ชีวิตที่พอเพียง ๓๙๖๗. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๙๔) โรงเรียนไทยและครูไทยพัฒนาได้โดยการเอื้ออำนาจ



บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

บันทึกที่ ๓๙

บันทึกที่ ๔๐

บันทึกที่ ๔๑

บันทึกที่ ๔๒

บันทึกที่ ๔๓

บันทึกที่ ๔๔

บันทึกที่ ๔๕

บันทึกที่ ๔๖

บันทึกที่ ๔๗

บันทึกที่ ๔๘

บันทึกที่ ๔๙

บันทึกที่ ๕๐

บันทึกที่ ๕๑

บันทึกที่ ๕๒

บันทึกที่ ๕๓

บันทึกที่ ๕๔

บันทึกที่ ๕๕

บันทึกที่ ๕๖

บันทึกที่ ๕๗

บันทึกที่ ๕๘

บันทึกที่ ๕๙

บันทึกที่ ๖๐

บันทึกที่ ๖๑

บันทึกที่ ๖๒

บันทึกที่ ๖๓

บันทึกที่ ๖๔

บันทึกที่ ๖๕

บันทึกที่ ๖๖

บันทึกที่ ๖๗

บันทึกที่ ๖๘

บันทึกที่ ๖๙

บันทึกที่ ๗๐

บันทึกที่ ๗๑

บันทึกที่ ๗๒

บันทึกที่ ๗๓

บันทึกที่ ๗๔

บันทึกที่ ๗๕

บันทึกที่ ๗๖

บันทึกที่ ๗๗

บันทึกที่ ๗๘

บันทึกที่ ๗๙

บันทึกที่ ๘๐

บันทึกที่ ๘๑

บันทึกที่ ๘๒

บันทึกที่ ๘๓

บันทึกที่ ­๘๔

บันทึกที่ ๘๕

บันทึกที่ ๘๖

บันทึกที่ ­๘๗

บันทึกที่ ๘๘

บันทีกที่ ๘๙

บันทึกที่ ๙๐

บันทึกที่ ๙๑

บันทึกที่ ๙๒

บันทีกที่ ๙๓

เช้าวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๔ ผมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับทิศของโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองของ กสศ. ทางซูม ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดของโควิด ๑๙ ระลอกสามที่กำลังรุนแรง มีผู้ติดเชื้อใหม่วันละกว่า ๒ พันคน    แต่เรื่องราวที่นำมารายงานจากทีมวิจัยติดตามผล นำโดย รศ. ดร. พิณสุดา สิริธรังศรี    และจากทีม DE นำโดยคุณเปา ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ให้ความชุ่มชื่นในหัวใจ   

เพราะฟังแล้วกรรมการทุกคนเห็นความหวังของการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย   

เมื่อ ๔ เดือนที่แล้ว ผมเล่าข้อสังเกตว่าเริ่มเห็นผลสำเร็จของโครงการนี้ไว้ที่ (๑)

ในการประชุมวันนี้ ผมสรุปตอนจบในฐานะประธานที่ประชุมว่า    ข้อสรุปในภาพใหญ่ของการประชุมวันนี้คือ โรงเรียนไทยและครูไทยพัฒนาได้ หากได้รับการเอื้ออำนาจ (empowerment) และการสนับสนุนวิชาการเชิงปฏิบัติอย่างถูกทาง    อย่างที่ทำในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง   

ที่สำคัญคือ ครูและผู้บริหารในโครงการมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างชัดเจน    ที่สำคัญที่สุดคือ มีเป้าหมายการทำงานเพื่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของศิษย์    ผ่านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning)    เอาใจใส่ผลลัพธ์การเรียนรู้ครบด้านตามหลักการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑    

และที่สำคัญยิ่งคือ ครูและผู้บริหารตระหนักว่า ครูต้องเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติหน้าที่ครู    ในกระบวนการที่เรียกว่า PLC   ที่เอาประสบการณ์จากห้องเรียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้     ว่าต้องการให้นักเรียนบรรลุผลการเรียนรู้อะไร    วางแผนการเรียนการสอนไว้อย่างไร    ดำเนินการในห้องเรียนอย่างไร    เกิดอะไรบ้างในห้องเรียน   ร่วมกันตั้งคำถามว่า หากต้องการให้ผลออกมาดีกว่านี้ ต้องปรับปรุงตรงไหนบ้าง     

หน้าที่สำคัญยิ่งของครูคือเรียนรู้ เพื่อทำหน้าที่ครูให้ดียิ่งขึ้น    เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

การเปลี่ยนแปลงที่น่าชื่นใจคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ๗๒๗ โรงเรียนในโครงการ หันมาทำหน้าที่ผู้อำนวยการเรียนรู้ในโรงเรียนของตน    ทั้งการเรียนรู้ของนักเรียนและของครู    ผู้อำนวยการหาทางยกระดับการเรียนรู้ทั้งของนักเรียนและของครู    ทำอย่างเป็นระบบ   

วิจารณ์ พานิช

๒๘ เม.ย. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 690915เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2021 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2021 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท