ๘๓

บันทึกที่ ­๘๔

บันทึกที่ ๘๕

บันทึกที่ ๘๖

บันทึกที่ ­๘๗

บันทึกที่ ๘๘

กสศ. และ สพฐ. จัดการประชุมปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษา “โครงการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ และการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษา”  วันที่ 11 - 14 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม โรงแรม เดอะควอเตอร์ อารีย์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท     ผมจัดเวลาเบียดภารกิจอื่นเพื่อไปเรียนรู้ทั้ง ๔ วัน    

เป้าหมายของผมมี ๓ อย่าง     หรือ ๓ คำถาม

  1. 1. หลักการและวิธีการจัดการประชุมปฏิบัติการเพื่อให้ครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้พัฒนา creativity และ critical thinking เป็นอย่างไร
  2. 2. ครูและศึกษานิเทศก์ที่มาเข้าประชุมเอาเรื่อง CCT ไปใช้ในบริบทของตนอย่างไร
  3. 3. ข้อเรียนรู้สำหรับการพัฒนาระบบการศึกษาไทย  

ผมตีความว่า เป้าหมายสำคัญที่สุดของ workshop คือ ให้ครูพัฒนาตนเองเป็น agentic teacher    และคุณ Paul ก็ยืนยัน    “so that they can save the world”  

ผมตีความว่า ความเป็น agentic teacher จะเป็นตัวกระตุ้น และเป็นเส้นทางสู่ การคิดสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ  ทั้งของครูและของศิษย์ 

หลักการและวิธีการจัดการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้

การประชุมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่ กสศ. ให้การสนับสนุนแก่โรงเรียน และ ศน. จำนวนหนึ่งของ สพฐ.   และมีการประชุมปฏิบัติการครั้งที่ ๑ ไปแล้ว (เมื่อราวๆ ๖ เดือนมาแล้ว)  ในเรื่องวิธีจัดการห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ (high functioning classroom)  สำหรับให้ทีมของแต่ละ สพม. ในโครงการกลับไปดำเนินการ    การประชุมครั้งนี้เป็นเสมือน PLC ของต่างทีมงาน    ที่แต่ละทีมเอาประสบการณ์การดำเนินงานของตนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ลักษณะของ high functioning classroom แสดงในแผนผัง









ในการประชุมปฏิบัติการครั้งที่ ๑   ทีม สพม. ได้ฝึกจัดบรรยากาศและสภาพการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ ๖ ขั้นตอน    สำหรับนำไปทดลองใช้    และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมครั้งนี้    ๖ ขั้นตอนดังกล่าวได้แก่

  1. 1. ประเมินระดับการคิดของผู้เรียน
  2. 2. กระตุ้นความตระหนักและแรงบันดาลใจในการเรียนรู้
  3. 3. วางแผนพัฒนาตนเองร่วมกัน (ระหว่างนักเรียนกับครู)
  4. 4. เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง
  5. 5. ผู้เรียนประเมินตนเอง
  6. 6. คิดต่อยอดองค์ความรู้

การประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การใช้ high functioning classroom   และ ๖ ขั้นตอนของการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์    รวมทั้งเครื่องมืออื่นๆ ที่ครูและ ศน. ได้เรียนรู้ไปแล้ว    โดยวิทยากร คือคุณ Paul Collard  และ รศ. ดร. ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ย้ำอยู่เสมอว่า    ต้องเอาไปปรับใช้ให้เหมาะต่อบริบทจริง    และปรับขั้นตอนได้   

ครูและศึกษานิเทศก์ที่มาเข้าประชุมเอาเรื่อง CCT ไปใช้ในบริบทของตนอย่างไร

Keyword คือ active learning เพื่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ของผู้เรียน    วันที่ ๑๒ มีนาคม เป็นการเสนอผลงานของแต่ละ สพม.   แล้วให้ สพม. อื่นสะท้อนคิด ตามด้วยวิทยาการให้คำแนะนำ     ผมไปร่วมช่วงบ่าย ได้ฟังการเสนอผลงานของ ๔ ทีมคือ สพม. ชลบุรี-ระยอง,  สพม. สิงห์บุรี-อ่างทอง,  สพม. ฉะเชิงเทรา,  และ สพม. ราชบุรี   

พบว่ามี ๒ สพม. ที่ผู้มาเข้าประชุมปฏิบัติการครั้งที่แล้วไม่ได้มา    ติดไปทำงานเรื่องสอบ O-Net    ครูที่มาได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการโรงเรียนให้มาแทน    มี สพม. หนึ่ง โรงเรียนที่มาเข้าโครงการไม่ได้ทำเอง เอาไปทำในโรงเรียนประถม    ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่า ตอนประชุมตกลงกันว่าให้ไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับไหน   

อย่างไรก็ตาม การนำเสนอ และ reflection โดยทีมอื่นและวิทยากร ทำให้ผู้เข้าประชุมเกิดการเรียนรู้มากทีเดียว     และบางทีมเอาวิธีการไปใช้อย่างชาญฉลาด    เห็นผลดีต่อนักเรียนชัดเจน    แต่ผมไม่เห็นการดำเนินการอย่างเป็นระบบในแต่ละ สพม.    และผมไม่ทราบว่าตามโครงการ แต่ละ สพม. ที่เข้าโครงการต้องทำงานส่งมอบผลลัพธ์อะไร    เมื่อครบตามกำหนด ๑ ปี จะส่งมอบได้หรือไม่     

ข้อเรียนรู้สำหรับการพัฒนาระบบการศึกษาไทย

ผมมองว่าในยุคนี้ เป้าหมายหลักของระบบการศึกษาคือการสร้าง “พลเมืองผู้ก่อการ” (agentic citizen)     และจะบรรลุได้ ครูต้องเป็น “ครูผู้ก่อการ” (agentic teacher) ที่ร่วมกันก่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา     ให้จัดการเรียนรู้ที่หนุนให้ผู้เรียนเกิด สมรรถนะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformative competencies)    โดยครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันเปลี่ยน “ชาลาการเรียนรู้” (learning platform) ของโรงเรียนและเขตพื้นที่

โครงการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ และการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษา คือหนึ่งในกลไก enabling activities เพื่อฝึกครูและ ศน. ใน สพม. จำนวนหนึ่ง ให้เป็น “ครูผู้ก่อการ” เพื่อดำเนินการเปลี่ยน “ชาลาการเรียนรู้” จาก passive learning  ไปเป็น active learning

ผมมีข้อเสนอต่อ กสศ. ที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนทุนดำเนินการโครงการนี้ว่า     ควรเก็บเกี่ยวผลสำเร็จจากโครงการนี้     โดยการสื่อสารสังคม และสื่อสารเชิงนโยบาย     โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำเนินการตามแนวทางของโครงการ แล้วผู้เรียนได้รับผลประโยชน์อย่างชัดเจน    เป็นผู้สื่อสารข้อมูลหลักฐานว่า ผู้เรียนได้ประโยชน์อะไร  จากการดำเนินการ (อย่างอดทนมานะพยายามและสร้างสรรค์) อย่างไร    และคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาเหล่านี้ ต้องการ enabling environment อะไรบ้าง     

หลังเข้าสังเกตการณ์ครบ ๔ วัน    และได้ฟังครูมัธยมเปิดใจ    ผมคิดว่าการ transform เป้าหมายและวิธีการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมที่ดูแลนักเรียนจากครอบครัวยากจน    ตามแนวทางที่คุณ Paul นำมาเผยแพร่    จะช่วยยกระดับคุณภาพการเรียนรู้แก่เด็กด้อยโอกาสเหล่านี้    แต่วิธีการฝึกที่จัดการตามแนวของโครงการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ และการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษา จะไม่ได้ผล    เพราะขาดการจัดการในระดับโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา     ควรมีการรับสมัครเขตพื้นที่ สพม. ที่ต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนด้อยโอกาสในเขตของตน    และมีแผนการดำเนินการที่เอาจริงเอาจังสักสี่ห้าเขต     ทำเป็นพื้นที่นำร่อง    

ให้คุณ Paul จัด training for the trainer    สำหรับเป็นพี่เลี้ยงหรือโค้ชด้วยกระบวนการ PLC   (ที่ใช้รูปแบบ active learning ในทำนองเดียวกันกับกระบวนการ ๔ วันที่ผมไปเห็น) แก่ทีมครูและ ศน. จากแต่ละ สพม.   เราก็จะได้พัฒนาทั้งครู, โรงเรียน, สพม.,  และทีมโค้ช PLC แก่โรงเรียน     ผมลองตั้งชื่อโครงการนี้ว่า โครงการ สพม. ก่อการคุณภาพ    คือเน้นคุณภาพการเรียนรู้รอบด้าน    ไม่เฉพาะด้านคิดสร้างสรรค์ (creativity) และคิดวิจารณญาณ (critical thinking) เท่านั้น    เน้นหนุนให้ครูเป็น “ครูผู้ก่อการ” (agentic teacher)    ศน. ผู้ก่อการ   ผอ. ผู้ก่อการ  และโรงเรียนผู้ก่อการ    รวมพลังกันสร้าง “นักเรียนผู้ก่อการ” (agentic student)  ที่จะเติบโตไปเป็น “พลเมืองผู้ก่อการ” (active citizen) ในอนาคต    เนื่องจากเป็นการสร้าง agency ใน ๗ มิติ    โครงการนี้จึงน่าจะได้ชื่อเล่นว่า “โครงการก่อการ ๗”  

เนื่องจากเป็นโครงการที่ซับซ้อน    จึงควรมีทีม DE ทำงานเก็บข้อมูล และสร้างการเรียนรู้ในหมู่ stakeholders คู่กันไป    เพื่อหนุนความสำเร็จของโครงการ    และสื่อสารสังคมและสื่อสารนโยบาย    เพื่อขยับระบบการศึกษาระบบใหญ่ของประเทศ   

โครงการ “ก่อการ ๗” นี้ กสศ. ไม่ควรให้เงินสนับสนุน    สพม. ที่ต้องการพัฒนาต้องหาเงินมาดำเนินการเอง    กสศ. สนับสนุนทางวิชาการเท่านั้น  

วิจารณ์ พานิช

๑๔ มี.ค. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 690235เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2021 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2021 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท