วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๗๗. ฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓    เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓   มีวาระเรื่อง การจัดทำฐานข้อมูลอีกวาระหนึ่ง คือด้าน ววน. เข้านำเสนอและขอความเห็น

ความเห็นแรกของผมก็เช่นเดียวกันกับบันทึกที่แล้ว คือ ต้องคิดเรื่องการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ เพื่อการใช้ประโยชน์ และผู้ใช้ประโยชน์ต้องคำนึงถึง ๒ กลุ่มคือ (๑) ประชาชนทั่วไป ที่ต้องการใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจใช้บริการ ววน. ในหลากหลายแบบ   หรือเพื่อแสวงหาความร่วมมือจากสถาบันหรือทีม ววน. ในการประกอบกิจการ    (๒) สถาบันและคนในวงการ ววน. เอง

ชุดความคิดสำคัญคือ ต้องไม่จัดทำฐานข้อมูลเพื่อการใช้งานในวงการ ววน. เองเท่านั้น     

ที่ประชุมมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ต้องไม่แยกระหว่างฐานข้อมูลอุดมศึกษา กับฐานข้อมูล ววน.    ต้องเป็นฐานข้อมูล อววน.    เพื่อให้ข้อมูลอุดมศึกษา กับข้อมูล ววน. เชื่อมโยงกัน     และนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์หาความหมายได้เชื่อมโยงและลึก   

แต่ข้อมูลจากฝ่ายเลขานุการบอกว่ากฎหมาย (คนละฉบับ) ระบุให้ต่างหน่วยงานต่างจัดทำข้อมูลแยกกัน    คือ สป. อว. จัดทำฐานข้อมูลอุดมศึกษา    และ วช. จัดทำฐานข้อมูล ววน. ตามแผนผังข้างล่าง     




และเวลานี้ หน่วยงานในระบบ อววน. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ/อนุกรรมการเกี่ยวกับฐานข้อมูล ๔ ชุด ดังแผนผังข้างล่าง

นอกจากนั้น กพร. ยังได้กำหนด KPI เพื่อการประเมินผลงานของแต่ละส่วนงานของ อว. เรียบร้อยแล้ว     โดยทำตามกฎหมาย    ซึ่งก็คือ แยกภารกิจการจัดทำข้อมูลอุดมศึกษา กับข้อมูล ววน. แยกกัน   

จึงเกิดประเด็นว่า ต้องหาทางทำให้ข้อมูลสองฐานนี้ไหลเข้าไปรวมกัน    โดย ดร. จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รอง ผอ. สวทช. ผู้เรียนมาทางด้านนี้และเคยทำงาน integrate ข้อมูลจากหลายฐานให้แก่กระทรวงสาธารณสุข     บอกว่าในทางเทคนิคมีวิธี integrate ข้อมูลจากสองฐานนี้เข้าด้วยกันได้  

ประเด็นการบูรณาการสองฐานข้อมูลเพื่อความประหยัด  และเพื่อประโยชน์ใช้สอยนี้    เป็นประเด็นท้าทายที่สุดของการดำเนินการเรื่องระบบข้อมูล อววน. ของชาติ 

โดยต้องไม่ลืมว่า ข้อมูลจากกระทรวงอื่น และองค์กรอื่นๆ    รวมทั้งของภาคผู้ประกอบการ  ก็ต้องไหลเข้ามาในระบบด้วย     โดยต้องไม่ลืมว่า ในปัจจุบัน การลงทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรม ร้อยละ ๗๕ ลงทุนโดยภาคธุรกิจเกชน  

มองเชิงยุทธศาสตร์ ประเทศไทยเราเป็น “คนตัวเล็ก” เมื่อเทียบกับกิจการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศต่างๆ ในโลก    ดังนั้น เราต้องมองหาวิธี “ยืนบนไหล่ยักษ์”    ซึ่งในทางปฏิบัติหมายความว่า ระบบข้อมูลของเราต้อง “ดูด” ข้อมูล ที่เราต้องการ จากประชาคมวิจัยและนวัตกรรมโลก    เอามาใช้ประโยชน์    ประเด็นนี้ยังไม่มีการพูดกัน   

ผมกลับมาใคร่ครวญต่อที่บ้าน    ได้เรียนรู้ว่า นี่คือตัวอย่างของต้นเหตุการทำงานเป็นไซโลในระบบราชการ    ประเทศไทยโชคดี ที่มีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป อววน. ชุดนี้    และมีประธานที่มีความสามารถสูง คือ รศ. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน    การเสวนากันในคณะกรรมการเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม มีประโยชน์มาก    แต่ลงท้ายจะเกิดผลแค่ไหนขึ้นกับฝ่ายปฏิบัติ คือ สป. อว.  กับ วช.    และคณะกรรมการ/อนุกรรมการ ทั้ง ๔ ชุดในแผนผังข้างบน   

ดร. สีลาภรณ์ บัวสาย บอกว่าได้พัฒนาระบบข้อมูล ววน. สำหรับใช้งานในพื้นที่ สำหรับการพัฒนาพื้นที่    เป็นที่นิยมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    ทีมงานพัฒนาฐานข้อมูล ววน. ของประเทศน่าจะได้เข้าไปทำความรู้จัก   

วิจารณ์ พานิช        

๒๓ พ.ค. ๖๓ 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                              

หมายเลขบันทึก: 678086เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2020 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2020 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท