ชีวิตที่พอเพียง ๓๙๔๖. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๙๐) ครูไทยเยียวยาความไม่เสมอภาคทางการศึกษา


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

บันทึกที่ ๗๗

บันทึกที่ ๗๘

บันทึกที่ ๗๙

บันทึกที่ ๘๐

บันทึกที่ ๘๑

บันทึกที่ ๘๒

บันทึกที่ ๘๓

บันทึกที่ ­๘๔

บันทึกที่ ๘๕

บันทึกที่ ๘๖

บันทึกที่ ­๘๗

บันทึกที่ ๘๘

บันทีกที่ ๘๙

บ่ายวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔ คณะกรรมการบริหาร กสศ. เชิญคุณ Paul Collard ไปแชร์ประสบการณ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาใน ๓๗ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ที่ท่านมาทำ workshop เป็นระยะๆ ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา   

 ประเด็นที่ทำให้คณะกรรมการตลึงก็คือ ตัวการใหญ่ของความไม่เสมอภาคทางการศึกษาอาจจะอยู่ในระบบการศึกษาเอง    ที่ครูของเด็กกลุ่มด้อยโอกาส แสดงท่าทีไม่คาดหวังความสำเร็จยิ่งใหญ่ (low expectation) จากเด็กเหล่านั้น    ทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง  และไม่มีแรงบันดาลใจในการเรียน    ไม่มานะพยายาม

พร้อมๆ กันนั้น ครูก็ไม่ให้งานที่ท้าทายต่อนักเรียนเหล่านี้    เพราะเกรงว่าจะก่อความยากลำบากหรือความเครียดให้แก่เด็ก    เนื่องจากมีการพูดกันว่า ต้องให้นักเรียนไปโรงเรียนด้วยความสุข    และครูตีความว่า ความสุขเกิดจากการไม่ต้องทำกิจกรรมยากๆ หรือท้าทาย

คุณพอลบอกว่า นั่นมันความสุขระยะสั้น     จริงๆ แล้วคนเราต้องการความสุขระยะยาว    ซึ่งได้จากการพัฒนาศักยภาพด้านการคิด การเรียนรู้ และการปรับตัว    ซึ่งได้จากการทำกิจกรรมที่ยากและท้าทาย    ดังในเว็บไซต์ของ โออีซีดี เรื่อง เข็มทิศการเรียนรู้ 2030 (1)    ที่เป้าหมายปลายทางคือ สุขภาวะ (well-being) ของตนเอง และของสังคม (และโลก)    โดยมีประเด็นเรียนรู้ฝึกฝนคือ ความเป็นผู้ก่อการ หรือกระทำการ (agency),   สมรรถนะพื้นฐาน, วงจร AAR,  ความรู้,  ทักษะ,  เจตคติและคุณค่า,  และสมรรถนะในการสร้างการเปลี่ยนแปลงใหญ่ (transformative competencies)  

สมรรถนะในการสร้างการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ฝึกปัจจัยหลัก ๓ ด้านคือ (๑) สร้างคุณค่าใหม่  (๒) ประนีประนอมกับความตึงเครียดและความเห็นต่าง  (๓) แสดงความรับผิดชอบ (๒) 

จะเห็นว่า การเรียนรู้สู่ชีวิตที่ดีไม่ใช่เส้นทางที่ราบรื่น    มนุษย์เราต้องฝึกเผชิญความท้าทายสารพัดแบบ เพื่อเตรียมพร้อมฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนามในชีวิต    ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา    การศึกษาที่ดีจึงต้องฝึกให้นักเรียนคุ้นเคยกับสิ่งยาก และความยากลำบาก   

ครูที่ดีจึงต้องจัดการเรียนรู้ให้มีช่วงของการท้าทาย  มีบทเรียน หรือชิ้นงานที่ยาก    ที่นักเรียนอึดอัดขัดข้องต้องผจญความรู้สึกท้อถอยของตนเอง     โดยครูต้องคอยช่วยหนุนให้สู้ จนในที่สุดสามารถบรรลุเป้าหมายของงานได้    นักเรียนก็จะมีประสบการณ์ของการฟันฝ่าความยากลำบาก    ต่อไปในชีวิตที่รับผิดชอบสูงก็สามารถรับมือกับความท้าทายใหญ่ๆ ได้      

เด็กด้อยโอกาสที่ได้รับการฝึกฝนเช่นนี้ จะมีความมั่นใจตนเอง    กล้าฝันสูง กล้ามีเป้าหมายชีวิตที่บรรลุยาก    แล้วฟันฝ่าเชนะอุปสรรคสู่เป้าหมายให้ได้       

ครูที่ได้ทำหน้าที่หนุนศิษย์ตามแนวทางดังกล่าว คือครูนักสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา    นัก “ปั้นดินให้เป็นดาว”    

หากเรามีครูที่มีอิทธิบาทในการทำหน้าที่ดังกล่าวเต็มแผ่นดิน    ความเสมอภาคทางการศึกษาไทยจะยกระดับขึ้นอย่างมากมาย  

วิจารณ์ พานิช

๑๕ มี.ค. ๖๔



หมายเลขบันทึก: 690370เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2021 18:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2021 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท