ชีวิตที่พอเพียง 4486. อยู่กับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (๔๙) บันทึกเดือนเมษายน และพฤษภาคม ๒๕๖๖ 


 

ผมเล่าเรื่องชีวิตยามสมองเสื่อมของสาวน้อยเป็นระยะๆ () ((๓)  (๔)  (๕)  (๖)   (๗)   (๘)   (๙)   (๑๐)   (๑๑)    (๑๒)   ๑๓   ๑๔   ๑๕  ๑๖  ๑๗  (๑๘)  (๑๙)  (๒๐)  (๒๑)   (๒๒)  (๒๓)   (๒๔)   (๒๕)   (๒๖)    (๒๗)    ๒๘  ๒๙   ๓๐   ๓๑   ๓๒   ๓๓   ๓๔   ๓๕   (๓๖)   (๓๗)    (๓๘)   (๓๙)   (๔๐)   (๔๑)   (๔๒)  (๔๓)   (๔๔)  (๔๕)  (๔๖)   (๔๗)   (๔๘)  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับท่านผู้อื่นที่ต้องเผชิญสภาพคล้ายๆ กัน ที่นับวันจะมีจำนวนมากขึ้น   

 

สังเกตความเสื่อมถอยของสมอง

กลางเดือนเมษายน ๒๕๖๖ ช่วงสงกรานต์ผมอยู่บ้านตลอด   และต้องนั่งทำงานในห้องนอนชั้นล่างตลอดเพราะอากาศข้างนอกร้อนมาก    จึงได้สังเกตพฤติกรรมของเธอเรื่องการนอน   ว่าถ้าเราไม่ปลุกจะเป็นอย่างไร    ยกตัวอย่างวันที่ ๑๙ เมษายน ที่ผมกำลังพิมพ์บันทึกอยู่นี้ เป็นเวลา ๙.๒๘ น. เธอยังนอนหลับอยู่    มีการพลิกตัวกลับไปกลับมาบ้าง แต่ไม่ตื่น    การนอนหลับยาวขึ้นเรื่อยๆ 

ได้ผู้บริบาลคนใหม่  

๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ปิ่น ที่เพิ่งเรียนจบหลักสูตร ๖ เดือน จากโรงเรียนอนันตรักษ์การบริบาล ที่หัวหิน มาเริ่มทำงานดูแล    เมื่อผมกลับมาบ้านวันที่ ๒๗ ลูกๆ ก็ชมว่า ตอนนี้แม่ดูมีชีวิตชีวามากขึ้น   คุยเก่งขึ้น    และเย็นวันที่ ๒๗ ยอมเดินออกกำลังไปถึงสระน้ำเป็นครั้งแรกในเวลากว่า ๑ ปี   

สมองที่ฟื้นตัวได้

สภาพที่สมองฟื้นตัวเองได้ เรียกว่า brain plasticity   เช้าวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เวลาเพียง ๖.๓๐ น. สาวน้อยเดินออกมาหาผมที่ระเบียงบ้าน บอกว่าต้องการอึ    ตามปกติเวลานี้เธอยังนอนหลับอุตุ    เวลาตื่นตามปกติคือราวๆ ๘ น.   

แสดงว่า วันนี้เธอรู้ตัวว่าปวดอยากถ่ายอุจจาระ   จึงลุกขึ้น และเดินมาบอกผมถึงระเบียงบ้าน    ผมพาเธอเดินกลับเข้าไปในห้องนอน เพื่อเข้าห้องน้ำ เพราะห้องน้ำของห้องรับแขกที่อยู่ใกล้ ปิ่น ผู้ดูแลคนใหม่กำลังอาบน้ำอยู่   

ที่ห้องน้ำ ผมพบว่า ผ้าอ้อมของเธอไม่มีอุจจาระเลย   แสดงว่าเธอกลั้นอุจจาระได้   ต่างจากอีกหลายครั้งในช่วง ๑ ปีที่ผ่านมา ที่เธอถ่ายอุจจาระใส่ผ้าอ้อมและอยู่อย่างนั้นเป็นครึ่งค่อนวันจนผมหรือลูกพบเข้า    ที่สะท้อนว่าเธอถ่ายอุจจาระแบบไม่รู้ตัว และไม่รู้สึกต่ออุจจาระในผ้าอ้อม   

วันนี้เธอนั่งเบ่งอุจจาระราวๆ ๕ นาที    และเรียกผมเมื่อถ่ายเสร็จ    เพื่อให้ไปจัดการล้างก้น เช็ดก้น และสวมผ้าอ้อมตัวใหม่ให้   

 

สรุปว่าในช่วง ๒ เดือนที่ผ่านมา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก   สิ่งที่ผมและลูกๆ พอใจคือ เธอมีหน้าตาท่าทางที่แสดงว่ามีความสุข 

วิจารณ์ พานิช          

๓๑ พ.ค. ๖๖

 

 

 

 

1 ๒๘ พ.ค. ๖๖ ระหว่างออกไปเดินออกกำลัง  ชอบถ่ายรูปกับดอกไม้

2 เย็นวันที่ ๒๙ พ.ค. ๖๖ เดินไปได้ครึ่งทางหมดแรงขอนั่งรถเข็นกลับ

หมายเลขบันทึก: 713162เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2023 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2023 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอให้ พญ.อมรา สามารถพลิกฟื้นสมองกลับมาสู่สภาพที่ดีขึ้นโดยลำดับนะครับ….วิโรจน์ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท